ทน. ปภัสรา กัลปพฤกษ์ นักเทคนิคการแพทย์
เขียนโดย
ทน. ปภัสรา กัลปพฤกษ์ นักเทคนิคการแพทย์
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

การตรวจความสมบูรณ์อสุจิ (Semen analysis)

วิธีเก็บน้ำเชื้อหรือน้ำอสุจิที่ถูกต้อง เพื่อตรวจวิเคราะห์ปริมาณและคุณภาพ หนึ่งในวิธีหาสาเหตุการมีบุตรยากในฝ่ายชาย
เผยแพร่ครั้งแรก 4 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 ม.ค. 2023 ตรวจสอบความถูกต้อง 20 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การตรวจความสมบูรณ์อสุจิ (Semen analysis)

การตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ (Semen analysis) เป็นการตรวจเพื่อดูปริมาณ คุณภาพ และรูปร่างของอสุจิเพื่อนำไปวินิจฉัยหาสาเหตุในการมีบุตรยากในเพศชาย น้ำอสุจิประกอบด้วยอสุจิและน้ำเลี้ยงอสุจิ จำนวนอสุจิสามารถบ่งบอกถึงความสามารถในการผลิตเซลล์สืบพันธุ์ในเพศชาย และการอุดตันของท่อนำอสุจิได้ ส่วนปริมาณน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาบ่งบอกถึงความสามารถในการผลิตน้ำเลี้ยงอสุจิของต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal vesicles)

วิธีการเก็บน้ำอสุจิที่ถูกต้อง

  1. ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ุหรือหลั่งน้ำอสุจิก่อนการตรวจอย่างน้อย 2-3 วัน เพราะหากมีการหลั่งอสุจิออกมาก่อนการตรวจ อาจส่งผลให้ปริมาณอสุจน้อยกว่าความเป็นจริงได้ แต่ไม่ควรงดหลั่งเกิน 7 วัน เพราะอสุจิที่ได้มาอาจจะพบเซลล์ที่ตายมากกว่าปกติ ทำให้ผลการตรวจคาดเคลื่อนได้
  2. ล้างมือและอวัยวะเพศให้ด้วยสบู่ให้สะอาด เช็ดให้แห้ง ก่อนการเก็บน้ำอสุจิ
  3. เก็บน้ำอสุจิด้วยวิธีช่วยตัวเอง (Masturbation) ใส่ในภาชนะที่ปลอดเชื้อโรค
  4. เมื่อเก็บเสร็จนำส่งห้องปฏิบัติการทันที แต่ถ้าเก็บน้ำอสุจิมาจากบ้าน ให้นำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 1 ชั่วโมง โดยห้ามใส่ตู้เย็นหรือแช่น้ำแข็งเด็ดขาด
  5. ห้ามใช้ถุงยางอนามัยในการเก็บน้ำอสุจิ เนื่องจากถุงยางมีสารหล่อลื่นที่ทำให้อสุจิตายได้

การตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ ตรวจอะไรบ้าง?

การตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ แบ่งการตรวจวิเคราะห์เป็น 2 ส่วนคือ การตรวจด้วยตาเปล่า (Macroscopic examination) และการตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. การตรวจด้วยตาเปล่า (Macroscopic examination) เป็นการตรวจดูลักษณะของน้ำอสุจิด้วยตาเปล่า เมื่อน้ำอสุจิถูกนำส่งมาที่ห้องปฏิบัติการ จะมีการตรวจดูลักษณะของน้ำอสุจิดังนี้
    1. การละลายตัวของน้ำเชื้อ (Liauefaction) น้ำอสุจิลักษณะเป็นกึ่งเหลวกึ่งแข็ง (Semisolid) แต่เมื่อวางทิ้งไว้จะละลายการเป็นของเหลว การละลายของน้ำเชื้อจะใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง
    2. ความหนืด (Viscosity) ปกติเมื่อละลายแล้วน้ำอสุจิจะมีความหนืดไม่เกิน 2 เซนติเมตร
    3. ปริมาณ (Volume) ปริมาณของน้ำอสุจิที่หลั่งออกมาควรมากกว่าหรือเท่ากับ 1.5 มิลลิลิตร ปริมาณของน้ำอสุจิที่น้อยกว่าปกติอาจเกิดเพราะการอุดตันของท่อนำอสุจิ หรือมีภาวะหลั่งอสุจิกลับสู่กระเพาะปัสสาวะ
    4. ความเป็นกรด-ด่าง (pH) นำ้อสุจิมีความเป็นด่างอ่อนๆ ค่าปกติมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 7.2
  2. การตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination) ทำเพื่อตรวจหาปริมาณและคุณภาพของอสุจิอย่างละเอียด ซึ่งจะมีการตรวจดังนี้
    1. ปริมาณอสุจิ (Sperm concentration) ค่าปกติมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 15 ล้านเซลล์/มิลลิลิตร
    2. การเคลื่อนที่ของอสุจิ (Motility) เป็นการดูอสุจิที่สามารถเคลื่อนที่ได้โดยค่าปกติมีค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 40% และลักษณะการเคลื่อนที่ของอสุจิจะมีด้วยกัน 2 แบบคือ การเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (Progressive motility) และการเคลื่อนที่แบบเป็นวงกลม (Non-progressive motility)
    3. รูปร่างของอสุจิ (Morphology) เป็นการดูรูปร่างลักษณะของอสุจิโดยการย้อมสีแล้วดูลักษณะภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูลักษณะของหัว คอ และหางของอสุจิว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ตามค่าปกติยึดตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) อสุจิที่มีรูปร่างสมบูรณ์ ควรมีมากกว่าหรือเท่ากับ 4%

รูปที่ 1 รูปร่างอสุจิภายใต้กล้องจุลทรรศน์: อสุจิที่มีรูปร่างปกติ(ซ้าย) และอสุจิที่มีรูปร่างผิดปกติ(ขวา)

  1. ทดสอบความมีชีวิต (Viability) เพื่อทดสอบการมีชีวิตของอสุจิโดยการย้อมสี หากเป็นอสุจิที่ตายแล้ว สีย้อมจะสามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ เมื่อส่องใต้กล้องจะเห็นสีแดงอยู่ภายในเซลล์อสุจิ แต่หากอสุจินั้นยังมีชีวิต สีย้อมจะไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปได้ จึงจะเห็นภายในเซลล์อสุจิเป็นสีขาว ค่าปกติมีเซลล์อสุจิที่มีชีวิตมากกว่าหรือเท่ากับ 58 %
  2. MAR test เป็นการทดสอบหาแอนติบอดีต่ออสุจิ ค่าปกติมีค่าน้อยกว่า 50 %
  3. เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว สามารถพบได้ในน้ำอสุจิ แต่ไม่เกิน 1 ล้านเซลล์/มิลลิลิตร
  4. เซลล์ลักษณะกลม (Round cell) ได้แก่ เซลล์เยื่อบุผิว เซลล์ต้นกำเนิดอสุจิ

ค่าปกติสำหรับการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ

โดยอ้างอิงค่ามาตราฐานจากองค์การอนามัยโลก ปี 2010

ปริมาณ (Volume) 1.5 มิลลิลิตร

ความเป็นกรด-ด่าง (pH) 7.2

ปริมาณอสุจิ (Sperm concentration) 15.0 ล้านเซลล์ต่อมิลลิลิตร

การเคลื่อนที่ของอสุจิ (Motility) 40 %

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อสุจิที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า 32 %

รูปร่างของอสุจิ (Morphology) 4 %

ทดสอบความมีชีวิต (Viability) 58 %

MAR test 50 %

การแปลผลการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ

หลังจากการตรวจวิเคราะห์นำ้อสุจิแล้ว จะต้องนำค่าที่ตรวจได้มาแปลผลการตรวจ โดยค่าหลักๆ ที่ใช้ในการแปลผลคือ ปริมาณอสุจิ (Sperm concentration) การเคลื่อนที่ของอสุจิ (Motility) และรูปร่างของอสุจิ (Morphology) ยกตัวอย่างเช่น

Azoospermia

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตรวจไม่พบอสุจิในน้ำอสุจิ

Severe oligozoospermia

ตรวจพบปริมาณอสุจิน้อยกว่า 1 ล้านเซลล์/มิลลิลิตร

Oligozoospermia

ตรวจพบปริมาณอสุจิน้อยกว่า 15 ล้านเซลล์/มิลลิลิตร

Asthenozoospermia

ตรวจพบอสุจิที่เคลื่อนที่น้อยกว่า 40 %

Teratozoospermia

ตรวจพบอสุจิที่รูปร่างปกติน้อยกว่า 4 %

ปริมาณอสุจิสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับสุขภาพของฝ่ายชาย ดังนั้นหากตรวจแล้วมีความผิดปกติของค่าต่างๆ ภายใน 4-6 สัปดาห์ควรมาตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันคุณภาพของอสุจิ ค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิประมาณ 900-2,000 บาท สำหรับสิ่งสำคัญที่สุดในการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ คือการเก็บน้ำอสุจิอย่างถูกต้อง หากน้ำอสุจิที่เก็บมามีการปนเปื้อน จะทำให้ผลการวิเคราะห์คลาดเคลื่อนได้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
World Health Organization . Geneva; World Health Organization; 2010. WHO Laboratory Manual for the Examination and Processing of Human Semen. 5th ed. Switzerland:World Health Organization; 2010. p.22-85
Oehninger S. Clinical management of male infertility in assisted reproduction: ICSI and beyond. Int J Androl. 2011;34:e319–29.
Muller CH. Rationale, interpretation, andrology lab corner validation, and uses of sperm function tests. J Androl. 2000;21:10–30.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป