7 วิธีการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน อย่างถูกต้อง และปลอดภัย

แนะนำวิธีดูแลเท้าที่เหมาะสมและปลอดภัย เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานมีสุขภาพดี ลดความเสี่ยงที่จะสูญเสียเท้า
เผยแพร่ครั้งแรก 22 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
7 วิธีการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน อย่างถูกต้อง และปลอดภัย

ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักได้รับคำเตือนจากแพทย์ว่าต้องดูแลเท้าไม่ให้บาดเจ็บหรือติดเชื้อ เพราะการบาดเจ็บใดๆ อาจถึงขั้นทำให้ผู้ป่วยเบาหวานถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Diabetes Association (ADA)) ระบุว่า ปัญหาที่เกี่ยวกับเท้าถือเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วย พิการ และเสียชีวิตในผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ซึ่ง ADA ได้แนะนำวิธีดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานไว้ ดังนี้

1. สำรวจฝ่าเท้าทุกวัน

การดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน ควรเริ่มตั้งแต่การสำรวจความผิดปกติอย่างสม่ำเสมอ แม้จะยังไม่รู้สึกเจ็บที่ฝ่าเท้าเลย โดยควรตรวจว่าเกิดรอยแผลจากของมีคม มีแผลเปื่อย บวม มีจุดสีแดง หรือเล็บเท้าติดเชื้อหรือไม่ สำหรับผู้ที่ไม่สามารถโน้มตัวเพื่อดูเท้าของตัวเองได้ และไม่สามารถยกเท้าขึ้นมาดูได้ ให้นำกระจกมาช่วย หรือจะขอให้คนในครอบครัวช่วยดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานให้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจเบาหวานวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 83%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ล้างฝ่าเท้าให้สะอาดจนทั่ว

ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรล้างเท้าด้วยน้ำอุ่นทุกวัน หลังจากล้างเท้าแล้ว ให้เช็ดฝ่าเท้าจนแห้ง และใช้แป้งข้าวโพด หรือแป้งทัลคัมทาระหว่างนิ้วเท้าเพื่อให้มั่นใจว่าผิวแห้งสนิท ดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยการหลีกเลี่ยงการแช่เท้าในน้ำอุ่นนานๆ เพราะอาจทำให้ผิวแห้ง ซึ่งจะทำให้เกิดแผลที่เท้าได้ง่ายขึ้น

3. เพิ่มความชุ่มชื้นให้ฝ่าเท้า

หลังจากทำความสะอาดฝ่าเท้าแล้ว อย่าลืมทาโลชั่น ครีม หรือปิโตรเลียมเจลลีที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์ที่ฝ่าเท้าเพื่อรักษาผิวให้เนียนนุ่ม และชุ่มชื้น ควรทาผลิตภัณฑ์เหล่านี้บริเวณด้านบนและด้านล่างของฝ่าเท้าทุกครั้ง เพื่อดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

4. ตัดเล็บ

ดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญ คือการตัดเล็บ โดยช่วงเวลาที่เหมาะแก่การตัดเล็บมากที่สุดคือหลังจากอาบน้ำ เพราะเล็บจะเปียกและนุ่มกว่าปกติ และวิธีการตัดเล็บที่ดีที่สุดคือตัดให้เป็นแนวตรง และหลีกเลี่ยงการตัดเล็บที่มุมเล็บเท้า เพื่อป้องกันการเกิดเล็บขบ หลังจากที่ตัดเล็บเสร็จแล้ว ให้ลดความแหลมคมของมุมเล็บด้วยการใช้ตะไบขัดตามที่ต้องการ 

5. ใส่รองเท้าที่เหมาะและพอดีกับเท้า

ผู้ป่วยเบาหวานควรใส่รองเท้าเพื่อปกป้องฝ่าเท้าตลอดเวลาที่อยู่ในบ้านและนอกบ้าน รวมถึงควรใส่ถุงเท้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลหรือแผลพุพอง หรือดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานด้วยการให้สวมรองเท้าเพื่อสุขภาพ ที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ เช่น พื้นรองเท้าไม่นิ่มหรือไม่แข็งจนเกินไป บริเวณหัวรองเท้าต้องไม่บีบรัดนิ้วเท้า และภายในรองเท้าต้องสามารถระบายอากาศได้ตลอดเวลา หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง เพราะอาจทำให้เกิดแรงกดที่ส้นเท้า และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับเท้าได้

อ่านเพิ่มเติม: วิธีเลือกรองเท้าเพื่อสุขภาพ 

6.ทำให้เลือดไหลเวียน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรปล่อยให้มีสิ่งใดมากีดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังฝ่าเท้า ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใส่ถุงเท้าที่รัดแน่น หรือถุงเท้าที่มียางยืดรัดรอบขา รวมถึงไม่ควรนั่งไขว่ห้างและยกขาสูงขณะนั่ง ผู้ช่วยดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานอาจต้องคอยเตือนให้ผู้ป่วยพยายามเคลื่อนไหวข้อเท้าไปมา หรือกระดิกนิ้วเท้าต่อเนื่องประมาณ 5 นาที จำนวน 2-3 ครั้งต่อวัน หากผู้ป่วยเบาหวานนั้นยังสูบบุหรี่ ควรเลิกสูบโดยเร็วที่สุด เพราะสารพิษในบุหรี่จะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และทำให้ออกซิเจนในเลือดน้อยลง ซึ่งอาจทำให้เลือดไหลลงมาเลี้ยงฝ่าเท้าไม่พอ

อ่านเพิ่มเติม: โทษของบุหรี่ และวิธีเลิกบุหรี่

7.ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นวิธีกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น และช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น หากผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่เคยออกกำลังกายมาก่อน อาจดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานง่ายๆ โดยให้เริ่มจากการเดินหรือวิ่งเหยาะๆ ประมาณ 15 นาที อย่าลืมสวมรองเท้าสำหรับเล่นกีฬาโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการดูแลเท้าผู้ป่วยเบาหวานอย่างครบถ้วน ครอบคลุม และควรระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุจากการออกกำลังกาย หากเกิดอาการบาดเจ็บขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
American Diabetes Association, Foot Care (http://www.diabetes.org/living...), 10 October 2014

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)