ภาวะรกเกาะต่ำ เกิดขึ้นเมื่อรกบางส่วนหรือทั้งหมดเกาะคลุมมาที่ปากมดลูก ซึ่งเป็นรูเปิดของมดลูกที่ทารกจะเคลื่อนตัวจากมดลูกมาที่ปากมดลูกเพื่อคลอด และโดยปกติรกจะเกาะตัวอยู่ที่ด้านบนของมดลูก ซึ่งเป็นบริเวณที่ห่างจากปากมดลูก
รก คืออวัยวะหนึ่งที่เติบโตขึ้นภายในมดลูกระหว่างการตั้งครรภ์ โดยจะเชื่อมต่อกับสายสะดือและเป็นทางในการขนส่งออกซิเจนและสารอาหารจากคุณไปยังทารกในครรภ์ และยังเป็นช่องทางในการกำจัดของเสียจากตัวทารกในครรภ์ด้วย
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สิ่งที่จะเกิดขึ้นหากมีภาวะรกเกาะต่ำ
เมื่อปากมดลูกเปิดขณะคลอด จะทำให้เส้นเลือดที่เชื่อมระหว่างรกกับมดลูกฉีดขาด ทำให้เกิดเลือดออกและทำให้คุณและทารกในความเสี่ยง หญิงตั้งครรภ์เกือบทุกรายที่มีภาวะรกเกาะต่ำจะต้องได้รับการผ่าตัดคลอดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะดังกล่าวเกิดขึ้น
ใครบ้างที่มีความเสี่ยง
ภาวะรกเกาะต่ำพบได้ประมาณ 1 รายต่อหญิงตั้งครรภ์ 200 ราย โดยคุณอาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะรกเกาะต่ำได้มากขึ้น ถ้า:
- สูบบุหรี่ หรือใช้โคเคน
- อายุ 35 ปีขึ้นไป
- เคยตั้งครรภ์มาก่อน
- เคยได้รับการผ่าตัดคลอดมาก่อน
- เคยได้รับการผ่าตัดอื่นๆ ที่มดลูกมาก่อน
- ตั้งครรภ์แฝด (ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป)
อาการมีอะไรบ้าง
มีความเป็นไปได้ที่คุณจะไม่รู้ตัวเลยว่ากำลังมีภาวะรกเกาะต่ำ จนกว่าแพทย์จะตรวจพบระหว่างการตรวจอัลตราซาวด์
อาการเตือนที่พบบ่อยที่สุดคือ มีเลือดสีแดงสดไหลออกจากช่องคลอดในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจพบได้ในปริมาณน้อยจนถึงปริมาณมาก และมักไม่มีอาการปวด แต่ผู้หญิงบางรายอาจมีอาการหดตัวร่วมกับมีเลือดออก
เมื่อไรควรไปพบแพทย์
ให้รีบไปพบแพทย์เมื่อคุณมีเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงไตรมาสที่ 2 หรือไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะถ้ามีอาการรุนแรงต้องไปรีบโดยด่วน