กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

บันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดสีชมพู) สำคัญอย่างไร

เผยแพร่ครั้งแรก 3 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
บันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (สมุดสีชมพู) สำคัญอย่างไร

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์และมีการไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล คุณแม่ทุกท่านจะได้รับสมุดสีชมพูมา 1 เล่ม ซึ่งเป็นสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กนั่นเอง สมุดเล่มนี้มีความสำคัญมาก คุณแม่จะต้องใช้บันทึกตั้งแต่ไปฝากครรภ์ครั้งแรกจนลูกอายุ 5 ปี ทุกครั้งที่หมอนัดคุณแม่จะต้องพกเมื่อเวลาไปหาหมอทุกครั้ง และยังต้องพกติดตัวเสมอไม่ว่าจะเดินทางไปไหน สำหรับคุณแม่มือใหม่ที่สงสัยว่าสมุดเล่มนี้มีความสำคัญอย่างไร ใช้งานอย่างไร สามารถหาคำตอบได้ที่บทความนี้ค่ะ

สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กมีความสำคัญอย่างไร

สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก หรือที่คุณแม่มักเรียกว่า “สมุดบันทึกสีชมพู” คุณแม่จะได้รับตั้งแต่การไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลครั้งแรก เป็นสมุดที่มีความสำคัญสำหรับคุณแม่และคุณลูกเป็นอย่างมาก มีประโยชน์ในการบันทึกสุขเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก โดยมีการบันทึกผลการตรวจร่างกายของหญิงตั้งครรภ์และคำแนะนำต่างๆ จะใช้บันทึกข้อมูลของลูกน้อยตั้งแต่แรกเกิดต่อเนื่องจนถึงเด็กมีอายุได้ 5 ปี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ในสมุดบันทึกสุขภาพมีอะไรบ้าง

ในสมุดเล่มสีชมพู ประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ มากมาย ที่เกี่ยวข้องทั้งคุณแม่และลูกน้อย คุณแม่สามารถเปิดสมุดและดูควบคู่กันไป และทำความเข้าใจถึงวิธการใช้ส่วนต่าง ๆ ดังนี้

  • ประเมินความเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์ ส่วนแรกนี้เป็นส่วนสำคัญอันดับแรกที่ใช้ในการประเมินความเสี่ยงของคุณแม่ เพื่อดูว่ามีภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์หรือไม่ ส่วนนี้เจ้าหน้าที่จะสอบถามประวัติของคุณแม่และเป็นผู้ประเมินด้วยตัวเอง หากพบว่าคุณแม่มีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ เช่นคุณแม่เคยมีประวัติคลอดบุตรที่น้ำหนักน้อยกว่า2500 กรัม ทางเจ้าหน้าที่โรงยาบาลจะทำการประเมินการดูแลครรภ์ในลำดับต่อไป
  • ประวัติการตั้งครรภ์ปัจจุบัน ส่วนนี้เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้บันทึกเช่นกัน แพทย์จะคำนวณประจำเดือนครั้งสุดท้ายเพื่อเป็นตัวคะเนกำหนดการคลอด เพื่อช่วยให้คุณแม่ได้เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยคุณแม่สามารถดูได้ว่าจะครบกำหนดคลอดเมื่อไหร่ เกินกำหนดแล้วหรือยัง
  • บันทึกการตรวจครรภ์ เป็นส่วนที่จะทำให้คุณแม่ทราบข้อมูลในการมาฝากครรภ์ในแต่ละครั้ง เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้บันทึกว่า น้ำหนักตัวของคุณแม่เท่าไหร่และเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ในแต่ละครั้ง เป็นการดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ คุณแม่จะสามารถน้ำน้ำหนักนี้ไปบันทึกในกราฟในลำดับถัดไปเพื่อดูพัฒนาการของลูกน้อยได้ด้วย ข้อดีคือหากพบความผิดปกติ แพทย์ก็จะสามารถจะทำการวินิจฉัยและรักษาทันทีตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์
  • แบบตรวจสอบความครบถ้วนของบริการตามช่วงอายุครรภ์ โดยปกติคุณแม่จะต้องมาฝากครรภ์ 5 ครั้ง คุณแม่จะต้องเข้ารับบริการตามช่วงอายุครรภ์ในแต่ละครั้งที่กำหนด
    • ครั้งแรกเมื่อรู้ว่าตั้งท้อง โดยครั้งแรกที่มาฝากครรภ์ควรมาก่อน 12 สัปดาห์
    • ครั้งที่ 2 เมื่ออายุครรภ์ 20 สัปดาห์
    • ครั้งที่ 3 เมื่ออายุครรภ์ 26 สัปดาห์
    • ครั้งที่ 4 เมื่ออายุครรภ์ 32
    • ครั้งที่ 5 เมื่ออายุครรภ์ 38 สัปดาห์
  • การนับลูกดิ้น มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันลูกน้อยเสียชีวิตในครรภ์ คุณแม่จะต้องนับการดิ้นของลูกทุกวัน โดยจะเริ่มนับตั้งแต่อายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไปเพื่อดูว่าลูกยังดิ้นปกติหรือไม่ วิธีการนับคือวันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน ก่อนนอน ส่วนมากมักนับเวลาหลังทานอาหารเนื่องจากเป็นเวลาที่คุณแม่ไม่ทำงาน โดยสังเกตภายใน 1 ชั่วโมง ลูกควรดิ้นอย่างน้อย 3 ครั้ง หากพบว่าลูกดิ้นน้อยกว่านี้ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจทันที

ความรู้ที่จำเป็นเพื่อการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยมีคุณภาพ

ในส่วนนี้จะให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับอาการที่จะทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายตัวในขณะตั้งครรภ์ หากคุณแม่ได้ทราบถึงภาวะที่อาจเกิดขึ้น ก็จะช่วยคลายความกังวลและสามารถดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี  เช่นอาการแพ้ท้อง ตกขาว ท้องลาย มีเส้นเลือดขอด

นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนของตารางและกราฟต่าง ๆ ที่จะช่วยสังเกตพัฒนาการของทารก มีตั้งแต่การติดตามน้ำหนักตัวของคุณแม่ เนื่องจากมีความสัมพันธ์กับอายุครรภ์ มีโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ มีตารางเปรียบเทียบร้อยละค่ามาตรฐานของดรรชนีมวลกาย ซึ่งคุณแม่จะต้องเช็คน้ำหนัก ส่วนสูงและอายุครรภ์อยู่เสมอ จากนั้นนำข้อมูลไปวัดกับกราฟเพื่อประเมินว่าลูกจะมีน้ำหนักแรกคลอดตามเกณฑ์หรือไม่

ส่วนที่ให้ความรู้เกี่ยวกับลูกรักหลังจากคลอดแล้ว

เมื่อลูกคลอดแล้ว สมุดเล่มนี้ก็ยังต้องใช้ต่อไป โดยจะมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลลูกเพื่อให้ลูกรักแข็งแรง ตั้งแต่เรื่องของนมแม่ซี่งมีความสำคัญที่สุด ช่วงอายุที่เริ่มทานอาหารได้ อาหารและโภชนาการที่เหมาะสม คำแนะนำในเรื่องต่าง ๆ เช่นการดูแลฟันลูกน้อย การฉีดวัคซีน รวมถึงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เป็นต้น

บันทึกพัฒนาการเด็กและการได้รับวัคซีนป้องกันโรค

ส่วนนี้จะเป็นการบันทึกพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของลูกน้อยเพื่อติดตามการเจริญเติบโตให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งจะมีกราฟมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การใช้กราฟแสดงน้ำหนักตามเกณฑ์อายุเพื่อติดตามการเจริญเติบโตด้านน้ำหนักของลูก การใช้กราฟแสดงส่วนสูงตามอายุ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการติดตามความเหมาะสมระหว่างน้ำหนักกับส่วนสูง เพื่อดูว่าลูกมีรูปร่างสมส่วนหรือไม่ หากลูกผอมเกินไปอาจขาดสารอาหารได้ หรือหากลูกท้วมหรืออ้วนเกินไปก็อาจเป็นโรคอ้วนในเด็กได้

บันทึกการฉีดวัคซีนของลูก

ส่วนสุดท้ายของสมุดเป็นการบันทึกการฉีดวัคซีนของลูก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายแข็งแรง เด็กเล็กตองได้รับการฉีดวัคซีนหลายอย่าง และวัคซีนบางชนิดต้องได้รับมากกว่า 1 ครั้ง สมุดเล่มนี้จึงมีประโยชน์มากในการช่วยบันทึกว่าลูกน้อยได้รับวัคซีนอะไรไปบ้างแล้ว หมอนัดครั้งหน้าเมื่อไหร่ เพื่อฉีดวัคซีนอะไร ลูกได้รับวัคซีนครบถ้วนหรือไม่ ช่วยบันทึกการให้วัคซีนที่ครบถ้วนโดยไม่ต้องกังวลว่าจะลืม

สมุดบันทึกแม่และเด็กนี้มีประโยชน์มากมาย เป็นทั้งคู่มือในการดูแลตนเองตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ เป็นทั้งคู่มือในการดูแลลูกที่จะช่วยสังเกตพัฒนาการทุกด้านของลูกน้อยอย่างเป็นระยะจนอายุ 5 ปี อีกทั้งยังเป็นหลักฐานสำคัญในการแจ้งเกิดและออกสูติบัตรด้วย ฉะนั้นคุณแม่ต้องเก็บรักษาให้ดี พกติดตัวอยู่เสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำในสมุดอย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยดูแลลูกรักได้อย่างครอบคลุมครบถ้วนค่ะ


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Adapting home-based records for maternal and child health to users' capacities. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/bulletin/volumes/97/4/18-216119/en/)
Home-based records for maternal, newborn and child health. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/maternal_child_adolescent/news_events/news/home-based-records/en/)
Patient-Held Maternal and/or Child Health Records: Meeting the Information Needs of Patients and Healthcare Providers in Developing Countries?. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3615781/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม