กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

คุ้มครองลูกน้อยก่อนคลอด ทั้งโภชนาการ และการใช้ชีวิต

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
คุ้มครองลูกน้อยก่อนคลอด ทั้งโภชนาการ และการใช้ชีวิต

ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเยาวชน ข้อหนึ่ง ระบุให้เด็กได้รับการดูแลและคุ้มครองเป็นพิเศษ ทั้งเมื่ออยู่ในครรภ์และภายหลังเมื่อคลอดแล้ว จึงขอชักชวนผู้อ่านร่วมทบทวนการดูแลคุ้มครองเด็กในแง่โภชนาการ โดยเริ่มตั้งแต่เมื่อเด็กอยู่ในครรภ์

โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์ของแม่ สำคัญต่อทารกมาก

ผลงานวิจัยใหม่ ๆ ยืนยันความจริงข้อนี้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ยิ่งศึกษามากก็ยิ่งเห็นความสำคัญ ถ้าจะแนะนำการทำนุบำรุงร่างกายระหว่างตั้งครรภ์ก็คงจะได้ตำรายาวเหยียด คราวนี้ขอกล่าวเฉพาะสิ่งที่ไม่ควรทำเพียง 3 อย่าง ถ้าหวังจะคุ้มครองเด็กต้องงดเว้น ทั้ง 3 อย่าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด

แต่ก่อนไม่ค่อยสนใจเรื่องนี้กันเลย มิหนำซ้ำบางคนกลับเห็นเป็นของดีช่วยเร่งเลือดลมของแม่ ทำให้แม่หน้าแดงเปล่งปลั่งขึ้นมาทันตา เนื่องจากแอลกอฮอล์ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้อย่างรวดเร็วมากนั่นเอง ทารกได้รับแอลกอฮอล์ผ่านทางรกอย่างรวดเร็วเช่นกัน แอลกอฮอล์มีผลต่อเด็กเหมือนกับต่อแม่ ทั้งอาจรุนแรงกว่าด้วยซ้ำ ถ้าจะกล่าวว่าเด็กในครรภ์เมาไปพร้อมกันกับแม่ ก็คงไม่ผิดความจริงนัก

งดเว้นไม่ดื่มสุรา ก็จะสามารถป้องกันอาการผิดปกติทั้งหลายได้ เมื่อไม่นานมานี้ จากการศึกษาทารกที่เกิดจากแม่ที่ดื่มสุราเป็นประจำพบว่าเด็กถึงร้อยละ 30-50 มีอาการผิดปกติหลายอย่าง ได้แก่ น้ำหนักตัวต่ำ หัวเล็กกว่าปกติ รูปร่างบางส่วนอาจผิดปกติ ส่วนมากมักโตช้า นอกจากน้ำหนักจะเพิ่มช้ากว่าปกติแล้ว การพัฒนาอย่างอื่นของเด็กก็พลอยช้าลงด้วย เด็กมักมีอาการเซื่องซึม หงอยเหงา งอแงและหงุดหงิด บางครั้งแสดงอาการคล้ายคนเพิ่งสร่างเมา และเด็กอาจมีอาการผิดปติทางสมองด้วย บางคนถึงกับปัญญาอ่อนไปตลอดชีวิต

3. งดเว้นการสูบบุหรี่

เป็นที่ประจักษ์แน่นอนว่า การสูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์มีผลให้น้ำหนักแรกเกิดของเด็กน้อยลง มักเชื่อกันผิด ๆ ว่าน้ำหนักตัวเด็กน้อยเป็นของดี เด็กตัวเล็กย่อมคลอดง่ายน้ำหนักตัวยิ่งน้อยก็ยิ่งเลี้ยงให้รอดยาก ตัวอย่างเช่น น้ำหนักเด็กแรกเกิดปกติคือประมาณ 3 กิโลกรัม เด็กที่น้ำหนักตัวต่ำกว่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำหนักตัวต่ำกว่า 2.5 กิโลกรัม ก็ยิ่งเลี้ยงให้รอดยาก โอกาสเจ็บไข้ได้ป่วยมีมากขึ้น เวลาเด็กแรกเกิดเจ็บน้ำหนักตัวมักลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างน้อยจึงควรมีน้ำหนักแรกเกิดพอเหมาะเป็นทุนให้อุ่นใจ

นอกจากนั้นแม่ที่สูบบุหรี่มีโอกาสแท้งได้ง่ายกว่า แม่ไทยส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่อยู่แล้ว ที่สูบมวนต่อมวนมีน้อย ข้อนี้จึงไม่เป็นปัญหานัก

4. ไม่ลดน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์

ในช่วง 3 เดือนแรกน้ำหนักควรขึ้นน้อยมากจนบางทีดูไม่ออกว่าตั้งครรภ์ ในช่วง 3 เดือนหลังน้ำหนักจึงขึ้นรวดเร็วขึ้น รวมแล้วน้ำหนักที่เพิ่มขั้นทั้ง 9 เดือนไม่ควรเกินร้อยละ 25 ของน้ำหนักปกติ ถ้าน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์เท่ากับ 50 กิโลกรัม ควรมีน้ำหนักเพิ่มทั้งสิ้นเพียง 12 กิโลกรัม เป็นต้น ถ้าน้ำหนักของแม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่ควร ไม่ควรลดน้ำหนักเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่ควรอดอาหาร ค่อยชะลอให้น้ำหนักขึ้นช้าลงจะดีกว่า ทารกในครรภ์ต้องการสารอาหารจากแม่อย่างสม่ำเสมอไม่ชะงักงัน จึงจะเติบโตได้อย่างปกติ

แม่บางคนจงใจลดน้ำหนักขณะตั้งครรภ์ ไม่ยอมกินอาหารที่มีประโยชน์ หลงเข้าใจผิดว่าแม่บำรุงนัก เด็กในครรภ์จะอ้วนใหญ่ทำให้คลอดยาก แม้ในปัจจุบันก็ยังไม่มีใครบอกได้ว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นนั้นจะเป็นน้ำหนักของตัวเด็กเท่าไหร่ น้ำหนักของแม่เพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม เด็กอาจจะหนัก 2.3 หรือ 4 กิโลกรัมก็ได้ แม่อ้วนใหญ่ เด็กอาจจะตัวเล็ก และแม่ตัวเล็กเด็กออกมาใหญ่ก็เป็นไปได้

ในขณะตั้งครรภ์ แม่ไม่จำเป็นต้องกินอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ข้าว แป้งและไขมันมากนัก แต่ควรเพิ่มโปรตีน ควนกินเนื้อสัตว์ ไข่ นม หรือถั่วเมล็ดแห้งเพิ่มขึ้น ผักและผลไม้ต้องไม่ขาด โดยเฉพาะผักใบเขียวที่ให้วิตามินเอ วิตามินซีและเหล็ก ถ้าจำเป็นต้องควบคุมน้ำหนัก ควรลดข้าว แป้ง และ-ไขมันเท่านั้น ไม่ควรลดอาหารอื่น และไม่ควรอดอาการทั้งมื้อ  ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ และไม่ลดน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยคุ้มครองและป้องกันอันตรายและความผิดปกติอาจเกิดกับเด็กไปได้มาก


11 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 Tips to Eating Healthy During Pregnancy. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/script/main/art.asp?articlekey=155877)
Preparing for Pregnancy: Home and Diet Toxins and Preconception Planning. WebMD. (https://www.webmd.com/baby/features/head-start-on-a-healthy-pregnancy#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม