หนังตา เป็นเนื้อเยื่อชนิดเดียวกันกับผิวหนัง แต่เนื้อเยื่อจะบางกว่าส่วนอื่นๆ ทำหน้าที่ในการปกป้องดวงตา และช่วยในการเคลื่อนไหว ของลูกตา
ถึงแม้ “หนังตา” จะเป็นเนื้อเยื่อผิวหนัง เหมือนผิวหนังทั่วไป แต่ถือว่า หนังตานั้น เป็นส่วนเดียวกันกับตา ภายในหนังตาจะมีกล้ามเนื้อสำหรับการเคลื่อนไหวของตา ช่วยในการหลับตา ลืมตา และกระพริบตา และภายในหรือภายใต้หนังตา จะมีเนื้อเยื่อยุตาใต้ผิวหนังด้านใน อยู่ติดลูกตา ซึ่งสามารถเกิดการอักเสบและเกี่ยวข้องกับเยื่อบุตาขาว เช่น เยื่อบุตาขาวอักเสบ เยื่อบุใต้หนังตาก็จะอักเสบตามไปได้ด้วย
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ดังนั้น หนังตา จึงถือเป็นส่วนที่สำคัญของดวงตา คอยปกป้องและช่วยเหลือดวงตา เช่น กระพริบตา หยีตาเมื่อเจอแสงจ้า หลับตาเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมจะเข้าตา เป็นต้น และหนังตายังทำหน้าที่สัมพันธ์กับ ต่อมไมโบโมเบียน (Meibomian gland) ที่ทำหน้าที่ในการผลิตน้ำตา ร่วมกับ ต่อมน้ำตา โดยที่นอกเหนือจากสร้างน้ำตาแล้วจะมีการสร้างไขมันเพื่อเคลือบเยื่อตาให้มีความชุมชื่น ลื่นและลดการระคายเคือง ช่วยในการทำความสะอาดฝุ่นผงต่างๆ ที่เข้าลูกตา และขับออกมาจากดวงตาทุกวันในรูป “ขี้ตา” นั่นเอง
ซึ่งหากหนังตาผิดปกติ จะมีผลกระทบต่อการมองเห็น การเคลื่อนไหวของตาและกระทบกับการทำงานส่วนต่างๆ ดังนี้
โดยปกติในช่วงที่เรานอนหลับ หนังตาจะปิดดวงตาไว้ เพื่อรักษาความชุ่มชื้น และระหว่างวันการกระพริบตาจะเป็นการช่วยถนอมดวงตาและรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา
การกะพริบตายังเป็นการช่วยในการกระตุ้นการสร้างน้ำตาเพื่อออกมาหล่อเลี้ยงลูกตา แต่สำหรับคนที่มีอาการหนังตาผิดปกติ จะทำให้การทำงานเหล่านี้ผิดปกติ โดยเฉพาะ อาการที่เรียกว่า “หนังตาตกหรือหนังตาหย่อน” ดังนี้
อาการหนังตาตกหรือหย่อน
อาการหนังตาตก (Ptosis) เป็นภาวะที่เปลือกตาบนตกลงมาต่ำกว่าปกติ อาจตกลงมาเพียงเล็กน้อยไปจนถึงตกลงมาจนปิดรูม่านตา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น ในบางรายอาจเพียงแค่ทำให้รูปลักษณ์เปลี่ยนแปลงไปแต่ไม่ส่งผลต่อการมองเห็นมากนัก ยกเว้น หนังตานั้นตกจนไปปิดบังลานตาและมุมในการมองเห็น
อาการหนังตาตก นั้น สามารถเป็นข้างเดียว หรือ เป็น ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดแต่ทำให้ การมองเห็นลดลงได้ ซึ่งมีวิธีการสังเกตดังนี้
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- โดยปกติเมื่อเรามองภาพหน้าตกจะมองเห็นตามปกติ สำหรับคนที่เริ่มหนังตาตก จะต้องเงยหน้า หรือ โก่งคิ้วเพื่อให้มองเห็นชัดเจน
- เมื่อปล่อยให้หนังตาผิดปกตินานๆ จะเกิดภาวะแทรกซอนต่อดวงตา ระดับสายตา ลานสายตา และการมองเห็น ได้
- เมื่อส่องกระจกจะพบว่า ดวงตา 2 ข้างไม่เท่ากัน หรือ ตาเล็กแคบกว่าปกติ
- หนังตาตกสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัย เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตา เช่นในเด็ก เราจะสังเกตง่า เด็กเหมือนง่วง ตลอดเวลา แต่ถ้าเกิดขึ้นกับเด็กเล็กๆ จะเรียกอาการนี้ว่า ตาเหล่ ได้
สาเหตุที่ทำให้เปลือกตาตกและหย่อน
- สาเหตุของหนังตาตกนั้น เกิดขึ้นได้หลายปัจจัย เช่น
- เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีผลต่อระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคเนื้องอกหรือมะเร็งที่สมอง หรือ เกิดอุบัติเหตุโดยตรงกับระบบประสาทที่ตา
