กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การทดสอบการตั้งครรภ์ที่มีผลบวกหลังภาวะแท้งบุตร

หลังภาวะแท้งบุตร ระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรถ์อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะลดต่ำลงจนเหลือศูนย์
เผยแพร่ครั้งแรก 26 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การทดสอบการตั้งครรภ์ที่มีผลบวกหลังภาวะแท้งบุตร

หลังภาวะแท้งบุตร ทำไมผลการทดสอบการตั้งครรภ์ถึงยังออกมาเป็นบวก? ถึงแม้ว่าผลจะเป็นบวกก็ไม่ได้หมายความว่าการวินิจฉัยภาวะแท้งบุตรของคุณผิดพลาด

ผลการทดสอบการตั้งครรภ์ที่เป็นบวกหลังการแท้งบุตร

การทดสอบการตั้งครรภ์ทำงานโดยวัดระดับของฮอร์โมน human chorionic gonadotropinin (hCG) ในปัสสาวะ โดยปกติแล้ว ฮอร์โมน hCG จะไม่อยู่ในร่างกายช่วงปกตินอกจากช่วงตั้งครรภ์ ดังนั้น การตรวจพบฮอร์โมนนี้ในปัสสะวะก็สามารถสรุปได้ว่าคุณได้ตั้งครรภ์แล้ว แต่ว่าเมื่อคุณมีภาวะแท้งบุตร ฮอร์โมนตัวนี้จะไม่หายไปจากร่างกายคุณทันที ระดับของฮอร์โมนตัวนี้จะลดลงเหลือศูนย์ในระยะเวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณได้ตั้งครรภ์มานานแค่ไหนแล้วก่อนการแท้งบุตร

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ชุดตรวจการตั้งครรภ์ในปัจจุบันสามารถตรวจพบฮอร์โมน hCG แม้จะอยู่ในระดับที่ต่ำมากก็ตาม ดังนั้น การตรวจภาวะตั้งครรภ์เพียงไม่กี่วันหรือไม่กี่สัปดาห์หลังภาวะแท้งบุตรก็อาจจะแสดงผลบวกได้ และคุณอาจยังมีอาการของภาวะตั้งครรภ์อยู่ถึงแม้ว่าจะมั่นใจ 100% ว่าแท้งบุตรไปแล้ว ฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการตั้งครรภ์จะใช้เวลาโดยเฉลี่ย 19 วันกว่าจะหายไปจากร่างกายคุณ

ตัวเลขนี้อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับว่าระดับฮอร์โมนฮอร์โมน hCG ในร่างกายคุณสูงแค่ไหนก่อนภาวะแท้งบุตร หากคุณแท้งบุตรตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ไข่จะฝังตัว (chemical pregnancy) ก็อาจใช้เวลาประมาณหนึ่งสัปดาห์กว่าฮอร์โมนฮอร์โมน hCG จะหายไป หากคุณแท้งบุตรหลังจากตั้งครรภ์ได้นานกว่านี้ก็อาจใช้เวลาเป็นเดือน

ภาวะแท้งบุตรที่ไม่สมบูรณ์

หากเวลาผ่านมาแล้วหลายสัปดาห์หลังมีการแท้งบุตรแต่คุณยังมีผลตรวจตั้งครรภ์เป็นบวกอยู่ คุณควรจะไปปรึกษาแพทย์แพทย์อาจจะขอตรวจระดับฮอร์โมน hCG ในเลือดแทนในปัสสาวะ หากระดับฮอร์โมน hCG ไม่ลดลงเหลือศูนย์ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม อาจเป็นไปได้ว่าอาจจะยังมีเนื้อเยื่อของการตั้งครรภ์ในมดลูกของคุณลงเหลืออยู่ ถึงแม้ว่าจะมีการแท้งบุตรจริงๆ อาการนี้เรียกว่า ภาวะแท้งบุตรไม่สมบูรณ์ (Incomplete Miscarriage) ซึ่งไม่ได้หมายความว่าคุณมีการตั้งครรภ์

คุณอาจจะต้องเข้าผ่าตัดโดยใช้เทคนิคการขูดมดลูกและขูดมดลูกแยกส่วน (Dilatation and Curettage หรือ D&C) เพื่อที่จะเอาเนื้อเยื่อที่หลงเหลืออยู่จากการตั้งครรภ์ออกมา ซึ่งก็มักจะเป็นส่วนเล็กๆ ของรก (placenta) ร่างกายของคุณสามารถขับหรือกำจัดเนื้อเยื่อพวกนี้เองได้ แต่การผ่าตัดจะหยุดการตกเลือดที่หนักมาก การตกเลือดเป็นอาการที่พบบ่อยเมื่อมีการแท้งบุตรไม่สมบูรณ์

คุณสามารถตั้งครรภ์ได้อีกครั้งหรือไม่?

หลังการแท้งบุตร หากคุณได้มีเพศสัมพันธ์และผลตรวจการตั้งครรภ์เป็นผลบวก ก็อาจเป็นไปได้ว่าคุณได้ตั้งครรภ์อีกครั้งแล้ว คุณควรจะไปปรึกษาแพทย์เพื่อยืนยัน ผู้หญิงหลายคนอาจจะไม่รู้ว่าสามารถตั้งครรภ์ได้ภายในหนึ่งเดือนหลังการแท้งบุตร หากคุณไม่อยากตั้งครรภ์เร็วขนาดนั้นหลังการแท้งบุตร คุณควรใช้วิธีคุมกำเนิดต่างๆ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์จนกว่าคุณจะพร้อมอีกครั้ง


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
babycenter.com, Positive Pregnancy Test After Preterm Birth (https://www.babycenter.com/0_preterm-labor-test-fetal-fibronectin_1511.bc)
ncbi.nlm.nih.gov, Positive Pregnancy Test After Preterm Birth (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC117763/)
mayoclinic.org, Positive Pregnancy Test After Preterm Birth (https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/fetal-fibronectin/about/pac-20384676)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม