เนื่องด้วยปัจจุบัน การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น ได้แก่ โรคหวัด โรคภูมิแพ้ และไซนัสอักเสบ เป็นปัญหาที่พบได้ทั้งในผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้เกิดการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ จึงมีความจำเป็นต้องล้างทำความสะอาดและดูดเอาน้ำมูกออก เพื่อไม่ให้มีการคั่งค้างของน้ำมูกในโพรงจมูก การสั่งน้ำมูกเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำเป็นต้องใช้การล้างจมูกเข้าช่วย การล้างจมูกมีข้อดีอีกอย่างคือช่วยลดการสัมผัสกับน้ำมูกของผู้ป่วย หรือน้ำมูกที่ปนเปื้อนมากับสิ่งของ ที่สามารถก่อให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่อไปอีก นอกจากนี้ ช่วงที่ผ่านมา ประเทศของเราเกิดสภาวะวิกฤตของฝุ่นละอองอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะที่เรารู้จักกันในรูปแบบของ PM 2.5 ที่แพร่กระจายอยู่ทั่วไปในอากาศ การล้างจมูกก็สามารถช่วยลดประมาณของฝุ่นละอองที่เราสัมผัสติดค้างในโพรงจมูก ที่ให้เกิดอาการกำเริบในผู้ป่วยที่มีอาการของโรคภูมิแพ้ฝุ่นอีกด้วย
เรียกได้ว่า การล้างจมูกเป็นการลดภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้การระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนก๊าซดีขึ้น ทำให้ผู้ป่วยหายเร็ว และสามารถลดการใช้ยาได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ของเหลวที่ใช้ล้างจมูกคืออะไร?
การเลือกน้ำเกลือเพื่อล้างจมูก ควรใช้น้ำเกลือนอร์มอล (Normal saline irrigate) ที่มีความเข้มข้น 0.9 % (0.9 % NaCl หรือเรียกว่า 0.9% NSS) หาซื้อง่ายได้ตามร้านขายยาทั่วไป
ในปัจจุบันมีการผลิตน้ำเกลือชนิดซองสำหรับพกพา ซึ่งค่อนข้างสะดวก ใช้ผสมน้ำสุกอุ่นตามสัดส่วนที่กำหนด หรือใช้คู่กับขวดล้างจมูกซึ่งมีขีดปริมาณชัดเจนในแต่ละยี่ห้อ ตามความสะดวกของผู้ใช้
ในกรณีที่ต้องการทำน้ำเกลือเองก็สามารถทำได้ โดยนำเกลือแกงหรือเกลือป่นที่ใช้ปรุงอาหารจำนวน 2 ช้อนชา ผสมกับน้ำต้มสุกปริมาณ 1 ลิตร แล้วตั้งทิ้งไว้ให้อุ่นก่อนนำมาล้างจมูก สำหรับน้ำเกลือที่เตรียมเองควรใช้หมดภายในหนึ่งวันเท่านั้น ถ้าใช้ไม่หมดควรทิ้งไป
มีข้อแนะนำเพิ่มเติมคือ ไม่ควรใช้น้ำเกลือขวดใหญ่กรณีล้างจมูกเด็กเล็ก เพราะการเปิดทิ้งไว้แล้วใช้ต่อเนื่องนานกว่าจะหมด จะทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่ในขวดได้ โดยทั่วไปใช้ขวดละ 100 cc เพื่อให้หมดเร็วจะได้ไม่เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ไม่ควรใช้น้ำก๊อก น้ำประปา หรือน้ำเกลือที่มีความข้มข้นต่ำกว่า 0.9 % ในการล้างจมูก เพราะอาจทำให้มีอาการคัดจมูกเพิ่มขึ้น แสบจมูก และมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้นด้วย