- หนังตาตกตั้งแต่กำเนิด (Congenital Ptosis) เกิดจากกล้ามเนื้อที่หนังตาผิดปกติมาแต่กำเนิด ส่วนใหญ่จะพบความผิดปกติข้างเดียว ร้อยละ 70
- อายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อตามผิดปกติ หรือ หย่อนยาน จนทำให้หนังตาตก
- เกิดจากภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดตา เช่น การผ่าตัดทำตา 2 ชั้น การผ่าตัดต้อ การทำเลสิก รวมถึงเนื้องอกที่ตาได้
- เกิดจากกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือ เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้ออ่อนแรง(Myasthenia Gravis) นอกจากจะทำให้หนังตาตกหรือกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวอ่อนแรง ยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณอื่น ๆ เช่น กล้ามเนื้อใบหน้า แขน และขา มีอาการอ่อนแรงได้เช่นกัน
วิธีการรักษาเปลือกตาตกและหย่อน
การรักษาหนังตาตกนั้น สามารถทำได้เมื่อวินิจฉัยสาเหตุ และทำการผ่าตัดรักษาด้วยการหนังตา ยกเว้นในรายที่มีความผิดปกติจากระบบประสาทและสมอง ต้องรักษาตามอาการ ร่วมกับ การรักษาแบบประคับประคอง
ส่วนใหญ่การผ่าตัดรักษา แพทย์จะทำการผ่าตัดยกเปลือกตาเป็นตา 2 ชั้น ซึ่งต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการทำการรักษา ใช้เวลาผ่าตัดประมาณ 1 วัน และพักฟื้นประมาณ 1-2 เดือน และช่วงหลังพักฟื้นผู้ป่วยต้องหลีกเลี่ยงการใช้สายตานานๆ หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แสงจ้า การใช้โทรศัพท์มือถือ สมาร์ทโฟน หรือ คอมพิวเตอร์ จนกว่าแผลที่ตาจะหาย และเปลือกตาสามารถใช้งานได้ตามปกติ ทั้งนี้ ภาวะเปลือกตาตกหย่อนและโรคของเปลือกตาอื่นๆ จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านจักษุตกแต่งและเสริมสร้าง (Ophthalmic Plastic and Reconstructive Specialist) เท่านั้นเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ต่อไป
วิธีการป้องกันและการดูแลเปลือกตา
นอกจากที่เราต้องดูแลและปกป้องดวงตาของเราแล้ว การดูแลเปลือกตาก็สำคัญ ซึ่งมีวิธีการดูแลง่ายๆ ดังนี้
1. กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นการสร้างและการหลั่งของน้ำตา เป็นการช่วยถนอมเยื่อบุตา และช่วยรักษาความชุ่มชื้นของดวงตา
2. พักการใช้สายตาอย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมงในกรณีที่ต้องมีการเพ่งหรือใช้กล้ามเนื้อตามากกว่าปกติ เช่น ใช้งานคอมพิวเตอร์ งานออกแบบที่ต้องการความละเอียดสูงๆ
3. ทำความสะอาดดวงตาและเปลือกตาด้วยน้ำสะอาดทุกวัน หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ในการเช็ดหรือทำความสะอาดรอบดวงตา เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวบางชนิดมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ควรหลีกเลี่ยงการใช้รอบดวงตา
4. หากมีความผิดปกติที่เปลือกตา หรือ ดวงตา ควรปรึกษาแพทย์ ไม่แนะนำให้ซื้อมาหยอดตาเอง
5. ระมัดระวังการใช้วัสดุ หรือ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน สำหรับดวงตา เช่น บิ๊กอาย น้ำยาแช่คอนแทคเลนส์ ให้ระมัดระวังเลือกที่ได้คุณภาพและมาตรฐานเพราะจะต้องสัมผัสผิวดวงตาโดยตรง
6. ในรายที่มีปัญหากล้ามเนื้อหนังตาตกหรือหย่อนมากๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาผ่าตัดรักษา