การนับระยะปลอดภัย (Fertility Awareness-Based Methods (FAMs)) คือวิธีที่สามารถใช้เพื่อนับช่วงเวลาที่สามารถตั้งครรภ์และป้องกันการตั้งครรภ์ FAM ได้ การนับระยะปลอดภัยมีหลายวิธี แต่ทุกวิธีล้วนมีเป้าหมายเพื่อคาดการณ์การตกไข่ในแต่ละบุคคล
การนับระยะปลอดภัย มีหลักในการปฏิบัติอย่างไร?
ก่อนการนับระยะปลอดภัย จะต้องมีการตรวจสอบการตกไข่ก่อน เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ซึ่งวิธีตรวจสอบการตกไข่ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ได้แก่
- การบันทึกอุณหภูมิร่างกาย (Basal Body Temperature (BBT)) : อุณหภูมิของผู้หญิงจะสูงขึ้นประมาณ 0.3-0.6 องศาเซลเซียสในช่วงต้นของระยะหลังตกไข่ (ช่วงครึ่งหลังของรอบเดือน) แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิจะไม่สามารถเอามานับระยะปลอดภัยได้ แต่ถ้าวัดค่า BBT เป็นประจำทุกเดือน ก็จะช่วยให้คาดประมาณได้ว่าคนคนนั้นอาจมีการตกไข่ของรอบเดือนหน้าเมื่อใด
- การสังเกตมูกไข่ตก (Cervical Mucus) : มูกไข่ตกจะเปลี่ยนแปลงไปตลอดรอบประจำเดือนตามความผันผวนของฮอร์โมน Estrogen กับ Progesterone ซึ่งมักจะมีปริมาณมากขึ้นเมื่อผู้หญิงเข้าใกล้ช่วงตกไข่หรือมีการตกไข่ โดยมูกที่มีสีขุ่นเหมือนไข่ขาว มักจะมีความหมายว่าการตกไข่ใกล้เข้ามาแล้ว หรืออาจจะมีการตกไข่ภายในวันนั้น ส่วนมูกที่มีความข้นและเริ่มจับกันเป็นก้อน หมายความว่าคนคนนั้นมีการตกไข่ไปแล้ว
- การติดตามรอบเดือน (Cycles) ด้วยการใช้ปฏิทินหรือแอพพลิเคชั่นบันทึกประจำเดือน
- การทดสอบปัสสาวะหา Luteinizing Hormone (LH) : LH จะเพิ่มขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงก่อนตกไข่ ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้สามารถตรวจพบได้ด้วยการทดสอบปัสสาวะเองที่บ้าน
เมื่อได้ข้อมูลการตกไข่แล้ว ก็สามารถนำมาใช้นับระยะปลอดภัยได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้
- การนับวันปลอดภัย (Rhythm Method) : เป็นวิธี FAM ที่เก่าที่สุด โดยเป็นการติดตามรอบประจำเดือนภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนหน้าด้วยการนับทางปฏิทิน หลังมีการบันทึกช่วงรอบเดือนแต่ละครั้งแล้วให้นำรอบเดือนที่ยาวที่สุดกับรอบเดือนที่สั้นที่สุดเข้ามาระบุระยะเวลาที่ร่างกายอาจตั้งครรภ์ เพื่อเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หรือใช้วิธีคุมกำเนิดต่างๆ ในช่วงเวลาอันตรายที่คาดการณ์ไว้ หากคุณเป็นคนที่มีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอและมีระยะเวลาระหว่าง 26 ถึง 32 วัน วิธีนับวันแบบนี้อาจไม่ใช่วิธีที่ปลอดภัยสำหรับคุณ
- การกำหนดระยะเวลาเจริญพันธุ์ (Standard Days Method) : วิธีการนี้คล้ายคลึงกับวิธีนับวันปลอดภัย คือเป็นวิธีเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์หรือใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดตั้งแต่วันที่ 8-19 ของรอบเดือน (เริ่มจากวันแรกที่มีประจำเดือน) หากคุณมีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอและมีระยะเวลาระหว่าง 26 ถึง 32 วัน คุณก็อาจไม่เหมาะกับวิธีนี้เช่นกัน วิธีนี้ถูกพิจารณาจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นหลักคุมกำเนิดสมัยใหม่
- TwoDay method : การใช้วิธีนี้ จะต้องมีการตรวจหามูกไข่ตกทุกวันภายในรอบเดือน หากพบว่าเมื่อวานหรือวันนี้ มีเมือกสีไข่ขาวจากช่องคลอด ก็หมายความว่าร่างกายพร้อมจะตั้งครรภ์และควรเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
- การนับวันจากมูกช่องคลอด (Billings Ovulation Method) : เป็นวิธีที่คล้ายกับ TwoDay method แต่วิธีนี้ทำโดยการคาดคะเนระยะเวลาที่ตั้งครรภ์ด้วยการบันทึกลักษณะของมูกไข่ตกบนตาราง และปฏิบัติตามกำหนดระยะเวลาที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้
- การตรวจวัดอุณหภูมิ (Symptothermal Method หรือ Sensiplan) : วิธีนี้จะใช้มูกไข่ตกกับค่า BBT เพื่อประมาณช่วงไข่สุกของแต่ละรอบเดือน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
FAM เป็นวิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพอย่างไร?
ผู้หญิงส่วนมากไม่สามารถใช้การนับระยะปลอดภัยเป็นการคุมกำเนิดได้อย่างสมบูรณ์แบบ เพราะมีปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่ออัตราการได้ผล เช่น
- รอบเดือนของผู้หญิงแต่ละคน : การนับระยะปลอดภัยบางประเภท เช่น วิธีกำหนดระยะเจริญพันธุ์ จะได้รับผลกระทบจากความสม่ำเสมอของรอบเดือนอย่างมาก ซึ่งบางคนอาจรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ หรือมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น
- ความเครียด
- เจ็ตแลก (Jet Lag)
- ระยะเวลาในการทำงานแบบเข้ากะ
- ผู้หญิงที่อยู่ในช่วงวัยรุ่น และวัยทองที่มีปัญหาเกี่ยวกับฮอร์โมน
- ความแม่นยำของการวัดที่คำนวณเอง : ผู้หญิงบางคนอาจละเลยการเก็บข้อมูลการตกไข่ของตัวเอง เช่น เช่นการติดตาม BBT จะต้องตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายตนเองหลังจากตื่นนอนทันที (หรือหลังจากพักผ่อนเป็นระยะเวลาหนึ่ง) หรือหลัก TwoDay method ที่ต้องตรวจสอบมูกไข่ตกอย่างน้อยสองครั้งต่อวัน หากไม่ได้ตรวจตามระยะเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ค่าการบันทึกไม่มีความน่าเชื่อถือ
การปฏิบัติตามวิธี FAM ต้องใช้ความพยายาม และความอดทนเป็นอย่างมาก แต่ก็ไม่มีผลข้างเคียง และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น จึงเหมาะสมกับผู้ที่มีเงื่อนไขต่อไปนี้
- ผู้ที่ไม่สะดวกเข้าพบสูตินรีแพทย์
- ผู้ที่ไม่สามารถจัดหาหรือเข้าถึงวิธีคุมกำเนิดทั่วไป
- ผู้ที่มีความเชื่อด้านศาสนาที่ทำให้ไม่สามารถใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดได้
- ผู้ที่ไม่ประสงค์จะใช้การคุมกำเนิดใด ๆ
แต่การนับระยะปลอดภัย ไม่ใช่วิธีป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แม้จะป้องกันการตั้งครรภ์ได้จริง แต่ก็ไม่เหมาะสมกับผู้ที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายๆ คน
ที่มาของข้อมูล
Maegan Boutot, Natural birth control and Fertility Awareness Methods (https://helloclue.com/articles/sex/natural-birth-control-fertility-awareness-methods), 14 ธันวาคม 2017