ความหมายของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน
โรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (Patent ductus arteriosus: PDA) เป็นโรคหัวใจที่มักพบในเด็กทารกเป็นส่วนมาก โดยเกิดจากหลอดเลือดแดงชื่อ "ดักตัส อาร์เทอริโอซัส (Ductus Arteriosus)" ปิดไม่สนิทหลังจากเด็กคลอด
ในขณะที่เด็กยังอยู่ในครรภ์มารดา หลอดเลือดดังกล่าวจะคอยทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดของทารกในครรภ์ไหลเวียนไปยังปอดได้ เนื่องจากเลือดของทารกยังไม่จำเป็นต้องเข้าไปในปอดเพื่อรับออกซิเจน
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน
โดยปกติ "หลอดเลือดดักตัส อาร์เทอริโอซัส" ควรจะปิดสนิทไม่กี่วันหลังจากเด็กคลอด แต่กลับปิดไม่สนิท ทำให้ยังคงสภาพเป็นหลอดเลือดที่เกินมา เชื่อมระหว่าง "หลอดเลือดพัลโมนารี อาร์เทอรี (Pulmonary Artery)" และ "หลอดเลือดเอออร์ตา (Aorta)" เกิดเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน
โรคหลอดเลือดหัวใจเกินนี้มักพบในทารกที่คลอดก่อนกำหนด พบได้น้อยในทารกที่คลอดตามกำหนด และส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด นอกจากนี้บางคนอาจมีภาวะหรือโรคหัวใจที่ผิดปกติอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจเกิน
- การคลอดก่อนกำหนด
- ประวัติโรคทางพันธุกรรมในครอบครัว หรือโรคเส้นเลือดหัวใจเกินในครอบครัว
- ประวัติการติดเชื้อหัดเยอรมันในขณะตั้งครรภ์
- ทารกคลอดในพื้นที่ๆที่มีความสูง (เกิน 1048 เมตร หรือ 10000 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล)
- ทารกเพศหญิง
ผลกระทบกับจากโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน
โดยปกติแล้ว หัวใจห้องซ้ายจะสูบฉีดเลือดไปยังร่างกายเท่านั้น ในขณะที่หัวใจห้องขวาจะสูบฉีดเลือดไปยังปอดเพียงบริเวณเดียว
ทั้งนี้ เด็กที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน จะมีเลือดส่วนเกินที่ถูกสูบฉีดจากเส้นเลือดเอออร์ตาเข้าไปยังเส้นเลือดพัลโมนารี อาร์เทอรี ซึ่งหากหลอดเลือดหัวใจที่เกินมีขนาดใหญ่มาก เลือดส่วนเกินที่ถูกสูบฉีดเข้าไปจะทำให้หัวใจและปอดทำงานหนักขึ้น และอาจทำให้ปอดมีเลือดคั่งอยู่ภายใน
เด็กที่มีขนาดหลอดเลือดหัวใจเกินที่ใหญ่มากมักจะมีอาการหายใจเร็ว และหนักกว่าปกติ รวมถึงมีปัญหาเรื่องการกินนมและพัฒนาการในการเจริญเติบโต
ส่วนเด็กที่หลอดเลือดหัวใจเกินมีขนาดเล็ก ก็จะไม่เกิดอาการผิดปกติใดๆ เพราะหัวใจกับปอดไม่ได้ทำงานหนักขึ้น แต่หัวใจอาจส่งเสียงฟู่อย่างชัดเจน
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อย่างไรก็ตาม อาการของโรคดังกล่าวจะไม่ปรากฏจนกระทั่งผ่านไปหลายสัปดาห์หลังคลอด นอกจากนี้ ความดันโลหิตในหลอดเลือดภายในปอดของเด็กยังอาจสูงกว่าปกติ เพราะปอดต้องสูบฉีดเลือดมากขึ้น จึงอาจทำให้เกิดความเสียหายถาวรที่หลอดเลือดปอดเมื่อเวลาผ่านไป
วิธีรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน
สำหรับผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ที่มีหลอดเลือดหัวใจเกินขนาดเล็ก ก็ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดก็ได้ แต่เพียงแค่ตรวจเช็กอาการเพื่อความปลอดภัยเบื้องต้นก็พอ อีกทั้งหลอดหัวใจเกินที่มีขนาดเล็กส่วนมาก มักจะปิดไปเองภายในไม่กี่เดือนหลังเด็กเกิด
แต่ในกรณีที่แพทย์ต้องปิดช่องของหลอดเลือดหัวใจจริงๆ ก็จะทำการรักษาโดยสอด "สายสวน (Catheters)" เข้าไปในหลอดเลือดบริเวณขา เพื่อไปถึงหัวใจและหลอดเลือดหัวใจที่เกิน จากนั้นจะมีการใส่ขดลวดที่เรียกว่า "คอยล์ (Coil)" หรืออุปกรณ์อื่นๆ ผ่านทางสายสวนเพื่อปิดช่อง
ส่วนในกรณีที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด แพทย์จะกระทำการผ่าบริเวณด้านซ้ายของหน้าอกระหว่างซี่โครง และจะเย็บปิดหลอดเลือดดักตัส อาร์เทอริโอซัสให้เรียบร้อย หรืออาจเป็นการรักษาโดยใส่คลิปโลหะขนาดเล็กรอบๆ หลอดเลือดแบบถาวรเพื่อให้ช่องหลอดเลือดปิด
หากผู้ป่วยไม่มีความบกพร่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับหัวใจอีก การรักษาทั้ง 2 แบบนี้ก็จะช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดกลับมาเป็นปกติได้
นอกจากนี้ การรับประทานยาก็สามารถช่วยให้หลอดเลือดดักตัส อาร์เทอริโอซัสของทารกที่คลอดก่อนกำหนดปิดได้ แต่หากวิธีนี้รักษาไม่ได้ผลในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังจากที่ทารกเกิด แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดเข้ามาช่วยรักษา
ตรวจหัวใจและหลอดเลือดวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 294 บาท ลดสูงสุด80%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
กิจกรรมที่เด็กโรคหลอดเลือดหัวใจเกินสามารถทำได้
หากหลอดเลือดหัวใจที่เกินมีขนาดเล็ก หรือถูกปิดโดยสายสวนหรือการผ่าตัดไปแล้ว ลูกของคุณอาจไม่จำเป็นต้องระวังตัวมากเป็นพิเศษเมื่อทำกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย และอาจมีส่วนร่วมกับกิจกรรมตามปกติโดยไม่ได้ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในอนาคต แพทย์โรคหัวใจอาจตรวจร่างกายของเด็กเป็นระยะเพื่อหาสิ่งผิดปกติ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน หากไม่มีสิ่งใดผิดปกติ โดยทั่วไปแล้วเด็กไม่จำเป็นต้องรับประทานยา ผ่าตัด หรือรักษาด้วยสายสวนเพิ่มเติม
ผลกระทบของโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน
- หากหลอดเลือดหัวใจเกินมีขนาดเล็ก: ส่วนมากผู้ป่วยมักไม่มีมีอาการหรือเกิดปัญหาใดๆ เพราะการไหลเวียนของเลือดและความดันในหัวใจและปอดไม่ได้เปลี่ยนไปจากปกติ ทั้งนี้สิ่งผิดปกติเพียงอย่างเดียวที่อาจพบได้ก็คือ หัวใจส่งเสียงฟู่ ซึ่งจะได้ยินเสียงนี้ผ่านหูฟังของแพทย์เท่านั้น
- หากหลอดเลือดหัวใจเกินมีขนาดใหญ่: ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจติดขัดซึ่งเป็นผลกระทบมาจากหัวใจที่ทำงานได้น้อยลง รวมถึงมีความดันโลหิตในปอดสูง และหลอดเลือดปอดอาจมีความดันโลหิตสูงด้วย เพราะเลือดภายใจได้ถูกสูบฉีดมากกว่าปกติ และเมื่อเวลาผ่านไป ความผิดปกติดังกล่าวก็อาจทำให้หลอดเลือดปอดเสียหายถาวร
การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเกินต่อเนื่อง
แพทย์โรคหัวใจอาจตรวจสอบหัวใจเป็นระยะๆ เพื่อหาความผิดปกติโดยขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค
ในกรณีที่อาการของโรคทุกอย่างดำเนินไปได้ด้วยดีในระยะยาว ผู้ป่วยก็ไม่จำเป็นต้องรับประทานยา เข้ารับการผ่าตัด หรือรักษาโดยใช้สายสวนเพิ่มเติมอีก เพียงแต่อาจต้องมีการสังเกตและติดตามอาการ รวมถึงจำกัดกิจกรรมบางอย่างเพื่อความปลอดภัย
1. การติดตามผลของอาการ
ผู้ป่วยที่ยังมีหลอดเลือดหัวใจส่วนเกินอยู่แม้จะเป็นขนาดเล็ก ก็ยังจำเป็นต้องติดตามอาการกับแพทย์โรคหัวใจอยู่เป็นระยะๆ ไปก่อน ส่วนผู้ป่วยที่หลอดเลือดหัวใจเกินปิดสนิทไปแล้วนั้นก็แทบไม่จำเป็นต้องมาติดตามอาการกับแพทย์โรคหัวใจอีก เว้นเสียแต่ว่ามีโรคหัวใจประเภทอื่นๆ เกิดขึ้นเพิ่มเติมภายหลัง
ส่วนการให้ยาผู้ป่วยหลังผ่าตัด หรือหลังจากใช้อุปกรณ์ปิดช่องหลอดเลือดหัวใจนั้นจะพบได้ไม่บ่อยนัก และแพทย์สามารถติดตามอาการได้ โดยไม่ต้องผ่าตัดหรือใส่เครื่องมือทางการแพทย์เข้าไปในร่างกาย
2. การจำกัดกิจกรรม
ผู้ป่วยส่วนมากที่มีหลอดเลือดหัวใจส่วนเกินขนาดเล็ก ทั้งที่ได้รับการรักษาไปแล้วและยังไม่ได้รับการรักษายังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติโดยไม่เกิดความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
แต่แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยจำกัดการทำกิจกรรมที่เคลื่อนไหวร่างกายบางอย่างเป็นเวลาสั้นๆ แม้ว่าความดันหลอดเลือดปอดของผู้ป่วยจะไม่สูงก็ตาม
การป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน
หลังจากที่มีการปิดช่องหลอดเลือดด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์แล้ว ผู้ป่วยบางรายอาจกังวลว่าตนเองจะเกิดโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบขึ้นในภายหลังอีก
การป้องกันโรคเยื่อบุหัวใจอักเสบจึงเป็นเรื่องที่ควรแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเกินที่มีประวัติการเจ็บป่วยเกี่ยวกับหัวใจดังต่อไปนี้
- เคยเป็นโรคเยื่อบุหัวใจมาก่อน
- มีการใช้ลิ้นหัวใจเทียม
- ยังไม่ได้รับการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน
- มีภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง
- มีอาการเขียวคล้ำ
การตั้งครรภ์
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเกินมีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ต่ำ เว้นเสียแต่ว่าผู้ป่วยเกิดมีความดันหลอดเลือดปอดสูงขึ้น หรือมีสัญญาณของภาวะหัวใจวายเกิดขึ้น ก็อาจเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยจะเกิดการตั้งครรภ์
ทางที่ดีหากผู้ป่วยรู้สึกถึงสัญญาณของการตั้งครรภ์ ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อฝากครรภ์และแจ้งอาการเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจเกินให้แพทย์ทราบ
การผ่าตัดเพิ่มเติม
เมื่อช่องหลอดเลือดหัวใจถูกเย็บปิดแล้ว ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะไม่ต้องได้รับการผ่าตัดเพิ่มเติมอีก แต่อย่างไรก็ตาม หัวใจของผู้ป่วยบางรายอาจมีช่องว่างหลงเหลืออยู่ซึ่งจะพบได้ไม่บ่อยนัก
หากต้องมีการเย็บปิดช่องว่างดังกล่าวเพิ่มเติม จะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์เกี่ยวกับขนาดของช่องหลอดเลือดที่เกินออกมาว่าควรรักษาอย่างไร
เบาหวานขึ้นตามีวิธีรักษาอย่างไรบ้างค่ะ