ทำโฟโน (Phono) ยกกระชับผิว ลดรอยเหี่ยวย่น คืออะไร ดีไหมอันตรายหรือเปล่า ราคาเท่าไร?

การทำโฟโน (Phono) คือการยกกระชับผิวโดยใช้คลื่นเสียง ช่วยฟื้นฟูผิวหน้าให้กลับมาแลดูอ่อนเยาว์อีกครั้ง
เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ทำโฟโน (Phono) ยกกระชับผิว ลดรอยเหี่ยวย่น คืออะไร ดีไหมอันตรายหรือเปล่า ราคาเท่าไร?

เมื่ออายุมากขึ้น ผิวหน้าของคุณย่อมมีริ้วรอย หมองคล้ำ ไม่ตึงกระชับ เรียบเนียน เหมือนเมื่อก่อน จึงมีนวัตกรรมด้านความงามเกิดขึ้นมากมายให้คุณได้เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ครีมบำรุงผิว การฉีดสารเติมเต็มให้ผิว หรือการทำทรีตเมนต์ต่างๆ

หนึ่งในนวัตกรรมที่น่าสนใจคือ การทำโฟโน (Phono) ยกกระชับผิวให้แลดูอ่อนเยาว์ ทำโฟโน (Phono) คืออะไร ดีไหมอันตรายหรือเปล่า ราคาเท่าไร HD มีคำตอบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
เลเซอร์หน้าแก้ปัญหาผิววันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 96 บาท ลดสูงสุด 99%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การทำโฟโน (Phono) คืออะไร?

โฟโนโฟเรซิส (Phonophoresis) หรือที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า โฟโน (Phono) เป็นนวัตกรรมการฟื้นฟูผิวโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง 0.8-1 เมกะเฮิรตซ์ ส่งผ่านเครื่องมือขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายเครื่องนวด (ผลิตจากสแตนเลส ด้านในบรรจุคริสตัล ซึ่งวัสดุทั้งสองชนิดนี้จะไม่ทำปฏิกิริยาต่อผิว ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้) นวดบริเวณผิวหนัง

เชื่อกันว่าเครื่องมือนี้จะมีหน้าที่ช่วยผลักยาหรือวิตามินให้แทรกซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ในปริมาณที่มากกว่าและเร็วกว่าการทาครีมทั่วไป โดยยาหรือวิตามินที่นิยมนำมาใช้ในการรักษาส่วนใหญ่จะเป็นกรดวิตามินเอ วิตามินซี สารให้ความชุ่มชื่น และ สารต้านอนุมูลอิสระ

นอกจากจะทำหน้าที่ช่วยผลักยาหรือวิตามินให้เข้าสู่ผิวได้มีประสิทธิภาพขึ้นแล้ว คลื่นเสียงยังทำให้เนื้อเยื่อชั้นลึกเกิดความร้อน ส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนในระดับเซลล์ผิว เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต และเพิ่มการขับของเสียออกจากเซลล์ผ่านระบบน้ำเหลือง

การทำโฟโน (Phono) เหมาะกับใคร ช่วยรักษาปัญหาผิวแบบใดได้บ้าง?

การทำโฟโน เหมาะสำหรับผู้ที่มีปัญหาผิวหย่อนคล้อย มีริ้วรอย ร่องลึก ผิวไม่เรียบตึง มีรอยด่างดำจากสิว ริ้วรอยรอบดวงตา รอยคล้ำใต้ตา รวมถึงช่วยลดบวมบริเวณถุงใต้ตาได้อีกด้วย

การทำโฟโน (Phono) อันตรายไหม ช่วยฟื้นฟูผิวได้จริงหรือเปล่า?

หลายคนอาจกังวลว่า การใช้คลื่นเสียงความถี่สูงกับผิวหน้าจะก่อให้เกิดอันตราย จริงๆ แล้วนวัตกรรมนี้มีใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มเวชศาสตร์ฟื้นฟูเพื่อรักษาโรคกระดูก โรคกล้ามเนื้ออักเสบ หรือเส้นเอ็นอักเสบ ซึ่งได้ผลดี แล้วต่อมาจึงมีการปรับใช้กับด้านความงาม

อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังคือ ต้องใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะหากใช้ผิดวิธีก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้เข้ารับการรักษา เช่น หากใช้คลื่นเสียงความถี่สูงเกินไป หรือวางเครื่องมือที่จุดจุดเดียวนานเกินไป จะทำให้เซลล์หรือเนื้อเยื่อบริเวณนั้นเสียหายได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
เลเซอร์หน้าแก้ปัญหาผิววันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 96 บาท ลดสูงสุด 99%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

นอกจากนี้ยังห้ามทำโฟโนในเด็กเล็ก ผู้ที่ตั้งครรภ์ และห้ามทำบริเวณใกล้กับกระดูกสันหลัง

ทั้งนี้ แม้ว่าการทำโฟโนจะถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั้งในโรงพยาบาลและสถาบันเสริมความงาม แต่ก็ยังไม่มีงานวิจัยใดที่ออกมายืนยันหรือรองรับว่าการทำโฟโนจะมีผลช่วยผลักยาหรือวิตามินเข้าสู่ผิวหนังได้มากกว่าการทาครีมทั่วไป หรือช่วยฟื้นฟูผิวหน้าได้อย่างชัดเจน

ขั้นตอนทำโฟโน (Phono) เป็นอย่างไร?

การทำโฟโนนั้นเป็นกระบวนการที่ไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาประมาณ 30 นาที โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. เข้าพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจประเมินผิวหน้า
  2. ทำความสะอาดผิวหน้าเพื่อเตรียมความพร้อมสู่การทำโฟโน
  3. แพทย์จะทายาหรือวิตามินลงบนผิวหน้า ใต้ตา หรือบริเวณที่ต้องการฟื้นฟู
  4. แพทย์ใช้เครื่องมือนวดคลึงให้ทั่วใบหน้า คลื่นเสียงจากเครื่องมือจะสั่นสะเทือนเซลล์ผิว ทำให้ตัวยาและวิตามินซึมซาบสู่ผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ขั้นตอนดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล หรือตามคำแนะนำของแพทย์

ทำโฟโน (Phono) ครั้งเดียวแล้วเห็นผลเลยหรือไม่?

หลังจากทำโฟโน (Phono) ครั้งแรก อาจยังไม่เห็นผลที่ชัดเจนนัก สถานพยาบาลหรือสถาบันเสริมความงามส่วนใหญ่จะแนะนำให้ทำโฟโน 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ติดต่อกันประมาณ 4 สัปดาห์จึงจะเห็นผล

การดูแลตัวเองหลังการทำโฟโน (Phono)

หลังจากทำโฟโน (Phono) คุณควรดูแลตนเองตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดดังนี้ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
เลเซอร์หน้าแก้ปัญหาผิววันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 96 บาท ลดสูงสุด 99%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • 24 ชั่วโมงหลังการทำโฟโน (Phono) ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด หากจำเป็นต้องอยู่กลางแจ้งควรสวมหมวก แว่นกันแดด หรือกางร่ม
  • ทาครีมบำรุงผิวและครีมกันแดด SPF 30 PA+++ ขึ้นไป
  • รับประทานผักหรือผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงผิวพรรณ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีสีเหลืองแดง เช่น มะละกอ แอปเปิล
  • ดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผิวกระชับ เปล่งประกายจากภายใน

ไอออนโต (Ionto) กับ โฟโน (Phono) ต่างกันอย่างไร?

หลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า ไออนโตโฟเรซิส (Iontophoresis) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ไอออนโต ช่วยยกกระชับผิวหน้า ลดริ้วรอย ฟื้นฟูผิวให้เต่งตึงแลดูอ่อนเยาว์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คล้ายคลึงกับการทำโฟโน จึงอาจสับสนว่าทั้งสองนวัตกรรมนี้แตกต่างกันอย่างไร

จริงๆ แล้วไอออนโตกับโฟโนมีวัตถุประสงค์เหมือนกันคือการช่วยฟื้นฟูผิว หลักการทำงานก็คล้ายกัน คือ ใช้เครื่องมือส่งแรงสั่นสะเทือนไปสู่ผิว เพื่อให้ตัวยาหรือวิตามินซึมสู่ผิวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์ที่หมือนกันของไอออนโตกับโฟโนคือ ช่วยลดเลือนริ้วรอย รอยดำจากสิว ช่วยให้ผิวเรียบเนียนยิ่งขึ้น แต่จุดที่แตกต่างกันคือ ไอออนโตจะเป็นการใช้กระแสไฟฟ้าปริมาณต่ำเป็นตัวผลักยาหรือวิตามินเข้าสู่เซลล์ผิวหนัง โดยประจุไฟฟ้าที่ใช้จะมีผลช่วยให้รูขุมขนโดยเฉพาะบนใบหน้าเปิดกว้างมากขึ้น ทำให้ตัวยาแทรกซึมได้มากขึ้น ขณะที่โฟโนจะเป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงดังที่กล่าวไปแล้ว

ค่าใช้จ่ายในการทำโฟโน (Phono)

การทำโฟโน (Phono) ถือเป็นการทำทรีตเมนต์ผิวที่ราคาไม่สูงนัก โดยเริ่มต้นที่ครั้งละ 600 บาท แต่ค่าใช้จ่ายดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงตามความต้องการและสภาพผิวของแต่ละบุคคล รวมไปถึงค่าบริการทางการแพทย์ของแต่ละโรงพยาบาลหรือคลินิก

การทำโฟโน (Phono) แม้จะเป็นนวัตกรรมที่นิยมทำกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็มีข้อจำกัดหรือข้อควรระวังหลายประการ รวมทั้งยังไม่มีการการันตีผลลัพธ์ที่แน่ชัด ดังนั้นหากต้องการทำโฟโนควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด รวมทั้งเลือกทำกับสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา จึงจะปลอดภัยที่สุด


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ, ไอออนโต-โฟโน, (http://www.bangkokhealth.com/health/article/ไอออนโต-โฟโน-1655) 16 กุมภาพันธ์ 2557.
โรงพยาบาลยันฮี, Phono – ลดริ้วรอยเหี่ยวย่น, (https://th.yanhee.net/หัตถการ/phono/).
Pione, การทำ ไออนโตฟอรีซิส กับ โฟโนโซเรซิส แตกต่างกันอย่างไร ?, (https://pione.co.th/ipl-solutions/iontophoresis-and-phonophoresis/), 2 มิถุนายน 2560.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)