"โรคหลงตัวเอง" จากนิสัยสู่อาการทางจิต โรคที่ต้องได้รับการรักษา

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
"โรคหลงตัวเอง" จากนิสัยสู่อาการทางจิต โรคที่ต้องได้รับการรักษา

โรคหลงตัวเอง หรือ นาซิซีติส (Narcisisitic) คือโรคทางจิตชนิดหนึ่ง ซึ่งคนที่เป็นโรคนี้มักเป็นคนที่มีความเครียดอยู่ตลอดเวลา กลัวตัวเอง กลัวสังคม ในแง่ของคนที่กลัวความขายหน้าเป็นที่สุด จึงไม่ยอมที่จะให้ตัวเองตกอันดับ แต่กลับจะทำตัวให้โดดเด่นและมีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก แบบที่บางทีก็แทบไม่สนใจสายตาใคร ซึ่งถ้าได้รับการตอบสนองที่ดีก็จะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้อาการกำเริบอย่างหนัก แต่ในทางกลับกันถ้าไม่ได้รับการตอบสนอง หรือเสียงตอบรับที่ไม่ดีเท่าที่ควร ก็จะยิ่งทำให้เกิดความผิดพลาดอย่างหนัก จนอาจทำให้เกิดอาการของโรคซึมเศร้า และไปก่ออันตรายร้ายแรงให้แก่ผู้อื่นได้

ที่มาของโรคหลงตัวเอง

โรคหลงตัวเองเกิดจากการที่บุคคลนั้นมีบุคลิกภาพที่เป็นมาจากพันธุกรรม และสภาพแวดล้อมการถูกเลี้ยงดู จนทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในบุคลิกของคนคนนั้น อาการของโรคหลงตัวเอง ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น และนอกจากพันธุกรรมแล้ว การเลี้ยงดูก็เป็นส่วนที่สำคัญมาก ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการหลงตัวเอง เพราะบางทีคนในครอบครัวก็มักจะยุยงส่งเสริมให้เด็กทำตัวโดดเด่น ก็จะยิ่งส่งผลให้เด็กมีอาการเช่นนี้ไปจนโต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ในปัจจุบันโลกโซเชียลมีอิทธิพลต่อทุกชีวิตมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มที่จะให้ลูกหลานแสดงความเด่นออกมา จนมันอาจจะทำให้เด็กเกิดอาการกดดัน และจากนิสัยก็จะกลายเป็นความผิดปกติทางจิตไปโดยปริยาย โดยมีตัวอย่างง่าย ๆ คือ เด็กผู้ชายคนหนึ่งขโมยเอาเงินของพ่อไปใช้โดยไม่บอก พอพ่อโมโหไปต่อว่า เด็กก็เกิดความโกรธจึงวางแผนฆ่าพ่อตัวเอง แต่เมื่อโดนจับได้กลับทำทีท่าที่ไม่มีความสำนึก และยังยิ้มใส่ตำรวจได้อีก นั่นคือโรคหลงตัวเอง

อาการหลัก ๆ ของโรคหลงตัวเอง

  1. คิดว่าตัวเองเป็นคนที่เก่งที่สุดในโลก โดยมักจะคิดเสมอว่าไม่มีใครเก่งเกินตัวเอง
  2. ไม่สารถที่จะยอมรับในความสามารถของคนอื่นได้เลย เพราะคิดแต่ว่าตัวเองเก่งที่สุดแล้ว
  3. มักจะคิดอะไรเข้าข้างตัวเองอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีคนแสดงอาการหรือไม่เข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยเป็น ก็มักจะคิดว่าคนรอบข้างอิจฉา หรือไม่ก็ด้อยกว่าตัวเอง
  4. เวลามีใครมองก็จะทึกทักเอาเองว่าตัวเองเด่นจนคนต้องมองเหลียวหลัง
  5. ทำอะไรแบบไร้จิตสำนึก ไม่เคยกลัวใคร และไม่สามารถแยกแยะความดีความชั่วได้
  6. คิดว่าเองเพอร์เฟ็ค ใครทำอะไรให้ก็ไม่ถูกใจ

นาร์ซิสซัส Narcissus

ชื่อของโรคหลงตัวเองแบบนาร์ซิซิสติก นั้นมาจากเทพนิยายกรีกโบราณ เทพนาร์ซิซัส ที่กำเนิดมาจากเทพวีนัส กับอพอลโล่ ที่มีหน้าตาที่หล่ออย่างไม่มีใครเทียบได้ จนทำให้เค้ากลายเป็นคนหลงตัวเอง ด้วยเหตุนี้นาร์ซิซัสจึงบ้าส่องกระจกทุกวัน และหลงตัวเองมากจนลุกลามไปถึงขั้นทำตัวโอหังต่อทุกคน จึงทำให้เทพแอโฟไดรท์สาปให้หลงรูปตัวเองจนฆ่าตัวตาย จึงเป็นที่มาชื่อของโรคนี้ในปัจจุบัน

ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะแฝงตัวอยู่ในสังคม เพราะมักจะมีลักษณะที่ชอบเข้าสังคมเป็นอย่างมาก ออกจะเป็นคนเจ้าชู้ ยิ้มหวาน ช่างพูดช่างนินทา และชอบที่จะพูดถึงแต่เรื่องของตัวเอง ไม่ยอมให้คนอื่นเด่นกว่า ซึ่งจะมีผลเสียทางสังคมที่เป็นที่น่ารำคาญของเพื่อนฝูง และอาจจะถึงขั้นเป็นที่รังเกียจไปโดยไม่รู้ตัวเลยก็ได้

ผู้ที่ป่วยจึงไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นโรคหลงตัวเอง จึงทำให้ยากต่อการรักษา และโรคนี้ก็ไม่มีทางรักษาให้หายขาด ดังนั้นถ้าพอที่จะรู้สึกว่ามีอาการที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็ให้รีบไปพบจิตแพทย์ทันที ก่อนที่จะลุกลามไปเป็นโรคซึมเศร้า และอาจจะฆ่าตัวตายได้ในที่สุด ซึ่งโรคนี้พบเพียงแค่ 1% ของประชากรโดยรวม และ 16% ของผู้ป่วยโรคจิตเภท


14 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Narcissistic Personality Disorder Symptoms, Treatment & Causes. MedicineNet. (https://www.medicinenet.com/narcissistic_personality_disorder/article.htm)
Narcissistic personality disorder: Traits, diagnosis, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/9741)
11 Signs You’re Dating a Narcissist — and How to Deal with Them. Healthline. (https://www.healthline.com/health/mental-health/am-i-dating-a-narcissist)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)