ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบ Palliative Care

เผยแพร่ครั้งแรก 12 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลแบบ Palliative Care

ปัจจุบันงาน Palliative Care ในประเทศไทยกําลังอยู่ในช่วงต้นของการพัฒนา โดยมีแนวโน้มที่ดีในการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ

เร่ิมมีการเรียนการสอนนักศึกษาแพทย์และแพทย์จบใหม่ให้มีความเข้าใจเรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบ Palliative Care มากขึ้น และเริ่มมีการพัฒนางานการดูแลผู้ป่วยแบบ Palliative Care ในทุกระดับ ตั้งแต่โรงพยาบาลใหญ่ไปจนถึงโรงพยาบาลชุมชน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเรื่องน้ียังเป็นเรื่องใหม่และยังมีข้อจํากัดเรื่องกําลังคน ทําให้ในหลายๆ โรงพยาบาลยังไม่มีการให้บริการอย่างเป็นทางการ

การที่ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลแบบ Palliative Care จึงยังขึ้นกับตัวผู้ป่วยเองและครอบครัวเป็นสําคัญ โดยสามารถเริ่มทําส่ิงต่างๆ ดังนี้

ทําความเข้าใจกับการดูแลแบบ Palliative Care

หากเราต้องกลายมาเป็นผู้ป่วยเองหรือมีคนในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรครักษาไม่หาย ความเข้าใจเรื่อง Palliative Care จะช่วยให้เรารู้ความต้องการของตัวเองหรือคนท่ีเรารักว่าต้องการแผนการรักษาแบบใด ต้องการได้รับการรักษาท่ีใด หรือต้องการทําอะไรหากมีเวลาเหลืออยู่จํากัด คนที่มีความเข้าใจและความรู้เรื่อง Palliative Care จะสามารถช่วยเหลือดูแลตนเอง ครอบครัว และเพื่อนฝูงได้มากเพราะมีความเข้าใจทั้งเรื่องการสื่อสารที่เหมาะสมและการดูแลอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พูดคุยเรื่องความต้องการของตนเองให้คนในครอบครัวฟัง

แม้ว่าการพูดคุยเรื่องความตายอาจจะเป็นเรื่องท่ีหลายๆ ครอบครัวถือเป็นเรื่องไม่ดีหรือเป็นลางบอกเหตุ แต่การมีโอกาสพูดคุยถึงเรื่องน้ีจะทําให้คนในครอบครัวเข้าใจความต้องการซึ่งกันและกันได้ดีขึ้น อาจเลือกใช้โอกาสในขณะที่ไปเยี่ยมผู้ป่วย หรือในกรณีที่มีข่าวเรื่องการรักษาผู้ป่วยในการพูดคุยเรื่องนี้กัน เช่น ถ้าเป็นเรา เราจะเลือกทําอย่างไรในกรณีดังกล่าว

ใช้ชีวิตอย่างมีความหมายเหมือนทุกวันเป็นวันสุดท้ายของเรา

ส่ิงสําคัญท่ีเป็นปัจจัยให้ผู้ป่วยเกิดภาวะ "ตายดี" ได้แก่ การ ไม่มีสิ่งติดค้างก่อนเสียชีวิต ผู้ป่วยหลายคนยังทําใจให้ยอมรับได้ยากว่าตัวเองเหลือเวลาจํากัด เพราะรู้สึกว่ายังมีอีกหลายส่ิงหลายอย่างที่ ยังไม่ได้ทํา หรือยังมีปัญหาความขัดแย้งกับคนในครอบครัวท่ียังไม่ได้ รับการแก้ไข การได้วางแผนล่วงหน้าให้มีโอกาสทําสิ่งที่ติดค้างให้ลุล่วงหรือทําความฝันที่อยากทําให้เป็นจริงจึงเป็นปัจจัยสําคัญให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ

ลองพูดคุยกับแพทย์ผู้ดูแลถึงเป้าหมายการรักษา

โดยผู้ป่วยอาจเป็นคนถามแพทย์ได้โดยตรงหรือคนในครอบครัวอาจเป็นคนถามแทน อย่าลืมว่าคนทุกคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน การตัดสินใจทั้งหมดจึงควรขึ้นอยู่กับสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการเป็นสําคัญ อย่าให้ใครคนใดคนหนึ่งเป็นคนตัดสินใจหากสิ่งนั้นอาจไม่ตรงตามความต้องการของผู้ป่วย

ที่มา: ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก หมอเป้ พญ.ดาริน จตุรภัทรพร
ผู้แต่งหนังสือ  สุข รัก เข้าใจ ในช่วงสุดท้ายของชีวิต | Facebook Page: รักก่อนกำเนิด เกิดก่อนกำหนด | @Lynlanara


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
healthline.com, Palliative Care (https://www.healthline.com/health/palliative-care), January 9, 2020

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)