กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

มีเซ็กส์ระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่?

เผยแพร่ครั้งแรก 14 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
มีเซ็กส์ระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายหรือไม่?

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การตั้งครรภ์ถือเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต โดยเป็นทั้งในเรื่องของสรีระทางร่างกาย นิสัยการทานอาหาร หรือไลฟ์สไตล์ อย่างไรก็ตาม หนึ่งในปัญหาโลกแตกของผู้หญิงตั้งครรภ์คือ การสงสัยว่าตัวเองสามารถมีเซ็กส์กับคนรักได้ตามปกติหรือไม่ เพราะใจหนึ่งก็แอบกลัวว่ามันจะเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์ วันนี้เราจึงได้รวบรวมหลากเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการมีเซ็กส์ในระหว่างตั้งครรภ์มาฝากคุณแม่ค่ะ มาดูกันเลยดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง

มีเซ็กส์ขณะตั้งครรภ์ปลอดภัยหรือไม่?

การมีเซ็กส์ไม่ทำเกิดอันตรายต่อลูกไม่ว่าจะเป็นระยะใดของการตั้งครรภ์ ทารกถูกปกป้องโดยกล้ามเนื้อมดลูกที่แข็งแรง น้ำคร่ำ และเมือกที่ก่อตัวขึ้นรอบๆ ปากมดลูก อย่างไรก็ตาม บางคนเชื่อว่าการมีเซ็กส์ หรือออกัสซึมอาจทำให้เกิดอันตรายต่อทารก เพิ่มโอกาสในการแท้ง หรือทำให้คลอดก่อนกำหนด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นความจริงสำหรับคุณแม่ที่มีสุขภาพครรภ์ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การมีเซ็กส์สามารถกระตุ้นให้คลอดได้จริงหรือ?

มีหลายงานวิจัยสรุปว่า การมีเซ็กส์ผ่านทางช่องคลอดในระหว่างที่ตั้งครรภ์ไม่มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการคลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม หากแพทย์พิจารณาว่าบางคนมีความเสี่ยงสูง เขาอาจแนะนำให้เลี่ยงการมีเซ็กส์ระหว่างตั้งครรภ์ หรือในระยะหลังๆ เพราะเป็นไปได้ว่าการไปถึงจุดสุดยอด หรือการล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศสามารถทำให้เกิดการหดรัดตัวที่มดลูกเบาๆ ซึ่งผู้หญิงจะประสบไปจนจบการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม การบีบตัวที่ว่านี้ไม่ได้บ่งชี้ หรือทำให้คลอดก่อนกำหนด ดังนั้นมันจึงไม่ใช่สาเหตุที่คุณต้องกังวล

ท่าร่วมรักที่ดีที่สุด?

ในระหว่างโค้งสุดท้ายของการตั้งครรภ์ ท่าที่คุณใช้ตอนมีเซ็กส์ควรเป็นท่าที่ไม่ทำให้เกิดแรงกดบนหน้าท้องอย่างท่ามิชชันนารี หากผู้หญิงนอนหงายหลัง น้ำหนักของเด็กก็อาจไปเพิ่มแรงกดที่อวัยวะภายใน หรือหลอดเลือดแดงส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกสบายเมื่อใช้ท่าที่ตัวเองสามารถควบคุมความลึกและความเร็วของการลุกล้ำ ซึ่งท่าที่เราหมายถึงก็คือ ท่าที่ผู้หญิงอยู่บนตัวผู้ชาย ท่าช้อน หรือท่านั่งที่ขอบเตียง

เมื่อไรที่ไม่ควรมีเซ็กส์?

แพทย์อาจแนะนำให้ผู้หญิงงดมีเซ็กส์ในระหว่างที่ตั้งครรภ์เมื่อ

  • มีปัญหากับปากมดลูกที่สามารถเพิ่มโอกาสในการแท้งหรือคลอดก่อนกำหนด
  • ตั้งครรภ์แฝด
  • รกเกาะต่ำ
  • ปากมดลูกปิดไม่สนิท
  • เคยคลอดลูกก่อนกำหนด
  • เสียเลือดมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่สามารถอธิบายได้
  • น้ำคร่ำไหล

ผลของการตั้งครรภ์ที่มีต่อความต้องการทางเพศ

ผู้หญิงบางคนอาจมีความต้องการทาเพศเพิ่มขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ในขณะที่บางคนอาจเป็นตรงกันข้ามแทน อย่างไรก็ตาม การตั้งครรภ์ส่งผลต่อแรงขับทางเพศในรูปแบบต่างๆ และไม่มีการตอบสนองที่ตายตัว การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมน และการมีเลือดไหลไปยังอวัยวะเพศเพิ่มขึ้นอาจช่วยเพิ่มความต้องการทางเพศ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในช่วงไตรมาสที่ 2 ในขณะที่บางคนอาจมีความต้องการทางเพศต่ำลงเพราะมีการผันผวนของฮอร์โมน รู้สึกไม่สบายตัว ไม่มีแรง หรือปวดตามร่างกาย นอกจากนี้การตั้งครรภ์สามารถส่งผลต่อความต้องการทางเพศของอีกฝ่าย ผู้ชายบางคนอาจรู้สึกว่าคนท้องมีเสน่ห์ดึงดูด เพราะร่างกายเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการมีหน้าอกใหญ่ขึ้น ในบางกรณีความวิตกกังวลและความเครียดก็สามารถทำให้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายเบื่อเซ็กส์ การเปิดอกคุยกันเรื่องเซ็กส์จึงยังเป็นเรื่องสำคัญ

ประโยชน์ของการมีเซ็กส์ระหว่างตั้งครรภ์

  • มีออกัสซึมดีขึ้น: การมีเลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะเพศมากขึ้นสามารถทำให้ออกัสซึมมีความรุนแรงมากขึ้น
  • ทำให้แข็งแรง: การมีเซ็กส์ช่วยเผาผลาญแคลอรี และสามารทำให้คู่รักแข็งแรง
  • เพิ่มสายใยรัก: บางคู่พบว่าการมีเซ็กส์ในระหว่างตั้งครรภ์ทำให้ต่างฝ่ายได้ใกล้ชิดกันมากขึ้น
  • เสริมระบบภูมิคุ้มกัน: มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ.2004 พบว่า การมีเซ็กส์ทำให้ IgA ซึ่งเป็นสารภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น ทำให้รับมือกับโรคหวัดหรือการติดเชื้ออื่นๆ ได้อยู่หมัด
  • ทำให้มีความสุขมากขึ้น: ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอนโดรฟินเมื่อเราไปถึงจุดสุดยอด ซึ่งสามารถทำให้แม่และลูกมีความสุขและผ่อนคลาย

อย่างไรก็ตาม สำหรับเซ็กส์หลังคลอดลูก คุณแม่ทุกคนจำเป็นต้องใช้เวลาเพื่อเยียวยาและฟื้นตัว โดยต้องรอให้ปากมดลูกปิด ไม่มีเลือดไหลหลังคลอดลูก และรอให้แผลผ่าตัดหรือช่องคลอดที่ฉีกขาดหายก่อนที่จะกลับคืนสู่สังเวียนรักอีกครั้ง

ที่มา: https://www.medicalnewstoday.c...


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม