ปานแดงแต่กำเนิด มีอันตรายหรือไม่?

ปานแดงแต่กำเนิด ถึงแม้มีตั้งแต่เกิด แต่อาจแฝงอันตรายอยู่ รู้จักปานแดง 2 ชนิด ผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้ และแนวทางการรักษา
เผยแพร่ครั้งแรก 13 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ปานแดงแต่กำเนิด มีอันตรายหรือไม่?

โดยทั่วไป ปานแดงมักจะเห็นตั้งแต่กำเนิดหรือในขวบปีแรก ลักษณะเป็นเนื้อนูนสีแดงสด บางรายถ้าเกิดการกระแทก เกา หรือขัดถูบริเวณปานแดง อาจทำให้มีเลือดออกมากได้ ปานแดงมีรูปร่างและขนาดที่หลากหลาย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดหลักๆ ได้แก่ เนื้องอกหลอดเลือด (Hemangioma) และปานแดงชนิดพอร์ตไวน์สเตน (Port-wine Stain)

ปานแดงทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะ อันตราย และวิธีการรักษาแตกต่างกัน ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

1. ปานแดงชนิดเนื้องอกหลอดเลือด (Hemangioma)

ปานแดงแบบนี้เป็นชนิดที่พบได้บ่อย ประมาณ 5-10% ของเด็กในขวบปีแรก พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย เริ่มแรกอาจพบแค่เป็นปื้นสีแดง ต่อมาจะค่อยๆ นูนขึ้นในช่วง 5 เดือนถึงขวบปีแรก และพบว่า 50% ของปานแดงชนิดนี้สามารถบยุบลงเองได้ภายในระยะเวลาประมาณ 5 ปี

ลักษณะของปานแดงชนิดเนื้องอกหลอดเลือดจะเป็นก้อนนูน สีแดงเข้มสด ผิวขรุขระ เกิดในตำแหน่งใดของร่างกายก็ได้

สาเหตุของปานแดงเนื้องอกหลอดเลือดเกิดจากการมีเส้นเลือดใต้ผิวหนังขยายขนาดและเพิ่มจำนวนมากผิดปกติ ต่อมาจะค่อยๆ เป็นสีออกเทา แล้วแดงจางลง จากนั้นปานจะค่อยๆ นิ่มแบน และยุบตัวลง

หลังจากยุบตัวลงอาจเหลือทิ้งร่องรอยเป็นเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนัง เนื้อย่นๆ เนื้อเป็นหลุม หรือบางรายอาจเป็นแผลเป็น

อันตรายของปานแดงชนิดเนื้องอกหลอดเลือด

ปานแดงชนิดนี้ ถ้ามีมากกว่า 5 ตำแหน่ง ต้องรับการตรวจเพิ่มเติม เพราะมีความเสี่ยงที่จะมีปานเนื้องอกหลอดเลือดเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นภายในร่างกาย นอกเหนือจากที่ผิวหนังด้วย

หรือถ้ามีปานชนิดนี้ขึ้นบริเวณใบหน้าขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร อาจพบร่วมกับกลุ่มอาการทางระบบประสาทที่เรียกว่า PHACE syndrome ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของ ตา หัวใจ และหลอดเลือดอื่นๆในร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การรักษาปานแดงชนิดเนื้องอกหลอดเลือด

เริ่มแรกแพทย์ตรวจหาภาวะร่วมอื่นๆ เช่น อาการทาง ตา หู และตำแหน่งของปานแดงว่าปิดกันทางเดินอาหารหรือทางเดินหายใจหรือไม่ รวมถึงจำนวนปานและอายุของผู้ป่วย ที่เริ่มเข้ามาทำการรักษา

แนวทางการรักษาปานแดงชนิดเนื้องอกหลอดเลือด เช่น

  • รักษาด้วยยากิน เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาโพรพาโนลอล
  • รักษาด้วยยาทา เช่น ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์
  • รักษาด้วยเลเซอร์ที่มีความจำเพาะ พัลส์ดายเลเซอร์ (Pulsed-dye laser)
  • รักษาด้วยการผ่าตัด

2. ปานแดงชนิดพอร์ตไวน์สเตน (Port-wine Stain)

ปานแดงชนิดนี้เกิดจากเส้นเลือดใต้ผิวหนังเรียงตัวผิดปกติ ทำให้เกิดผื่นลักษณะนูนแดง ผิวขรุขระ สิ่งที่แตกต่างจากปานแดงชนิดเนื้องอกหลอดเลือดคือ ปานชนิดนี้จะนูนหนาขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น สามารถขึ้นได้ทุกตำแหน่งของร่างกาย

อันตรายของปานแดงชนิดพอร์ตไวน์สเตน

ถ้าพบปานแดงชนิดพอร์ตไวน์สเตนตามริมฝีปาก รอบรูจมูก อาจบดบังทางดินหายใจได้ อาจพบปานชนิดนี้ร่วมกับความผิดปกติอื่นๆ เช่น

  • ความผิดปกติของกระดูก ถ้ามีปานแดงชนิดนี้ขึ้นที่บริเวณแขน ขา อาจพบความผิดปกติของกระดูกร่วมด้วยในข้างเดียวกัน ผู้ป่วยมักจะมีแขนขาโต เท้าโตผิดรูป มีปัญหาด้านการเดิน บางรายอาจพบปานชนิดอื่นๆ เช่น ปานดำ ปานสีน้ำตาล ปนมาด้วย
  • อาการทางระบบประสาท ผู้ป่วยที่มีปานแดงชนิดนี้ขึ้นที่บริเวณซีกนึงของใบหน้า อาจพบอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น ลมชัก สติปัญญาต่ำ
  • อาการทางสายตา ในผู้ป่วยที่มีผื่นบริเวณรอบตา เปลือกตา นอกจากปานนี้จะนูนหนาบดบังการมองเห็นแล้ว ยังสามารถมีอาการร่วมที่เป็นปัญหาจากกระบอกตา จอประสาทตา ทำให้มีต้อหิน หรือรุนแรงถึงขั้นมองไม่เห็นได้

การรักษาปานแดงชนิดพอร์ตไวน์สเตน

เนื่องจากโรคนี้ไม่สามารถยุบตัวเองได้ ปล่อยไว้นานมีแต่จะขยายขนาด สีเข้มชัด และนูนหนามากขึ้น จึงควรรีบทำการรักษา โดยแพทย์ตรวจหาภาวะร่วมอื่นๆ ขึ้นกับตำแหน่งที่เกิดปาน และทำการรักษาด้วยเลเซอร์ที่มีความจำเพาะ พัลส์ดายเลเซอร์ (Pulsed-dye laser)


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศ. นพ. วรพงษ์ มนัสเกียรติ, ปานแดงแต่กำเนิดมาทำความรู้จักกัน (www.si.mahidol.ac.th).
Lowel A. Goldsmith et al. Fitspatick’s Dermatology in General Medicine 8th ed.
Jean L. Bolognia, Dermatology 4th ed.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป