ลูกเหม็น ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นและไล่แมลงในครัวเรือน หากใช้ผิดวิธีอาจทำให้เกิดอันตรายได้

แนะนำวิธีแก้พิษลูกเหม็นในเบื้องต้นจากการเผลอรับประทานเข้าไป สัมผัสผิวหนังโดยตรง หรือสูดดมในปริมาณมาก
เผยแพร่ครั้งแรก 1 มิ.ย. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ลูกเหม็น ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นและไล่แมลงในครัวเรือน หากใช้ผิดวิธีอาจทำให้เกิดอันตรายได้

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ลูกเหม็น ผลิตมาจากสารแนพทาลีน (Naphthalene) 99% เป็นของแข็งหรือผลึกสีขาว มีกลิ่นแรง ไม่ละลายน้ำ แต่สามารถระเหิดหรือเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นไอได้ในอุณหภูมิห้อง
  • ลูกเหม็น ถูกนำมาใช้ในดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ไล่สัตว์ที่มารบกวนภายในบ้าน โดยการนำไปห่อใส่ผ้าแล้วนำไปวางในบริเวณที่ต้องการ และยังสามารถนำไปใช้ป้องกันแมลงในสวนได้อีกด้วย
  • ควรเก็บลูกเหม็นและก้อนดับกลิ่นให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง โดยเก็บในตู้ที่ปิดสนิทหรือภาชนะที่มีฝาปิดเพื่อป้องกันการรั่วไหลของไอระเหยของลูกเหม็นสู่อากาศ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ลูกเหม็นกับเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มของทารก เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยโรคโลหิตจาง เนื่องจากบุคคลเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มไวต่อการเกิดพิษจากการใช้ลูกเหม็น
  • ลูกเหม็นที่ได้มาตรฐาน ตรงฉลากจะต้องแสดงชื่อและปริมาณสารสำคัญ วิธีใช้ คำเตือน วิธีเก็บรักษา อาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษเบื้องต้น ชื่อที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ผลิต นำเข้า และจัดจำหน่ายอย่างครบถ้วน
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ

ลูกเหม็น เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นและไล่แมลงในบ้านที่นิยมใช้กัน เนื่องจากมีราคาไม่แพง มีราคาเริ่มต้นที่ 20 บาทขึ้นไป หาซื้อได้ง่าย โดยมักนำไปวางในห้องน้ำเพื่อดับกลิ่น หรือนำไปวางในตู้เสื้อผ้าเพื่อไล่แมลง

อย่างไรก็ตาม ลูกเหม็นผลิตจากสารเคมีที่สามารถระเหยกลายเป็นไอได้ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากก็อาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้ จึงควรใช้ในปริมาณเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทำความรู้จักกับลูกเหม็น

ลูกเหม็น ผลิตมาจากสารแนพทาลีน (Naphthalene) 99% เป็นของแข็งหรือผลึกสีขาว มีกลิ่นแรง ไม่ละลายน้ำ แต่สามารถระเหิดหรือเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นไอได้ในอุณหภูมิห้อง

แนพทาลีนนั้นเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ พบในถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม หรือการเผาไหม้ของสารประกอบอินทรีย์ เช่น ไม้ บุหรี่

นอกจากนำไปทำเป็นลูกเหม็นโดยตรงแล้ว ยังนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในการผลิตพลาสติกพีวีซี (PVC) เรซิน (Resin) สารฟอกหนัง สีย้อม และสารฆ่าแมลงคาร์บาริล (Carbaryl) อีกด้วย

ประโยชน์ของลูกเหม็น มีอะไรบ้าง?

ลูกเหม็น ถูกนำมาใช้ในดับกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ไล่สัตว์ที่มารบกวนภายในบ้าน เช่น จิ้งจก ตุ๊กแก หนู และแมลงสาบ โดยนำไปห่อใส่ผ้าแล้วนำไปวางในบริเวณที่ต้องการ

นอกจากนำไปใช้ในบ้านแล้ว ลูกเหม็นยังสามารถนำไปใช้ป้องกันแมลงในสวนได้อีกด้วย โดยการนำลูกเหม็นใส่ในขวดพลาสติกที่ถูกเจาะรูไว้รอบขวดแล้วนำไปแขวนบริเวณต้นไม้ที่ต้องการไล่แมลงนั่นเอง

อาการเกิดพิษจากการใช้ลูกเหม็นเป็นอย่างไร?

ลูกเหม็นหรือแนพทาลีนสามารถดูดซึมได้ดีทั้งทางระบบทางเดินอาหาร ทางผิวหนัง และระบบทางเดินหายใจ หากได้รับในปริมาณมากก็จะทำให้เกิดพิษที่เป็นอันตราย โดยจะมีอาการแตกต่างกันไปดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • หากเกิดจากการรับประทานลูกเหม็นเข้าไป จะมีอาการเป็นตะคริวที่กล้ามเนื้อหน้าท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ เหงื่อออกมาก ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด โลหิตจาง มีไข้ ดีซ่าน ไตไม่สามารถทำงานตามปกติ ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิตได้
  • หากเกิดจากการสูดดมกลิ่นเข้าไปเป็นปริมาณมาก จะทำให้ปวดศีรษะ มึนงง ตื่นเต้น คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก ปัสสาวะขัด
  • หากสัมผัสผิวหนังหรือนัยน์ตา จะทำให้เกิดการระคายเคือง และอาจดูดซึมได้ทางผิวหนัง

วิธีแก้พิษลูกเหม็นเบื้องต้น เป็นอย่างไร?

วิธีแก้พิษลูกเหม็นก็จะแตกต่างกันไปตามช่องทางที่รับพิษ ดังนี้

1. กรณีที่รับประทานลูกเหม็นเข้าไป

หากรับประทานลูกเหม็นเข้าไป ให้ดื่มน้ำสะอาด 2 แก้ว หรือประมาณ 240-300 มิลลิลิตร ห้ามทำให้อาเจียนเพราะอาจสร้างความเสียหายให้กับช่องคอได้ หากผู้ป่วยอาเจียนให้บ้วนปากแล้วดื่มน้ำตาม หลังจากนั้นให้รีบพาผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล

แพทย์จะทำการรักษาโดยการล้างกระเพาะอาหาร (Gastric lavage) ร่วมกับให้ยาต้านพิษที่ทำจากถ่านกัมมันต์ (Activated charcoal)

ข้อควรระวัง คือ แนพทาลีนละลายได้ดีในน้ำนมและอาหารประเภทไขมัน จึงไม่ควรให้ผู้ป่วยดื่มนมหรือสารอาหารที่มีไขมัน เพราะจะทำให้แนพทาลีนถูกดูดซึมได้ดีขึ้น

2. กรณีที่สูดดมไอระเหยของลูกเหม็นเข้าไป

หากเกิดพิษจากการสูดดมไอระเหยของลูกเหม็นแสดงว่าใช้ลูกเหม็นในปริมาณที่มากเกินไป ให้รีบออกจากบริเวณนั้นทันที

หลังจากนั้น ให้คุณสวมใส่หน้ากากเพื่อป้องกันการสูดดมกลิ่นแล้วเข้าไปกำจัดลูกเหม็นออก โดยการเก็บใส่ภาชนะที่ปิดมิดชิด และเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

โดยปกติแล้ว ความชื้นและแสงแดดในอากาศสามารถทำให้แนพทาลีนสลายตัวได้ภายใน 1 วัน

3. กรณีที่ผิวหนังหรือนัยน์ตาสัมผัสกับลูกเหม็น

หากผิวหนังหรือนัยน์ตาสัมผัสกับลูกเหม็นให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจนกว่าอาการระคายเคืองจะทุเลา หากอาการไม่ดีขึ้น หรือเกิดผื่นแพ้ทั่วร่างกายให้ไปพบแพทย์ทันที

วิธีลดความเสี่ยงการเกิดอันตรายจากการใช้ลูกเหม็น

ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอันตรายจากการใช้ลูกเหม็น ซึ่งได้แก่

  • เก็บลูกเหม็นและก้อนดับกลิ่นให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง โดยเก็บในตู้ที่ปิดสนิทหรือภาชนะที่มีฝาปิดเพื่อป้องกันการรั่วไหลของไอระเหยของลูกเหม็นสู่อากาศ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ลูกเหม็นกับเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มของทารก เด็ก สตรีมีครรภ์ และผู้ป่วยโรคโลหิตจาง เนื่องจากบุคคลเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มไวต่อการเกิดพิษจากการใช้ลูกเหม็น
  • ไม่ใช้ลูกเหม็นสัมผัสกับเนื้อผ้าโดยตรง และหากใช้ลูกเหม็นกับเสื้อผ้าหรือผ้าห่ม ให้นำมาตากแดดหรือผึ่งลมก่อนนำมาใช้ เพื่อกำจัดกลิ่นและไอระเหยที่ตกค้างอยู่บนผ้า ถ้าจะให้ดีที่สุดควรนำไปซักอีกครั้งก่อนนำมาใช้

นำลูกเหม็นมาวางไว้ในบ้านอันตรายไหม?

หน่วยงานดูแลด้านอาชีวอนามัยของสหรัฐอเมริกา (U.S. Occupational Safety and Health Administration: U.S. OSHA) ได้กำหนดระดับความเข้มของแนพทาลีนในอากาศโดยเฉลี่ย 8 ชั่วโมง ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพไว้ที่ 10 ppm

จากการตรวจสารแนพทาลีนในอากาศในอเมริกาและประเทศแถบเอเชียบางแห่ง พบค่าของแนพทาลีนในอากาศเพียง 0.0003-0.0097 ppm ซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรวางลูกเหม็นไว้ในห้องนอนหรือสถานที่ที่อากาศปิด ไม่ถ่ายเท เพื่อป้องกันการสั่งสมของปริมาณแนพทาลีนในอากาศ ควรหมั่นเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศภายในบ้านเป็นประจำ

แม้ว่าลูกเหม็นจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนที่พบได้ทั่วไป แต่ก็จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 2 ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

ลูกเหม็นที่ได้มาตรฐาน ตรงฉลากจะต้องแสดงชื่อและปริมาณสารสำคัญ วิธีใช้ คำเตือน วิธีเก็บรักษา อาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษเบื้องต้น ชื่อที่ตั้งและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ผลิต นำเข้า และจัดจำหน่ายอย่างครบถ้วน

หากฉลากขาดข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่งไปอาจแสดงว่าลูกเหม็นนั้นไม่ได้รับมาตรฐาน ไม่ควรนำมาใช้ เพราะอาจมีค่าความเข้มข้นเกินค่ากำหนดจนทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, หมวดวัตถุอันตราย แนพทาลีน (Naphthalene) (https://db.oryor.com/databank/data/printing//491218_Factsheet__แนพทาลีน_(Naphthalene)_786.pdf).
กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, แนพทาลีน (http://pca.fda.moph.go.th/public_media_detail.php?id=6&cat=73&content_id=927).
med.mahidol.ac.th, ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือน (Household products) (https://med.mahidol.ac.th/poisoncenter/sites/default/files/public/pdf/bulletin/bul2002/bul2002-n2.pdf).

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง
10 วิธีหยุดอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

หยุดอาการแสบร้อนยอดอก หยุดกรดไหลย้อน คุณทำได้ด้วยตนเองตามคำแนะนำนี้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม
ตะคริว เกิดจากอะไร ป้องกัน และรักษาอย่างไรให้หายไวที่สุด
ตะคริว เกิดจากอะไร ป้องกัน และรักษาอย่างไรให้หายไวที่สุด

ตะคริวเกิดจากสาเหตุอะไร มีวิธีป้องกันหรือไม่ เมื่อเกิดขึ้นแล้วต้องรักษาอย่างไรให้หายไวที่สุด

อ่านเพิ่ม