กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

ไขความลับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ไขความลับน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์

คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทุกคนจะต้องมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยรวมแล้วไม่เกิน 10 - 12 กิโลกรัม แต่หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นไม่ถึงเกณฑ์ดังกล่าว เด็กทารกที่คลอดออกมาก็จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติเช่นกัน วันนี้เราจะมาไขความลับว่า ในน้ำหนักตัวที่เพิ่ม 10 - 12 กิโลกรัมนั้น สัดส่วนน้ำหนักครรภ์มาจากอะไรกันบ้าง

น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นมา 10 - 12 กิโลกรัมนั้นมีองค์ประกอบดังนี้

  • น้ำหนักตัวของทารกในครรภ์ 3,000 กรัม
  • น้ำหนักของรก 500 - 700 กรัม
  • น้ำหนักน้ำคร่ำ 1,000 กรัม
  • กล้ามเนื้อมดลูก 1,000 กรัม
  • เต้านม 300-500 กรัม
  • ปริมาณเลือดที่เพิ่ม 1,000 กรัม
  • ปริมาณน้ำในร่างกายของคุณแม่ 1,500 กรัม
  • ไขมันที่สะสมในตัวแม่ 3,000 กรัม

ทั้งนี้ตัวเลขของข้อมูลทั้งหมดคือค่าโดยประมาณ ซึ่งอาจจะมีบางข้อที่มีน้ำหนักมากกว่าและน้อยกว่านี้ก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนน้ำหนักตัวอาจจะไม่ขึ้นเลยเพราะมีอาการแพ้ท้อง อาเจียน แต่บางคนก็สามารถเพิ่มน้ำหนักได้ถึง 5 กิโลกรัม จึงมีคำถามที่มักจะสงสัยกันว่า แล้วคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้นควรจะต้องมีน้ำหนักตัวเพิ่มเท่าไหร่ในแต่ละเดือนจึงจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักตัวของหญิงที่ตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้นประมาณ 1 - 2 กิโลกรัมภายในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ และน้ำหนักตัวจะเริ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงเดือนที่ 4 - 8 ซึ่งเมื่อถึงอายุครรภ์ช่วงนี้ น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยสัปดาห์ละประมาณครึ่งกิโลกรัม ส่วนในเดือนสุดท้ายน้ำหนักตัวจะคงที่หรือลดลงบ้างเล็กน้อยเท่านั้น ดังนั้นหากใครที่มีน้ำหนักเพิ่มมากกว่าหรือน้อยกว่าเกณฑ์ที่ได้กล่าวมาจะต้องควบคุมอาหาร ทำน้ำหนักให้ได้เกณฑ์ และต้องทานแต่อาหารที่มีประโยชน์เสมอและถูกสัดส่วน ซึ่งจะทำให้ทารกในครรภ์ไม่ขาดสารอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโต


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรีภพ เลิศบรรณพงษ์, ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพมหานคร ๑๐๗๐, น้ำหนักตัวมารดากับการตั้งครรภ์:
ปัจจัยที่สูติแพทย์อาจมองข้าม, เวชบันทึกศิริราช พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๑, ปีที่ ๑, ฉบับที่ ๒ หน้า ๘๑-๙๐
Traci C. Johnson, MD, Eating Right When Pregnant (https://www.webmd.com/baby/gui...), 2 June 2018

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม