ไม่ว่าคุณจะป่วยเป็นอะไรก็ตาม เวลาป่วยนั้นก็ไม่เคยเป็นเรื่องสนุก

เผยแพร่ครั้งแรก 23 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ไม่ว่าคุณจะป่วยเป็นอะไรก็ตาม เวลาป่วยนั้นก็ไม่เคยเป็นเรื่องสนุก

สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้น การป่วยนั้นยังส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้ ข่าวดีก็คือมีวิธีที่จะสามารถช่วยควบคุมระดับน้ำตาลให้ปกติได้

การป่วยนั้นส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างไร

เวลาที่คุณป่วย ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยเล็กน้อยเช่นเจ็บคอหรือเป็นหวัดหรือรุนแรงกว่านั้นเช่นขาดน้ำหรือต้องผ่าตัด ร่างกายนั้นจะมองความเจ็บป่วยว่าเป็นความเครียด และทำให้ต้องใช้พลังงานมากกว่าปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในทางหนึ่งนั้นก็เป็นเรื่องดีเพราะมันจะช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานมากขึ้นตามความต้องการ ในขณะที่อีกมุมหนึ่งนั้น ในผู้ป่วยโรคเบาหวานนี่อาจจะทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง และการเจ็บป่วยบางอย่างอาจจะทำให้น้ำตาลต่ำได้หากคุณรู้สึกว่าเบื่ออาหารหรือคลื่นไส้หรืออาเจียน และคุณยังใช้อินซูลินในปริมาณเท่าเดิม คุณอาจจะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้

ระดับน้ำตาลในเลือดนั้นอาจจะไม่สามารถคาดการณ์ได้เวลาที่ป่วย เพราะคุณไม่รู้ว่าความเจ็บป่วยนั้นจะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างไร ดังนั้นการตรวจน้ำตาลเป็นประจำในวันที่ป่วยและปรับอินซูลินตามที่ต้องการจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

การวางแผนสำหรับวันที่ป่วย

แผนการจัดการโรคเบาหวานนั้นจะช่วยให้คุณรู้ว่าคุณต้องทำอย่างไรเวลาที่ป่วย แผนการนี้อาจจะบอกคุณว่า

  • ควรจะติดตามระดับน้ำตาลในเลือดและคีโตนอย่างไรเวลาที่ป่วย
  • ยาชนิดไหนที่สามารถทานได้
  • สิ่งที่คุณต้องปรับในมื้ออาหารและเครื่องดื่มและยาที่ใช้

เมื่อไหร่ที่ควรมาพบแพทย์

นอกจากนั้นผู้ป่าวยโรคเบาหวานควรได้รับวัคซีน pneumococcal ซึ่งช่วยป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงได้ และยังต้องได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี วัคซีนเหล่านี้อาจจะช่วยทำให้สามารถคุมโรคเบาหวานได้ดีและลดความถี่ในการป่วย

สิ่งที่ต้องทำเวลาที่ป่วย

แพทย์จะให้คำแนะนำที่จำเพาะต่อคุณเวลาที่คุณป่วย แต่ข้อมูลต่อไปนี้เป็นข้อมูลโดยทั่วไป

ทำทุกอย่างตามปกติ ให้ใช้ยาตามปกติยกเว้นแพทย์บอกให้ปรับหรือเปลี่ยน คุณยังจะต้องใช้อินซูลินเวลาที่ป่วยแม้ว่าคุณจะไม่สามารถกินได้มากเท่าที่เคยก็ตามเนื่องจากตับนั้นจะสร้างและปล่อยน้ำตาลกลูโคสออกมาในเลือดแม้ในเวลาที่คุณจะนอนป่วยอยู่ก็ตาม ดังนั้นคุณจึงต้องการอินซูลินเสมอ ผู้ป่วยบางคนอาจจะต้องการอินซูลินเพิ่มขึ้นเวลาที่ป่วย และแม้แต่ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่เคยใช้อินซูลินมาก่อนก็อาจจะต้องใช้อินซูลินในช่วงที่ป่วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ตรวจวัดระดับน้ำตาลและคีโตนในเลือดบ่อยๆ แพทย์จะเป็นคนบอกว่าคุณต้องตรวจถี่ขนาดไหน แต่มักจะต้องตรวจบ่อยกว่าปกติเวลาที่ป่วย

ใส่ใจกับอาการคลื่นไส้และอาเจียน

ผู้ป่วยโรคเบาหวานบางครั้งนั้นอาจจะมีการติดเชื้อที่ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้ แต่อาการทั้ง 2 อย่างนี้ก็เป็นอาการของภาวะ ketoacidosis เช่นกัน ดังนั้นหากคุณรู้สึกมวนท้องหรืออาเจียน คุณจะต้องติดตามระดับน้ำตาลและคีโตนในเลือดอย่างใกล้ชิดและอาจจะต้องไปพบแพทย์ วิธ๊ที่ดีที่สุดก็คือการฉีดอินซูลินตามปกติ เช็คระดับคีโตนสม่ำเสมอและทำตามคำแนะนำของแพทย์

ป้องกันการขาดน้ำ อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอแม้ว่าคุณจะคลื่นไส้หรืออาเจียนก็ตาม แพทย์สามารถแนะนำชนิดและปริมาณของสารน้ำที่คุณควรดื่มเพื่อช่วยควบคุมทั้งในเรื่องของการเจ็บป่วยและระดับน้ำตาลในเลือด

ใช้ยาอย่างฉลาด บางคนอาจจะมีการซื้อยามาใช้เองในช่วงที่ป่วยเช่นเวลาที่เป็นหวัด แต่ยาเหล่านี้อาจมีส่วนผสมที่ทำให้ระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำได้ หรือทำให้เกิดอาการที่คล้ายกับภาวะที่มีระดับน้ำตาลสูงหรือต่ำ ดังนั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์เกี่ยวกับการใช้ยาเหล่านี้ แพทย์อาจจะมีการเขียนรายชื่อยาที่คุณสามารถใช้ได้ไว้ในแผนการรักษาและอาจจะอธิบายถึงสิ่งที่คุณต้องมองหาบนฉลากของยา

จดบันทึก แพทย์อาจจะมีคำถามเกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยและอาการที่คุณเป็นมากมาย และคุณจะตอบคำถามได้ง่ายขึ้นหากคุณจดอาการที่เป็น ชนิดและขนาดของยาที่ใช้ อาหารและเครื่องดื่มที่กิน หรือแม้แต่ว่าคุณสามารถทานอาหารได้หรือไม่ อย่าลืมบอกแพทย์หากคุณน้ำหนักลดหรือมีไข้ และจดบันทึกระดับน้ำตาลและคีโตนในเลือด

พักผ่อนให้เพียงพอ ทุกคนต้องการการพักผ่อนเวลาที่ป่วย เพราะมันจะช่วยให้ร่างกายนั้นสนใจไปที่การใช้พลังงานเพื่อต่อสู้กับความเจ็บป่วย ดังนั้นหากคุณต้องการ คุณสามารถบอกให้ผู้ปกครองเป็นคนช่วยดูแลเรื่องของการจัดการโรคเบาหวานเป็นเวลาสั้นๆ เช่นช่วยจดบันทึกระดับน้ำตาลและหาระดับของอินซูลินที่เหมาะสม และคุณก็ควรนอนให้เพียงพอ

เมื่อไหร่ที่ควรไปพบแพทย์

ในแผนการรักษานั้นจะมีการอธิบายว่าเมื่อไหร่คุณควรจะมาพบแพทย์ บอกถึงสิ่งที่คุณต้องทำ และต่อไปนี้เป็นสาเหตุโดยทั่วไปที่คุณควรมาพบแพทย์

  • สาเหตุทั่วไปที่คุณจะต้องมาพบแพทย์เวลาที่คุณไม่ได้ป่วย
  • หากคุณเบื่ออาหารหรือไม่สามารถดื่มหรือกินได้เลย
  • หากระดับน้ำตาลในเลือดนั้นต่ำจากการที่กินได้น้อย แต่อย่าลืมทำตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดก่อนที่บ้าน
  • หากคุณอาเจียนหรือท้องเสียเรื้อรัง
  • หากระดับน้ำตาลในเลือดของคุณนั้นสูงติดต่อกันหลายๆ ครั้งหรือไม่ลดแม้ว่าคุณจะใช้อินซูลินในปริมาณที่มากขึ้นแล้วก็ตาม
  • หากคุณมีคีโตนระดับปานกลางหรือมากในปัสสาวะ (หรือมีคีโตนในเลือดสูง)
  • หากคุณคิดว่าตัวเองมีภาวะ ketoacidosis
  • หากคุณไม่สามารถกินหรือดื่มได้เพราะว่ากำลังจะต้องเข้ารับการตรวจเช่นเอกซเรย์ ผ่าตัดหรือทำฟัน
  • ทุกครั้งที่คุณมีคำถามหรือสิ่งที่กังวล อย่าลืมขอคำแนะนำจากแพทย์

17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Cold Symptoms: When Should You See a Doctor for a Cold?. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/cold-and-flu/symptoms/when-to-see-a-doctor/)
Is It “Just a Cold”?. American Academy of Family Physicians. (https://familydoctor.org/is-it-just-a-cold/)
When Should I See a Doctor for a Cold or Flu?. WebMD. (https://www.webmd.com/cold-and-flu/cold-guide/when-see-doctor)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป