ปัจจุบันการถ่ายภาพใบหน้าของตนเองแล้วโพสต์ลงโซเชียลมีเดียกำลังได้รับความนิยมทั่วโลก จนเกิดเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คนไปแล้ว
หากเซลฟี่เป็นครั้งคราวสำหรับเก็บไว้เป็นความทรงจำก็คงไม่ส่งผลเสียใดๆ แต่หากเซลฟี่บ่อยเกินไป และมีพฤติกรรมชอบโพสต์ลงโซเชียลมีเดียวันละหลายๆ ครั้ง นั่นอาจหมายถึงคุณอาจกำลังมีอาการเสพติดเซลฟี่ (Selfitis) ที่ถือว่า เป็นความผิดปกติทางจิตใจอย่างหนึ่งแล้วก็ได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการที่บ่งบอกว่า คุณอาจเป็น Selfitis แล้ว
อาการของการเสพติดเซลฟี่คือ ผู้ที่ถ่ายเซลฟี่มีความคาดหวังและความต้องการบางอย่างในการโพสต์ภาพผ่านโซเชียลมีเดีย ทำให้ต้องคอยดูยอดไลก์ หรือต้องอัปรูปใหม่เรื่อยๆ จนกว่าจะได้ยอด หรือได้คอมเม้นท์มากๆ ตามต้องการ
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจตามมาได้ หากว่าเป้าหมายนั้นไม่เป็นไปตามที่ต้องการ เช่น มีคนกดไลก์ไม่เยอะอย่างที่คิด ทำให้รู้สึกวิตกกังวล หงุดหงิด หรือไม่พอใจ
อาการ Selfitis อาจแบ่งเป็น 3 ระดับได้ ดังนี้
- ระดับมากกว่าปกติเล็กน้อย (Borderline) คือ ผู้ที่เซลฟี่ภาพตนเองอย่างน้อยวันละ 3 ภาพ แต่ไม่ได้โพสต์ลงโซเชียลมีเดีย
- ระดับรุนแรง (Acute) คือ ผู้ที่เซลฟี่ภาพตนเองอย่างน้อยวันละ 3 ภาพ และโพสต์ภาพเหล่านั้นลงในโซเชียลมีเดียทุกภาพ
- ระดับเรื้อรัง (Chronic) คือ ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองจากการถ่ายเซลฟี่ได้ มีพฤติกรรมถ่ายภาพเซลฟี่ตลอดเวลา และโพสต์ลงบนโซเชียลมีเดียตั้งแต่ 6 ครั้งขึ้นไป
ผลกระทบที่เกิดจาก Selfitis
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า หากเซลฟี่ภาพตัวเองโดยไม่คาดหวังจะไม่เป็นปัญหาใดๆ แต่ในกรณีที่คาดหวังผลตอบรับ ผู้โพสต์มักมีการแต่งเติมภาพด้วยแอปต่างๆ เพื่อสร้างความสวยงามก่อนเผยแพร่ภาพสู่โซเชียลมีเดีย
จากนั้นก็คอยติดตามผลตอบรับต่างๆ อย่างใจจดใจจ่อ เช่น การแสดงความคิดเห็นในทางบวก ยอดกดไลก์ ถูกใจ ยอดแชร์ ซึ่งหากไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ อาจทำให้เกิดปัญหาด้านจิตใจดังนี้
- ขาดความมั่นใจและความนับถือตัวเองในชีวิตจริง
- ขาดความเป็นผู้นำในครอบครัว เพื่อนฝูง และสังคมรอบตัว
- มีปัญหาด้านการพัฒนาตนเอง หรืออาจพัฒนาตนเองได้ช้า
- สร้างนิสัยชอบจับผิดคนอื่นโดยไม่รู้ตัว
- อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในที่สุด
สาเหตุที่นำไปสู่อาการ Selfitis
มีการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร International Journal of Mental Health and Addiciton ว่า
selfitis เป็นลักษณะทางพฤติกรรมที่พยายามจะแสดงการเรียกเรียกร้องความสนใจ หรือ แสดงถึงการต้องการเป็นที่ยอมรับในสังคมผ่านช่องทางที่ตนเองสามารถควบคุมได้ และพยายามทำให้ตนเองดูดีผ่านการปรับแต่งรูปภาพตนเองก่อนเอลงโซเชียล
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
มีการเปรียบเทียบว่า ในอดีตก่อนที่จะมีค่านิยม selfie คนเรามีค่านิยมให้วาดภาพตนเอง (portrait) โดยให้ศิลปินนั้นปรับแต่งภาพตนเองให้เป็นอย่างที่ตนต้องการ
นอกจากนี้ยังมีการพบว่า selfitis มีกลไกทางสมองคล้ายกับการติดสารเสพย์ติด
นักวิจัยได้แบ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดการเสพติดเซลฟี่ออกมาเป็น 6 ข้อดังต่อไปนี้
- สิ่งแวดล้อม (Environmental enhancement) เมื่อไปยังสถานที่แปลกใหม่ ก็จะถ่ายเซลฟี่เพื่อเพิ่มคุณค่าทางจิตใจให้คนเอง และโพสต์ลงโซเชียลมีเดียอย่างมีความคาดหวัง
- ถ่ายเซลฟี่เพื่อแข่งขันในสังคม (Social competition) หรือการถ่ายภาพเซลฟี่ลงโซเชียลมีเดีย เพื่อต้องการผลตอบรับเป็นยอดกดถูกใจ
- เรียกร้องความสนใจ (Attention seeking) คือ การถ่ายภาพเซลฟี่และโพสต์ลงโซเชียลมีเดียเพื่อต้องการเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น เช่น เซลฟี่ขณะที่ตนเองกำลังเศร้า หรือใช้คำบรรยายภาพเพื่อเรียกร้องความสนใจร่วมด้วย
- เซลฟี่เพื่อระบายอารมณ์ (Mood modification) ถ่ายเซลฟี่เพื่อให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น หรือผ่อนคลายขึ้น
- เซลฟี่เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง (Self confidence) การถ่ายเซลฟี่เพื่อให้รู้สึกภูมิใจในตัวเองมากยิ่งขึ้นจากเสียงตอบรับ
- เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (Subjective conformity) การเซลฟี่ลงโซเชียลมีเดียเพื่อให้ได้รับการยอมรับและเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
ผู้ที่เสี่ยงจะมีอาการ Selfitis
สังเกตได้จากความรู้สึกและพฤติกรรมของตนเองดังนี้
- เซลฟี่และโพสต์ลงโซเชียลมีเดียโดยหวังผลตอบรับ จนต้องเช็กโทรศัพท์ตลอดเวลา
- ถ่ายเซลฟี่ภาพตัวเองบ่อยเพราะกลัวภาพลักษณ์ของตนเองจะดูไม่ดี
- ร้สึกเศร้า เสียใจ เมื่อผลตอบรับไม่ดีดังที่คิด อาจมีการถ่ายเซลฟี่ใหม่อีกครั้งเรื่อยๆ และเริ่มคาดหวังผลใหม่
เมื่อไรที่ควรไปพบแพทย์
อาการเสพติดเซลฟี่อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าหรือโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อตัวผู้ป่วยเองเพราะมีโอกาสฆ่าตัวตายสูง ฉะนั้นควรหมั่นตรวจสอบตัวเองว่า มีอาการเช่นเดียวกับโรคซึมเศร้าหรือไม่
หากว่า มีอาการโรคซึมเศร้าควรไปพบแพทย์โดยทันที (ตรวจสอบอาการโรคซึมเศร้า คลิก)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
วิธีรักษาและป้องกันอาการ Selfitis
เนื่องจากการเสพติดเซลฟี่เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต จึงมีทั้งวิธีการรักษารวมถึงป้องกันได้ด้วยตัวเองและพบแพทย์ดังต่อไปนี้
- ฝึกตนเองให้ยอมรับความต่าง หากไม่สามารถยอมรับความต่างได้อาจนำไปสู่ความคิดชอบเปรียบเทียบไปโดยปริยาย เมื่อเห็นภาพ กิจกรรม ฐานะการเงินของคนในโซเชียลมีเดียก็อาจเปรียบเทียบกับตนเองจนเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจได้
- ให้ความสำคัญกับคนใกล้ตัวเป็นหลัก ไม่เอาความสนใจไปไว้กับสังคมภายนอกมากจนเกินไป รวมทั้งหากมีบุตรหลาน หรือเยาวชน ควรเลี้ยงดูพวกเขาด้วยความรักความอบอุ่น เพื่อให้บุตรหลานเป็นคนใส่ใจกับผู้คนใกล้ตัวเป็นหลัก ที่สำคัญผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ ด้วย
- ฝึกควบคุมการใช้โซเชียลมีเดียของตนเอง ให้ใช้อย่างมีสติ ไม่ให้ความสำคัญมากจนเกินไป และไม่ใช้มากจนเกินไป
- เข้าสังคมในชีวิตจริงให้บ่อยขึ้น เพื่ออยู่กับความเป็นจริงเป็นหลัก และไม่ใส่ใจกับโซเชียลมีเดียมากจนเกินไป รวมทั้งสอนบุตรหลานถึงวิธีการเข้าสังคม การทักทาย การพูดคุย
- หางานอดิเรกทำแทนการเล่นโซเชียลมีเดีย หากว่า เวลาว่างของคุณเป็นต้องหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเข้าโซเชียลมีเดีย ลองหางานอดิเรกในชีวิตจริง เพื่อไม่ให้เกิดการเปรียบเทียบกับสังคมในโซเชียลมีเดียตลอดเวลา อาจเป็นการอ่านหนังสือ ปลูกต้นไม้ เล่นดนตรี วาดภาพ หรือการออกกำลังกาย
- พบจิตแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษาหากไม่สามารถหยุดพฤติกรรมเซลฟี่ได้
ลองสังเกตว่า วันหนึ่งๆ คุณ หรือคนรอบข้างหยิบโทรศัพท์มาเซลฟี่กันกี่ครั้ง หรือเซลฟี่แล้วโพสต์ลงโซเชียลมีเดียกี่ครั้ง ถ้ามากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ควรเฝ้าระวังตนเองเพราะคุณอาจเริ่มเข้าข่าย Selfitis แล้วก็เป็นได้
หากกลั้นใจลดการเซลฟี่และการโพสต์ลงโซเชียลลงได้ ก็สามารถชะลอความรุนแรงของ Selfitis ได้ แต่หากทำไม่ได้อาจขอความร่วมมือจากคนใกล้ชิด หรือพบจิตแพทย์เพื่อรับแนวทางการแก้ปัญหาต่อไป
ดูแพ็กเกจปรึกษาจิตแพทย์ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android