เท้านั้นไม่ได้ประกอบขึ้นจากกระดูกและกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่ยังมีเส้นเอ็นอีกด้วย แต่ละส่วนนั้นทำหน้าที่แบกน้ำหนักของร่างกายทั้งหมดไว้ตลอดทั้งวัน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะพบอาการปวดเท้าได้ค่อนข้างบ่อย
บางครั้งอาจจะรู้สึกปวดที่หลังเท้าเวลาที่เดินหรือแม้แต่เวลาทียืนนิ่งๆ อาการปวดนั้นอาจจะไม่รุนแรงหรืออาจจะรุนแรงก็ได้ขึ้นกับสาเหตุและการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้น
ตรวจกระดูกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 534 บาท ลดสูงสุด 61%
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
สาเหตุ
อาการปวดที่หลังเท้านั้นอาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ สาเหตุที่พบบ่อยก็คือการใช้ทำกิจกรรมมากเกินไปเช่นการวิ่ง กระโดดหรือเตะ
ภาวะที่เกิดจากการใช้งานเท้ามากเกินไปประกอบด้วย
Extensor tendonitis เกิดจากการใช้งานที่มากเกินไปหรือใส่รองเท้าที่คับเกินไป เส้นเอ็นที่ตลอดด้านหลังเท้าและทำหน้าที่ทำให้เท้าตั้งขึ้นนั้นจะเกิดการอักเสบและเจ็บได้
Sinus tarsi syndrome เป็นภาวะที่พบได้น้อย เป็นการอักเสบของ sinus tarsi ซึ่งเป็นช่องที่พบระหว่างส้นเท้าและกระดูกของข้อเท้า ภาวะนี้จะทำให้เกิดอาการปวดที่หลังเท้าและข้อเท้าด้านนอก
กระดูกเท้าหักจากแรงที่กระทำต่อกระดูก อาการปวดนั้นอาจจะเกิดจากกระดูกที่อยู่ในตำแหน่งดังกล่าว และมักจะทำให้มีอาการบวม
สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดที่หลังเท้าประกอบด้วย
- เกาต์ เป็นการปวดที่รุนแรงขึ้นอย่างฉับพลันที่ข้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่โป้ง
- Bone spurs เป็นการเจริญเติบโตรอบๆ ข้อต่อในข้อในเท้าข้างๆ กับหัวแม่โป้งที่ทำให้ปวดได้
- Peripheral neuropathy ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด หรือชาที่อาจจะลามจากเท้าไปยังขาได้
- Common peroneal nerve dysfunction เป็นการทำงานของเส้นประสาทสาขาของ sciatic nerve ที่ผิดปกติและทำให้เกิดอาการปวดและแปล๊บที่หลังเท้าได้รวมถึงทำให้เท้าหรือขาส่วนล่างอ่อนแรง
การวินิจฉัย
หากคุณมีอาการปวดที่เท้าเรื้อรังนานกว่า 1 สัปดาห์แม้ว่าจะพยายามรักษาเองที่บ้านแล้ว คุณควรไปพบแพทย์ รวมถึงหากมีอาการรุนแรงที่ทำให้คุณเดินไม่ได้ หรือมีอาการปวดแสบ ชา หรือแปล๊บที่บริเวณเท้าข้างที่มีอาการ
แพทย์จะทำการสอบถามอาการที่เกิดขึ้นและเหตุการณ์ที่อาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่เท้า รวมถึงถามกิจกรรมทางกายและการได้รับบาดเจ็บที่เท้าหรือข้อเท้าในอดีต
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ก่อนที่จะทำการตรวจเท้า โดยอาจจะกดตามตำแนหน่งต่างๆ บนเท้าเพื่อหาตำแหน่งที่เจ็บ และอาจจะให้คุณเดินและทำท่าต่างๆ เช่นการบิดเท้าเพื่อประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวของข้อ
ในการตรวจภาวะ extensor tendonitis แพทย์จะให้คุณกดเท้าลง และออกแรงต้านกับมือแพทย์ที่พยายามจะดันขึ้น หากคุณรู้สึกปวด แสดงว่าอาจจะเกิดจากภาวะนี้
หากแพทย์สงสัยว่าคุณอาจจะมีกระดูกหัก หรือ bone spurs ก็จะมีการส่งตรวจเอกซเรย์ของเท้า
แพทย์อาจจะส่งตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- ตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยโรคเกาต์
- ตรวจเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อดูความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเส้นประสาท peroneal
การรักษา
เนื่องจากเท้าของเรานั้นต้องรับน้ำหนักทั้งหมดของร่างกาย ดังนั้นการบาดเจ็บแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้หากไม่ได้รับการรักษา
การรักษานั้นจะขึ้นกับสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค และอาจจะประกอบด้วย
- การทำกายภาพบำบัด ซึ่งสามารถรักษาภาวะต่างๆ เช่น peripheral neuropathy, extensor tendonitis และเส้นประสาท peroneal ที่ถูกทำลายได้
- การใส่เฝือกสำหรับการบาดเจ็บเช่นกระดูกหัก
- การใช้ยาแก้อักเสบ ซึ่งจะช่วยลดการอักเสบและรวมถึงการอักเสบจากโรคเกาต์
การรักษาที่บ้าน
การรักษาที่บ้านนั้นจะช่วยลดอาการปวดที่เท้าได้จากหลายสาเหตุ โดยเริ่มจากการพักการใช้งานให้ได้มากที่สุด และอาจจะประคบเย็นที่บริเวณที่มีอาการครั้งละ 20 นาที เวลาที่ต้องเดิน ให้ใส่รองเท้าที่ช่วยรองรับเท้าและมีขนาดที่พอดีและไม่คับเกินไป
ผลลัพธ์
อาการปวดที่หลังเท้าส่วนมากนั้นสามารถรักษาให้หายได้ แต่ต้องรีบรักษาก่อนที่จะมีอาการปวดรุนแรง หากคุณมีอาการปวด ควรหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักที่เท้าให้ได้มากที่สุดอย่างน้อย 5 วันและประคบเย็นครั้งละไม่เกิน 20 นาที หากไม่ดีขึ้นภายใน 5 วันควรไปพบแพทย์