โรคมะเร็งปอด สามารถป้องกันได้ ด้วยการลดความเสี่ยง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคมะเร็งปอด สามารถป้องกันได้ ด้วยการลดความเสี่ยง

ในประเทศไทยมะเร็งปอดเป็นโรคที่พบมาก และเป็นสาเหตุของการตายในอันดับต้น ทั้งในเพศชาย และหญิง เมื่อโรคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในเพศหญิง ผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนใหญ่ (80-90%) เกิดจากการสูบบุหรี่จึงสามารถป้องกันได้ ธรรมชาติทางชีววิทยาของมะเร็งปอดทำให้เราพบผู้ป่วย เมื่อเริ่มมีอาการในขณะที่โรคอยู่ในระยะลุกลาม และแพร่กระจาย เป็นผู้ให้ผู้ป่วยประมาณ 90% เสียชีวิตจากโรคมะเร็งภายในระยะเวลา 1-2 ปี

ควันบุหรี่มือสองอันตรายไหม?

ผู้ที่สูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่นจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 26% สาเหตุของมะเร็งปอดเกิดจากสารก่อมะเร็งชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารที่ได้รับจากการสูบบุหรี่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง เป็นเวลานาน 20 ปี จะมีโอกาสเป็นมากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ 6-7 เท่า การเลิกบุหรี่สามารถลดโอกาสที่จะเกิดมะเร็งให้น้อยลงได้ ถึงแม้จะไม่น้อยลงเท่าคนไม่สูบบุหรี่ก็ตาม

 สูบบุหรี่เยอะแค่ไหนถึงเป็นมะเร็งปอด?

มะเร็งปอดพบมากในคนอายุ 50-75 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่ (80%) จะเป็นผู้ที่สูบบุหรี่ และประมาณ 5% จะเป็นผู้ที่ต้องสูดดมควันบุหรี่จากผู้อื่น

จำนวนมวนของบุหรี่ที่สูบต่อวัน และชนิดของบุหรี่ที่สูบสัมพันธ์กับอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด ผู้ที่สูบบุหรี่ 10-13% จะเกิดมะเร็งปอดภายในระยะเวลา 30-40 ปี 

อย่างไรก็ตามถ้าเลิกสูบบุหรี่ก็สามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด ลงเหลือเท่าผู้ไม่สูบบุหรี่ได้ภายในระยะเวลา 10-15 ปี ผู้ที่สูบบุหรี่ และเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด 

สารก่อมะเร็งที่อาจเป็นสาเหตุของโรคในผู้ป่วย 10-15% ซึ่งไม่สูบบุหรี่ ได้แก่ แอสเบสตอส (ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ทำงานในโรงงานผลิตผ้าเบรกรถยนต์ เป็นต้น) โดยเฉพาะถ้าผู้นั้นสูบบุหรี่ด้วยจะยิ่งเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูงถึง 50 เท่า สารก่อมะเร็งอื่น ๆ ได้แก่ แร่เรดอน มลภาวะในอากาศจากอุตสาหกรรมโลหะหนัก ควันมลภาวะในสิ่งแวดล้อม การฉายรังสีเพื่อรักษา

มะเร็งชนิดอื่นจะลามมาเป็นมะเร็งปอดไหม?

มะเร็งชนิดอื่นก็อาจเพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งปอดได้ โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ร่วมด้วย นอกจากนี้ปัจจัยทางพันธุกรรมก็อาจมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย มะเร็งปอดเป็นโรคที่ตรวจค้นหาในระยะเริ่มแรกได้ยาก 

การนำผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง (ผู้ชายสูบบุหรี่อายุเกิน 40 ปี) มาตรวจเสมหะ และเอกซเรย์ปอด เพื่อพยายามจะลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง พบว่าสามารถพบผู้ป่วยมะเร็งในระยะเริ่มแรกมากขึ้น แต่ไม่สามารถลดอัตราการตายลงได้ 

จากการนี้เชื่อว่ามะเร็งปอดแม้จะมีขนาดเล็กก็พบการแพร่กระจายได้สูง มะเร็งปอดมักจะเริ่มมีอาการเมื่อโรคลุกลามมากแล้ว อาการที่พบ ได้แก่ อาการไอ หายใจลำบาก ไอเป็นเลือด ปอดอักเสบบ่อยและเจ็บลึกที่หน้าอก หายใจลำบากจากน้ำท่วมปอด เป็นต้น นอกจากนี้อาจมีอาการเนื่องจากมะเร็งลุกลามหรือแพร่กระจาย เช่น เสียงแหบ อาการทางสมอง ปวดกระดูก เป็นต้น



5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lung cancer - Prevention. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/lung-cancer/prevention/)
10 Tips for Lung Cancer Prevention. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/tips-for-lung-cancer-prevention-2249286)
Superfoods That Lower Lung Cancer Risk. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/superfoods-to-lower-lung-cancer-risk-2249269)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)