นอกจากนี้ ไม่ควรใช้น้ำเกลือที่เย็นเกินไปมาล้างจมูก เพราะอาจทำให้เกิดอาการคัดจมูกเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ปกติจะเก็บน้ำเกลือไว้ที่อุณหภูมิห้อง ถือถ้าเก็บน้ำเกลือในห้องที่เย็นหรือช่วงอากาศหนาว ควรอุ่นน้ำเกลือก่อนการล้างจมูกเสมอ โดยการนำแก้วที่ใส่น้ำเกลือแช่ลงในภาชนะที่มีน้ำต้มเดือดหรือนำไปอุ่นในไมโครเวฟ ก่อนจะนำน้ำเกลือที่อุ่นแล้วมาล้างจมูก แต่ต้องระวังไม่ใช้น้ำเกลือตอนยังร้อนจนเกินไป เพราะอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่เยื่อบุโพรงจมูกได้
วิธีล้างจมูกที่ถูกต้องปลอดภัย ทำอย่างไร
สำหรับเด็กเล็กกับเด็กโตจะมีธีล้างจมูกที่ต่างกัน ดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ในเด็กเล็ก ที่ยังสั่งน้ำมูกและบ้วนเสมหะเองไม่ได้ ต้องเตรียมเด็กโดยการห่อตัว แล้วใช้น้ำเกลือหลอดชนิดหลอดเล็ก (Nebule) 3 cc หรือ 5 cc หรือใช้กระบอกฉีดยาขนาดเล็ก ดูดน้ำเกลือจนเต็ม จับหน้าเด็กให้นิ่ง ค่อยๆ หยอดน้ำเกลือครั้งละ 2-3 หยด หรือสอดปลายกระบอกฉีดยา ฉีดครั้งละ 0.5 หรือเท่าที่เด็กทนได้ โดยทำทีละข้าง หลังจากนั้นใช้ลูกยางแดงดูดน้ำมูกออกทุกครั้ง ทำซ้ำในรูจมูกแต่ละข้างจนกว่าจะไม่มีน้ำมูกให้เห็น
- ในเด็กโต สามารถล้างจมูกด้วยตัวเองได้ มีสองวิธี คือแหงนหน้าและก้มหน้า ในผู้เริ่มต้น แนะนำให้ใช้วิธีก้มหน้าก่อน โดยก้มหน้าเล็กน้อย สอดปลายกระบอกฉีดยาชิดรูจมูกด้านบน ฉีดน้ำเกลือครั้งละ 5 cc หรือมากกว่านั้น เท่าที่เด็กทนได้ จนน้ำมูกไหลออกทางปากหรือไหลย้อนออกทางจมูกอีกข้าง จากนั้นสั่งน้ำมูกพร้อมกันทั้งสองข้าง บ้วนน้ำส่วนที่ไหลลงคอทิ้ง
แนะนำล้างจมูกข้างที่โล่งกว่าก่อน ล้างจนรู้สึกโล่งดี และน้ำมูกใส
ส่วนวิธีแหงนหน้า ให้แหงนหน้าเล็กน้อย กลั้นหายใจหรือหายใจทางปาก สอดปลายกระบอกฉีดยาเหมือนวิธีแรก ล้างเหมือนกัน โดยวิธีนี้นอกจากจะช่วยชะล้างสิ่งคัดหลั่งในโพรงจมูกแล้ว ยังช่วยชะล้างสิ่งคัดหลั่งในคอหอยได้ด้วย สามารถลดเสมหะที่ไหลลงคอได้ (Post nasal drip) แต่หากดันน้ำแรงเกินอาจสำลักได้
คำแนะนำและข้อควรระวังเกี่ยวกับการล้างจมูก
การล้างจมูกนั้น ถ้าทำได้ถูกต้องและทำในเวลาที่เหมาะสมจะเกิดอันตรายค่อนข้างน้อย โดยทั่วไป แนะนำให้ล้างจมูกก่อนเวลารับประทานอาหารหรือหลังรับประทานแล้วอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักหรืออาเจียน
มีรายงานบ้างว่าเกิดหูอื้อหลังจากล้างจมูก เนื่องจากอาจฉีดแรงเกิน จนแรงดันเข้าไปในท่อปรับแรงดันหู หรือแสบจมูก เลือดกำเดาไหล ซึ่งพบได้น้อยมาก ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุด คือ หูอื้อ 5 % ไอ 4 % คลื่นไส้ 2 % และปวดหู 2 % ซึ่งอาการไม่รุนแรง หายได้เอง และไม่ต้องหยุดล้างจมูก
นอกจากนี้ที่พบได้คือ ปลายจุกโดนสันกลางจมูกถลอก หรือมีบาดแผลเลือดออก
ผู้ที่มีข้อห้ามล้างจมูก คือ ผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุบริเวณใบหน้าที่ยังไม่หายสนิท และผู้ป่วยที่มีอาการทางระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อ ที่เสี่ยงต่อการสำลัก