​เล็บ อาการบ่งชี้ว่าเล็บผิดปกติ วิธีดูแลเล็บให้แข็งแรงเสมอ

เผยแพร่ครั้งแรก 27 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
​เล็บ อาการบ่งชี้ว่าเล็บผิดปกติ วิธีดูแลเล็บให้แข็งแรงเสมอ

เล็บ คืออวัยวะที่ทำหน้าที่ปกคลุมปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ประกอบไปด้วยโปรตีน เคอราทีน (Keratin) ชนิดแข็ง ทำหน้าที่ป้องกันปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าจากอันตรายต่างๆ แต่หากเราไม่ดูแลรักษาเล็บ อาจทำให้เกิดความผิดปกติกับเล็บ จนถึงขั้นต้องถอดเล็บได้

ทำความรู้จักเล็บในเบื้องต้น

ตามปกติแล้วเล็บที่สุขภาพดีจะมีสีชมพูอ่อนๆ พื้นผิวเล็บเรียบไม่ขรุขระ ผิวหนังรอบๆ ไม่ร่น เป็นขุย หรือมีผื่น เนื้อเล็บหนาพอดี แข็งแรง ช่วยในการหยิบจับสิ่งของได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

หน้าที่ของเล็บ

  1. ป้องกันอันตรายให้ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า
  2. ใช้สำหรับช่วยในการหยิบจับ ฉีกอาหารหรือสิ่งของ
  3. เล็บนิ้วเท้าจะช่วยในการเดินได้ดีขึ้น
  4. เป็นจุดสังเกตที่บ่งบอกถึงโรคบางโรค

อาการผิดปกติของเล็บ

  1. จมูกเล็บอักเสบ พบในผู้ที่มือเปียกน้ำบ่อย ชอบตัดจมูกเล็บ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างซอกเล็บจนน้ำเข้าไปขังอยู่และเกิดการอักเสบ
  2. เล็บเป็นเชื้อรา มักพบในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน เป็นต้น โดยเล็บจะมีสีเปลี่ยนไป บิดเบี้ยว โค้งงอ เปราะง่าย หรือเป็นขุย
  3. เล็บกร่อน เล็บเปราะ แตกหักง่าย เป็นคลื่น หนาขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด
  4. 4.สะเก็ดเงินที่เล็บ เล็บหนาเป็นชั้น ลอกเป็นขุย รักษาค่อนข้างยาก

เล็บผิดปกติบอกโรคอะไรบ้าง

  • เล็บอ่อนแอ เปราะ หักง่าย อาจบอกได้ว่าร่างกายขาดวิตามินเอ ซี หรือไบโอติน ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมให้เล็บแข็งแรง การรับประทานผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยสารดังกล่าว จะช่วยบรรเทาอาการได้
  • เล็บสีซีด อาจบ่งบอกได้ว่าคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนโลหิต เช่น โลหิตจาง เบาหวาน หรืออาจบ่งชี้ว่าเป็นโรคตับได้ จึงควรรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก และหากมีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์
  • เล็บสีฟ้าอมม่วง เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่อาจบ่งชี้ได้ว่ากำลังเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือหลอดเลือดมีปัญหา
  • เล็บมีขีดขาว หลายคนอาจรู้จักในชื่อ “ดอกเล็บ” อาจเกิดอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ เช่น เล็บกระแทกกับสิ่งต่างๆ ไม่ได้บ่งชี้ว่าเกิดโรคใดๆ

วิธีดูแลเล็บให้แข็งแรงเสมอ

  1. หมั่นตัดเล็บอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้เล็บยาวเกินไป เพราะจะทำให้เล็บฉีกได้ง่าย และอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
  2. ไม่ควรล้างมือบ่อยจนเกินไป และเมื่อล้างมือเสร็จควรเช็ดให้แห้ง แต่หากจำเป็นต้องล้างจ้าน ซักผ้า ถูบ้าน ควรใส่ถุงมือเพื่อป้องกันการระคายเคือง
  3. ทาครีมหรือโลชั่นบำรุงเล็บและมืออย่างสม่ำเสมอ แต่ควรหลีกเลี่ยงบริเวณซอกเล็บ
  4. รับประทานอาหารบำรุงเล็บ โดยเฉพาะอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ถั่ว ปลา เต้าหู้ หรืออาหารที่ประกอบไปด้วยวิตามินเอ ซี อี เช่น กล้วย แคนตาลูป ผักใบเขียว พืชตระกูลถั่ว เมล็ดธัญพืช เป็นต้น
  5. หลีกเลี่ยงการทำเล็บบ่อยครั้ง เพราะสารเคมีอาจทำให้เล็บมีสุขภาพแย่ลงได้

แม้ว่าเล็บจะดูเป็นอวัยวะเล็กๆ แต่ก็มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตอย่างมาก ดังนั้นจึงควรหมั่นดูแลเล็บให้มีสุภาพดีและแข็งแรงอยู่เสมอ


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
โครงการสอนสุขศึกษาในหอผู้ป่วย ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช, การดูแลเล็บ, https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/204_49_1.pdf, 2556.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)