ยา Ranitidine คืออะไร ทำไมถึงเลิกใช้?

พบสารก่อมะเร็งในยาลดกรด Ranitidine ที่มีขายในไทย! เรียกคืนจากโรงพยาบาลและร้านขายยาเพื่อทำการตรวจสอบแล้ว
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ต.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ยา Ranitidine คืออะไร ทำไมถึงเลิกใช้?

ยา Ranitidine คือ? 

ยา Ranitidine เป็นยาลดกรดในกระเพาะอาหาร (Gastric acid secretion inhibitor) และลำไส้เล็ก ใช้สำหรับผู้ที่เป็นกรดไหลย้อน ในตัวยาประกอบด้วยรานิทิดีน (Ranitidine) ซึ่งมีฤทธิ์ต้านฮีสตามีน (Histamine) ยับยั้งการหลั่งกรดในเซลล์กระเพาะอาหาร ปัจจุบันองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาเรียกคืนยา Ranitidine จากโรงพยาบาลและร้านขายยาเพื่อระงับการจ่ายยานี้เอาไว้ชั่วคราว 

อ่านเพิ่มเติม: ยา Ranitidine

เหตุผลที่เรียกคืนยา Ranitidine

องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ได้ตรวจพบการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็งเกินค่ามาตรฐานมาเล็กน้อย ซึ่งก็คือสาร N-Nitrosodimethylamine (NDMA) ซึ่งจัดเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม Nitrosamines ตามการจัดอันดับของ International agency for research on cancer (IARC) โดยให้เรียกคืนจากโรงพยาบาลและร้านขายยาเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและตรวจสอบสาเหตุการปนเปื้อนสารก่อมะเร็งดังกล่าว 

แต่ทั้งนี้ ผู้ที่มียา Ranitidine ประจำบ้านหรือใช้ยาอยู่สามารถใช้ต่อได้ เนื่องจากปริมาณการปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น รวมทั้งยา Ranitidine เป็นยาที่ใช้ในระยะสั้นจึงทำให้ไม่เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้

ยา Ranitidine ในไทย 

ในประเทศไทยเองก็ได้มีการเรียกคืนยาบางชื่อการค้าที่เป็นยาประเภท Ranitidine ด้วยเช่นกัน ปัจจุบันในไทยมีการขึ้นทะเบียนตำรับยา Ranitidine ทั้งหมด 34 ทะเบียน หลังจากสหรัฐประกาศพบสารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อน ทำให้ยาหลายชื่อการค้าถูกเรียกคืนในหลายประเทศ พบว่าหนึ่งในชื่อที่ตรงกับตำรับยาขึ้นทะเบียนไทยคือ Xanidine ซึ่งถูกเรียกคืนในประเทศสิงค์โปร์ ประเทศไทยเองจึงได้มีการขอความร่วมมือกับผู้ได้รับอนุญาตในการผลิตเพื่อเรียกคืนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  

ชื่อการค้าอื่นๆ ของยา Ranitidine ที่ถูกเลิกใช้ชั่วคราว 

ชื่อการค้าของยาที่ถูกเรียกคืนเพื่อตรวจสอบเพิ่มเติมทั้งในและต่างประเทศมีด้วยกัน 8 ชื่อการค้าดังนี้

  1. Aciloc
  2. Apo-ranitidine
  3. Hyzan
  4. Neoceptin R-150
  5. Vesyca 
  6. Xanidine
  7. Zantac
  8. Zynol 


สาร NDMA ที่ปนเปื้อนในยา Ranitidine พบที่ไหนได้อีก

สาร NDMA เป็นสารอินทรีย์ระเหยได้ ที่เกิดจากสารเคมีทำปฏิกริยากัน สามารถพบได้ตามสภาพแวดล้อมทั่วไป เช่น แหล่งน้ำ พื้นดิน อากาศ และกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม โดยปกติคนอาจได้รับสาร NDMA ได้ผ่านทางควันบุหรี่ อาหารแปรรูปบางชนิด ยาฆ่าแมลง แต่สาร NDMA นั้นจะสลายตัวได้ง่ายหลังจากโดนแสงแดดเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น 

สาร NDMA ในยา Ranitidine อันตรายไหม?

มีการทดลองในหนู เมื่อได้รับสาร NDMA ผ่านการกินจะทำให้สารเหล่านี้เข้าสู่กระแสเลือดและผ่านไปยังตับ เพื่อทำการกำจัดออกทางปัสสาวะและลมหายใจใน 24 ชั่วโมง เมื่อได้รับในปริมาณต่ำ (5-100ppm) ต่อเนื่องกันหลายสัปดาห์ พบว่าทำให้ตับถูกทำลาย เป็นมะเร็งตับและมะเร็งปอด 

แม้จะยังไม่มีหลักญานยืนยันว่าสาร NDMA ส่งผลร้ายต่อมนุษย์ แต่จากผลการทดลองดังกล่าว หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (Environmental Protection Agency) จึงได้มีการจัดให้สาร NDMA เป็นสารก่อมะเร็งไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัย ปัจจุบันใช้ได้แค่ในงานวิจัยเท่านั้น 


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักยาและวัตถุเสพติด, ไขข้อข้องใจ กรณีเรียกคืนยา Valsartan ที่ใช้วัตถุดิบจาก Zhejiang Huahai ประเทศจีน, (https://bdn.go.th/th/detail/97/), 17 กรกฏาคม 2561.
ผศ. ดร. ภกญ. ปิยนุช โรจน์สง่า, รู้และเข้าใจสารเจือปนในผลิตภัณฑ์ยา กรณีเรียกเก็บคืนยาวาลซาร์แทน (Valsartan), (https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0437.pdf).
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, เรียกคืนยา Ranitidine หลังต่างประเทศพบสารปนเปื้อน, (http://berlinpharmaceutical.com/ranitidine/620927_ข่าวแจก_เรียกคืนยา_Ranitidine_หลังต่างประเทศพบสารปนเปื้อน_1722.pdf), 27 กันยายน 2562.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป