การให้น้ำเกลือ ประเภทของน้ำเกลือ เมื่อไรที่ต้องการน้ำเกลือ วิธีการให้น้ำเกลือ และข้อควรระวัง

เผยแพร่ครั้งแรก 2 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การให้น้ำเกลือ ประเภทของน้ำเกลือ เมื่อไรที่ต้องการน้ำเกลือ วิธีการให้น้ำเกลือ และข้อควรระวัง

ในการรักษาของแพทย์มักจะเห็นบ่อยๆ ว่ามีการให้น้ำเกลือเป็นตัวช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลียหรือหมดแรงอยู่เสมอ เพราะในน้ำเกลือนั้นประกอบไปด้วยน้ำและเกลือแร่ที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่เชื่อว่าผู้คนจำนวนไม่น้อยอาจยังไม่ทราบว่า น้ำเกลือที่ใส่ในขวดใสๆ แล้วหยดลงในสายยางต่อเข้ากับเส้นเลือดของผู้ป่วยจะแยกได้หลายประเภทอีกด้วยเช่นกัน

การให้น้ำเกลือคืออะไร

การให้น้ำเกลือเป็นการให้สารน้ำเข้าสู่ร่างกายโดยตรงทางกระแสเลือด ในกรณีที่ไม่สามารถดื่มน้ำหรือยามที่ร่างกายขาดน้ำ ด้วยการทำให้น้ำเกลือมีระดับความเข้มข้นเท่ากับที่ร่างกายต้องการ โดยน้ำเกลือประเภทนี้จะมีรสชาติไม่เค็มมาก อีกทั้งยังประกอบไปด้วยโพแทสเซียม โซเดียมคลอไรด์ กับเกลือแร่อื่นๆ ในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

การให้น้ำเกลือเป็นการปรับสมดุลของน้ำและเกลือแร่ต่างๆ ภายในร่างกาย ช่วยในการชดเชยพลังงานเวลาที่ผู้ป่วยเกิดความอ่อนล้าหรืออ่อนเพลียได้อีกด้วย

ประเภทของน้ำเกลือและการใช้น้ำเกลือในแต่ละประเภท

น้ำเกลือที่ใช้ในการแพทย์ปัจจุบันได้ถูกแบ่งออกตามระดับความเข้มข้นดังต่อไปนี้

  • นอร์มอลซาไลน์ (Normal Saline Solution) เป็นน้ำเกลือที่มีค่าความเข้มข้นอยู่ในระดับเดียวกับคนปกติทั่วไปคือ 0.9%
  • 5% เดกซ์โทรส (5% Dextrose in Water) เป็นน้ำเกลือที่ไม่มีเกลือแร่ แต่ผสมกับน้ำตาลเดกซ์โทรส 5% ใช้กับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ต้องงดอาหารหรือมีน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • 5% เดกซ์โทรสในนอร์มอลซาไลน์ (5% Dextrose in NSS) เป็นน้ำเกลือที่ผสมกับน้ำตาลเดกซ์โทรสเข้มข้น 5% ใช้กับเด็กที่เป็นโรคไข้เลือดออกกับเด็กที่อยู่ในภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง ช็อก และน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • 5% เดกซ์โทรสใน 1/3 นอร์มอลซาไลน์ (5% Dextrose in 1/3 NSS) เป็นน้ำเกลือเข้มข้น 0.3% ผสมกับน้ำตาลเดกซ์โทรส 5% ใช้กับผู้ใหญ่ที่อยู่ในภาวะขาดน้ำ อดอาหาร ช็อก และน้ำตาลในเลือดต่ำ แต่ห้ามใช้กรณีที่เป็นผู้ป่วยไตวาย มีความดันโลหิตสูง บวม ภาวะหัวใจวาย หรือใช้กับเด็กเล็ก

เมื่อไรที่ร่างกายต้องการน้ำเกลือ

  • เมื่อร่างกายของผู้ป่วยนั้นอยู่ในภาวะขาดน้ำมากเกินไป เพราะเกิดอาการถ่ายท้องอย่างรุนแรง
  • ผู้ที่หมดสติหรืออ่อนเพลียจนไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำทดแทนได้
  • ผู้ที่มีอาการช็อกจากการเสียเลือดหรือเสียน้ำปริมาณมากๆ
  • ผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเพราะอดอาหารเป็นเวลานานๆ
  • ผู้ป่วยที่ต้องรับยาวันละหลายๆ ครั้ง ด้วยวิธีการผ่านหลอดเลือด

ข้อควรระวังในการให้น้ำเกลือ

  • ไม่ควรใช้น้ำเกลือที่มีระดับความเข้มข้นสูงกับผู้ที่เป็นโรคไตหรือผู้ที่มีภาวะบวมน้ำ เพราะอาจทำให้น้ำคั่งในปอดหรือหัวใจทำงานหนักจนหัวใจวายได้
  • หากมีอาการหนาวสั่นหรือมีอาการผิดปกติขณะให้น้ำเกลือ ควรรีบแจ้งพยาบาลทันที
  • น้ำเกลือที่ได้รับควรเป็นน้ำเกลือที่มีระดับความเข้มข้นเท่ากับในร่างกายของผู้ป่วยเท่านั้น
  • เด็กเล็กควรได้รับน้ำเกลือที่มีระดับความเข้มข้น 0.3% และหลีกเลี่ยงน้ำเกลือชนิดนอร์มอลซาไลน์
  • ในการใช้น้ำเกลือจะต้องทำความสะอาดอุปกรณ์ที่จะใช้อย่างพิถีพิถัน เพราะหากทำความสะอาดไม่ดีอาจทำให้เกิดการติดเชื้อต่อผู้ป่วยได้
  • ต้องระวังไม่ให้ในสายน้ำเกลือมีฟองอากาศ เนื่องจากฟองอากาศอาจเข้าไปในหลอดเลือดดำจนเข้าสู่หัวใจจนเป็นอันตรายได้

การให้น้ำเกลือทำให้อ้วนได้หรือไม่

ผู้คนบางส่วนมีความเข้าใจอย่างหนึ่งว่า การให้น้ำเกลือเป็นการให้สารอาหารเพื่อบำรุงร่างกายหรือบำรุงเลือด ทำให้รู้สึกว่ารับประทานอาหารได้มากขึ้น ข้อนี้เป็นการเข้าใจผิดอย่างยิ่ง เพราะร่างกายสามารถขับน้ำเกลือที่เหลือจากความต้องการได้ภายใน 24 ชั่วโมง จึงไม่มีผลกับความอ้วนแต่อย่างใด 

น้ำเกลือที่กล่าวมานี้เป็นน้ำเกลือที่ใช้กับผู้ป่วยในการให้ทางสายยางเข้าสู่เส้นเลือดเฉพาะเวลาแพทย์สั่งเท่านั้น แต่ยังมีน้ำเกลือประเภทที่ใช้ชงกับน้ำดื่ม และน้ำเกลือแร่ที่นักกีฬานิยมดื่มเพื่อชดเชยในยามที่ต้องออกกำลังกายจนเสียเหงื่อมากๆ อีกด้วย อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรรับน้ำเกลือบ่อยๆ นอกจากกรณีที่จำเป็นจริงๆ เพราะอาจก่อให้เกิดโทษแก่ร่างกายด้วยเช่นกัน


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Normal Saline. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK545210/)
Lactated Ringer’s Solution: Vs. Saline, Uses, Content, Effects. Healthline. (https://www.healthline.com/health/lactated-ringers)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)