กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคข้อเข่าเสื่อม เกิดกับผู้สูงอายุ เนื่องจากการสลายตัวของกระดูก

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 29 มี.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

โรคข้อเข่าเสื่อมส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้สูงอายุ แต่สำหรับผู้อายุยังไม่ถึงเกณฑ์วัยเกษียณนี้ ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เหมือนกัน เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมมีอยู่หลายประการด้วยกัน และหากรู้สึกปวดเข่า เจ็บข้อ จนเริ่มสงสัยว่าเป็นโรคข้อเสื่อม ก็สามารถเช็คอาการของโรคเกิดจากอะไร เป็นอย่างไร และวิธีรักษาได้แบบไหน ดังนี้

สาเหตุของโรคข้อเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการสลายตัวและสึกของกระดูกอ่อนที่บริเวณข้อ ทำให้กระดูกอ่อนมีปริมาณลดลงจนเกิดการเสียดสีกันกับกระดูกแข็ง ทำให้เกิดอาการปวดบวมอักเสบและไม่สามารถใช้งานได้ในที่สุด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ รักษา และผ่าเข่า วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 1,542 ลดสูงสุด 77%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อม

  1. คนที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป
  2. คนที่มีน้ำหนักตัวเกิน
  3. คนที่มีกิจวัตรประจำวันต้องเดินแทบตลอดเวลา
  4. คนที่รู้สึกว่าเข่าตัวเองยึด ฝืด และงอลำบาก

ทำไมอายุมากขึ้นต้องข้อเสื่อม

โดยปกติ ร่างกายจะมีกระบวนการสร้างและสลายของกระดูกอ่อนบริเวณข้อ ซึ่งจะเป็นแบบสมดุลกัน แต่เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีการใช้ข้อต่าง ๆ มากขึ้น กระบวนการสลายของกระดูกอ่อนจะเกิดมากกว่ากระบวนการสร้าง และเมื่อบวกกับความเสื่อมของสุขภาพ จึงส่งผลให้กระดูกอ่อนบริเวณข้อมีปริมาณลดลง ประกอบกับกล้ามเนื้อบริเวณข้อไม่แข็งแรง การเสียดสีของกระดูกมีอัตราเพิ่มขึ้น จึงเกิดอาการอักเสบของข้อและเป็นโรคข้อเสื่อมตามมา

สำหรับปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเสื่อมไม่ได้อยู่ที่เพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยที่ทำให้คนอายุยังน้อยเป็นโรคนี้ได้ ซึ่งก็คือ

  • เพศ สำหรับเพศหญิงจะเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อมได้มากกว่าเพศชาย 2-3 เท่า เพราะเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยลง หรืออาจไม่ผลิตเลย ส่งผลให้เซลล์กระดูกอ่อนที่เกี่ยวพันธุ์กับฮอร์โมนเพศหญิงทำงานได้น้อยลง ทำให้การสร้างโปรติโอไกลแคน ในการใช้ซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนจะลดลงไปด้วย
  • น้ำหนักตัวมาก เมื่อข้อต้องรับน้ำหนักมากขึ้น ความแข็งแรงของข้อจึงเสื่อมลง
  • ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บข้อเข่า หากเกิดอุบัติเหตุหรือออกกำลังกายมากกว่าปกติ เช่น มีประวัติข้อเข่าแตกหรือเอ็นข้อเข่าฉีก ก็จะมีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมได้ง่าย
  • การใช้งานข้อหนักเกินไป หรือเสียดสีมากเกินไป ได้แก่ นั่งพับเพียบ นั่งยอง ๆ เป็นเวลานาน รวมทั้งการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นเวลานาน

อาการที่บ่งบอกว่าเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อม

  1. ในเข่ามีเสียงดังกร๊อบแกร๊บขณะเคลื่อนไหว
  2. ปวดเข่าเวลาเดิน หรือเคลื่อนไหว
  3. รู้สึกปวดบริเวณข้อ บริเวณรอบ ๆ ข้อ โดยไม่สามารถระบุตำแหน่งได้และมักจะปวดเรื้อรัง อีกทั้งอาการปวดข้อจะมากขึ้น เมื่อใช้งานหรือลงน้ำหนักที่ข้อมาก ๆ
  4. มีอาการปวดเข่าเวลานอน
  5. ปวดข้อเข่าเวลาที่ใส่ถุงเท้า รองเท้า หรือตอนลุกนั่ง
  6. ปวดหรือบวม อักเสบ บริเวณข้อเข่า
  7. ปวดข้อมากจนเดินอย่างปกติไม่ได้ ต้องเดินโยกตัว
  8. ข้อบวมหรือผิดรูป จากกระดูกที่งอก
  9. สูญเสียการเคลื่อนไหว เดินเหินไม่สะดวก นั่งลำบาก เดินไม่ไหวเมื่อต้องอยู่ในลักษณะเดิมนาน ๆ

หากมีอาการตรงกับข้อเหล่านี้อย่างน้อย 3 ข้อ ให้สงสัยเลยว่าอาจเข้าข่ายเป็นโรคข้อเสื่อมแล้ว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา

วิธีรักษาโรคข้อเสื่อม

วิธีการป้องกันโรคนี้ก็คือ การเพิ่มกระบวนการสร้างกระดูกอ่อนและการสร้างมวลกระดูกอ่อนนั่นเอง ส่วนการรักษาโรคข้อเสื่อมได้แก่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นลดน้ำหนัก พยายามหลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าหนัก ๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเดินขึ้น-ลงบันได แต่หากเป็นแล้ววิธีการรักษา คือ ใช้ยาบรรเทาอาการปวดและอักเสบของข้อ ฉีดน้ำไขข้อ ประคบร้อนประคบเย็น การผ่าตัดเปลี่ยนข้อ และปลูกถ่ายเซลล์กระดูกอ่อนเป็นต้น


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป