มะเร็งองคชาต(Penile cancer) คือ มะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้น้อย ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในชายอายุ 65 ปีขึ้นไป
มะเร็งองคชาต (penile cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดกับผิวหนังที่ห่อหุ้มอวัยวะเพศชาย (องคชาต) หรือเกิดขึ้นภายในอวัยวะเพศชาย ในประเทศสหราชอาณาจักร พบผู้ป่วยใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยมะเร็งชนิดนี้ประมาณ 550 คนต่อปี
ตรวจมะเร็งสำหรับผู้ชายวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งอวัยวะเพศชายพบมากขึ้นกว่า 20% ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมในการมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัย การระบุระยะของโรค และการรักษาที่มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นช่วยลดจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งองคชาตได้ โดยเชื่อว่าเกิดจากผู้คนรู้จักดูแลสุขอนามัยของตนเองและอวัยวะเพศชายได้ดีขึ้น
อาการและอาการแสดงของมะเร็งองคชาต
ลักษณะอาการมะเร็งองคชาต สามารถพบได้หลากหลายรูปแบบ โดยส่วนมากมักมาพบแพทย์ด้วยรอยโรคบนผิวหนัง ได้แก่
- มีก้อน หรือมีแผล เกิดขึ้นที่อวัยวะเพศชาย แล้วไม่หายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ อาจเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้
- มีเลือดออกจากอวัยวะเพศชาย หรือ จากหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (foreskin)
- มีหนองไหล และมีกลิ่นเหม็น
- ผิวหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายหนาตัว ทำให้ดึงกลับได้ยาก หรือเกิดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตีบ(phimosis)
- มีการเปลี่ยนแปลงของสีผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศชายหรือหนังหุ้มปลาย
- มีผื่นขึ้นที่อวัยวะเพศชาย
หากคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้น เป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องเข้าพบแพทย์ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แม้ว่าอาการที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้เกิดจากมะเร็งอวัยวะเพศชาย แต่ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย
การไปรับการตรวจวินิจฉัยที่ช้าออกไปจะยิ่งลดโอกาสในการรักษาที่ประสบความสำเร็จ
ชนิดของมะเร็งองคชาต
โครงสร้างของอวัยวะเพศชาย ประกอบด้วยเนื้อเยื่อหลายชนิดที่แตกต่างกัน ซึ่งชนิดของมะเร็งอวัยวะเพศชายจะขึ้นกับชนิดของเซลล์ที่เป็นมะเร็ง
ชนิดของมะเร็งอวัยวะเพศชายที่พบบ่อย ได้แก่
ตรวจมะเร็งทั่วไปวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 340 บาท ลดสูงสุด 64%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
- มะเร็งอวัยวะเพศชายที่เกิดกับเซลล์สความัส (squamous cell penile cancer) พบได้มากกว่า 90% ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งเกิดขึ้นกับเซลล์เยื่อบุผิวของอวัยวะเพศชาย
- มะเร็งชนิด carcinoma in situ (CIS) คือ มะเร็งชนิดที่เกิดกับเซลล์สความัสชนิดหนึ่ง แต่เกิดเฉพาะกับเซลล์ที่ผิวหนังของอวัยวะเพศชายและไม่แพร่กระจายไปในส่วนที่ลึกลงไป
- มะเร็งชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (adenocarcinoma) คือ มะเร็งที่เกิดขึ้นกับ glandular cells ของอวัยวะเพศชาย ที่ทำหน้าที่ผลิตเหงื่อ
- มะเร็งเมลาโนมาที่อวัยวะเพศชาย (melanoma of the penis) คือ มะเร็งเกิดขึ้นที่เซลล์ผิวหนังที่กำหนดสีของผิวหนัง
อะไรคือสาเหตุของมะเร็งองคชาต?
สาเหตุของมะเร็งองคชาต ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งชนิดนี้ ได้แก่
- ผู้ชายที่ติดเชื้อ human papilloma virus (HPV) หรือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV จะมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งอวัยวะเพศชายมากขึ้น
ข้อมูลจากการศึกษาพบว่าเกือบ 5 ใน 10 คน (47%) ของผู้ป่วยมะเร็งอวัยวะเพศชายจะมีการติดเชื้อเอชพีวีอยู่
- อายุ คือ หนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งอวัยวะเพศชาย โดยโรคนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะพบในผู้ชายอายุมากกว่า 60 ปี
- การสูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์กับมะเร็งอวัยวะเพศชาย โดยสารเคมีที่พบในบุหรี่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์อวัยวะเพศชาย ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งองคชาต
- สภาวะโรคที่ส่งผลต่ออวัยวะเพศชาย เช่น หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตีบ จะทำให้หนังหุ้มปลายไม่สามารถดึงกลับได้ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น เช่น ทำให้เกิดการอักเสบของปลายอวัยวะเพศชาย (balantis)
- การติดเชื้อซ้ำๆ จะสัมพันธ์กับความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งอวัยวะเพศชายบางชนิดที่เพิ่มขึ้น เพราะจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง
- ไม่ได้ขลิบหนังหุ้มปลาย อีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดมะเร็งองคชาตได้ ซึ่งคาดว่าเกิดจากการระคายเคืองของ smegma และการมีสุขอนามัยที่ไม่ดี มีโอกาสเกิดมะเร็งองชาติได้มากขึ้นด้วย
การวินิจฉัยมะเร็งองคชาต
แพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับอาการของคุณรวมถึงประวัติทางการแพทย์ของคุณด้วย และตรวจอวัยวะเพศเพื่อดูอาการที่บ่งชี้การเป็นมะเร็งซึ่งมองเห็นได้ภายนอก
หากแพทย์สงสัยว่าคุณเป็นมะเร็งอวัยวะเพศชาย คุณจะได้รับการส่งต่อไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมักเป็นแพทย์สาขาระบบทางเดินปัสสาวะ (urologist) ที่เชี่ยวชาญในการรักษาโรคในระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะเพศ
อาจทำการตรวจเลือดเพื่อตรวจเช็คสภาวะสุขภาพโดยรวม และเพื่อตรวจวัดปริมาณเซลล์เม็ดเลือดในร่างกาย เพื่อยืนยันการวินิจฉัยมะเร็งอวัยวะเพศชาย และอาจจำเป็นต้องทำการตัดชิ้นเนื้อปริมาณเล็กน้อยไปตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์
ระยะของมะเร็งองคชาต
จำแนกโดยใช้ระบบของ Jackson Classification for carcinoma of penis
- ระยะที่ 1 : มะเร็งอยู่เฉพาะที่บริเวณผิวขององคชาติ
- ระยะที่ 2: มะเร็งเริ่มลุกลามไปบริเวณลำตัว(shaft) หรือ corpora
- ระยะที่ 3 : มะเร็งลุกลามไปบริเวณต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ ที่สามารถผ่าตัดออกได้
- ระยะที่ 4 : มะเร็งลุกลามไปบริเวณอวัยวะข้างเคียง ไม่สามารถผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบออกได้
การรักษามะเร็งองคชาต
การรักษามะเร็งองคชาตจะขึ้นกับขนาดของมะเร็ง และอัตราการแพร่กระจายของมะเร็ง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นมะเร็งชนิด carcinoma in situ (CIS) จะเกิดมะเร็งเฉพาะเซลล์ผิวหนังที่อวัยวะเพศเท่านั้น การรักษาจึงมักเป็นการใช้ยาเคมีบำบัดชนิดครีม หรือการผ่าตัดด้วยเลเซอร์ (laser surgery) เพื่อตัดผิวหนังที่เป็นมะเร็งออก และได้รับการปลูกถ่ายผิวหนังภายหลังการผ่าตัดแล้ว
การรักษาหลักสำหรับมะเร็งองคชาตที่ไม่ได้อยู่ในระยะเริ่มต้น ได้แก่
- การผ่าตัด
- การฉายรังสี (radiotherapy)
- การใช้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy)
การผ่าตัด ทำเพื่อตัดเอาเซลล์มะเร็งออก รวมถึงเนื้อเยื่อข้างเคียงบางส่วนด้วย
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ทำการผ่าตัดแล้ว จะมีความเปลี่ยนแปลงทางลักษณะภายนอกของอวัยวะเพศ สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเสริมสร้างอวัยวะเพศชายใหม่ (reconstructive surgery) โดยผิวหนังและกล้ามเนื้อที่นำมาผ่าตัดเสริมสร้าง สามารถนำมาจากส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เพื่อให้อวัยวะเพศชายกลับมาทำงานได้ตามปกติ
อย่างไรก็ตาม ด้วยการวินิจฉัยที่รวดเร็วตั้งแต่ระยะแรกๆ ของโรค และเทคนิคการผ่าตัดที่ทันสมัยจะช่วยให้ศัลยแพทย์รักษาเนื้อเยื่อของอวัยวะเพศชายไว้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ส่วนใหญ่ของการรักษามะเร็งอวัยวะเพศชาย ต่อมน้ำเหลือง (ต่อมขนาดเล็กซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน) ซึ่งอยู่ที่บริเวณขาหนีบจะได้รับการประเมินด้วยว่าเซลล์มะเร็งแพร่กระจายมาหรือไม่ ซึ่งอาจทำโดยเทคนิคการตัดชิ้นเนื้อ หรือทำการผ่าเอาต่อมน้ำเหลืองออก
เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ การพยากรณ์โรคของผู้ป่วยแต่ละคน จะขึ้นกับว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายไปมากน้อยเพียงใดขณะทำการวินิจฉัย
การป้องกันมะเร็งองคชาต
ไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะป้องกันมะเร็งอวัยวะเพศชายได้ 100% แต่คุณสามารถลดโอกาสในการเป็นมะเร็งชนิดนี้ได้ คือ
- การหยุดสูบบุหรี่ (ถ้าคุณ คือ ผู้ที่สูบบุหรี่)
- การรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศชายเป็นอย่างดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งอวัยวะเพศชาย
- การใช้ถุงยางอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี (HPV)
- ล้างอวัยวะเพศชายด้วยน้ำอุ่นเป็นประจำ รวมถึงด้านในของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายด้วย
- การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถทำได้ง่ายในวัยเด็ก ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาความสะอาดและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ
แต่ถ้าคุณยังไม่เคยขลิบมาก่อน ก็สามารถขลิบตอนโตได้เช่นกัน
มีหลักฐานน้อยมากที่บอกว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเมื่อเป็นผู้ใหญ่จะช่วยลดโอกาสในการเป็นมะเร็งอวัยวะเพศชาย อย่างไรก็ตามถ้าคุณมีแผลที่ไม่หาย หรือรู้สึกทำความสะอาดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศได้ลำบากขึ้น ให้ไปพบแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำในการขลิบหนังหุ้มปลาย
จะเห็นได้ว่า มะเร็งองคชาต ไม่ได้อยู่ไกลตัวคุณผู้ชายเลย แต่เราก็สามารถป้องกันตนเองได้ง่ายๆ ด้วยการดูแลความสะอาดอวัยวะเพศ สวมถุงยางอนามัยทุกครั้ง และหมั่นสังเกตอาการของตนเองว่ามีความผิดปกติอะไรหรือไม่ เพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที