กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

พบสารปรอทที่สูงในระดับอันตรายในอาหารทะเลบางชนิด

FDA กล่าวเตือนถึงการบริโภคอาหารทะเลบางชนิด
เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
พบสารปรอทที่สูงในระดับอันตรายในอาหารทะเลบางชนิด

หากจะพูดกันตรง ๆ แล้ว อาหารทะเลหลายชนิด เช่นปลาแซลมอน กุ้ง และปลาค็อดมีสารปรอทที่มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วในปริมาณเล็กน้อย ยิ่งไปกว่านั้น ความหวาดกลัวต่อการพบสารปรอทในอาหารทะเลยังไม่ใช่เรื่องใหญ่ และหากจะกล่าวโดยรวมแล้ว ปลาก็มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อย่างไรก็ตาม ทาง FDA กำลังอยู่ในกระบวนการปรับปรุงคำแนะนำเรื่องการบริโภคอาหารทะเลของหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร หญิงที่เตรียมตัวจะตั้งครรภ์และเด็กเล็กให้ทันสมัยอยู่

โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเจ้าหน้าที่ส่วนกลางและผู้อื่นอีกมากมายมีความกังวลเกี่ยวกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบประสาทจากสารปรอทได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลต่อตัวอ่อนและเด็กเล็ก ๆ ที่กำลังเจริญเติบโตและอยู่ในช่วงมีพัฒนาการ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สารปรอทเข้าไปอยู่ในอาหารทะเลได้อย่างไร ?

สารปรอทเข้าไปอยู่ในอาหารทะเล ปลา และหอย ผ่านทางวงจรแรกสุด ไอปรอทที่ระเหย(Hg0) ทั้งจากกระบวนการธรรมชาติ (คิดถึงไฟป่าหรือว่ากระบวนการของภูเขาไฟ) และมลภาวะ (การเผาไหม้เชื้อเพลิงดึกดำบรรพ์) ลอยขึ้นไปในชั้นบรรยากาศ เมื่ออยู่ในชั้นบรรยากาศ ปรอทจะถูกออกซิไดซ์ไปเป็นรูปแบบ divalent inorganic (Hg2+) ซึ่งจะตกกลับลงมายังพื้นโลกกับฝน แบคทีเรียที่อาศัยในน้ำ เช่น plankton จะเติมกลุ่มเมทิล (methylate)ให้กับปรอท (ทำให้เกิด MeHg+ หรือ methylmercury) และปรอทในรูปแบบดังกล่าวจะสะสมอยู่ในไขมันสัตว์ และเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่อาหาร

ปลานักล่าที่มีชีวิตยืนยาวกว่า ซึ่งอยู่ในระดับบนของห่วงโซ่อาหาร เช่น ฉลาม ปลาดาบ และปลา king mekerel จะสะสมปริมาณปรอทไว้ค่อนข้างสูง การบริโภคโดยหญิงมีครรภ์และเด็กเล็กที่กำลังมีการพัฒนาของระบบประสาทจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างน่าวิตกกังวล

ทำไม methylmercury จึงเป็นอันตราย ?

ปรอททั้งในรูปแบบ ionized mercury และ methylmercury จะจับกับกำมะถันที่พบในโปรตีน และรบกวนสภาพทางชีววิทยาในร่างกายของเราอย่างมากมายและน่าเป็นกังวล หากจะให้ระบุอย่างจำเพาะกว่านั้น ปรอทจะทำให้เกิด oxidative stress ต่อเซลล์ (การสร้างอนุมูลอิสระ) และรบกวน microtubules (รบกวนการแบ่งเซลล์) และอาจกระตุ้นการแพ้ภูมิตนเองที่เป็นอันตรายได้อีกด้วยที่จริงแล้ว เรายังไม่เข้าใจอย่างแท้จริงว่าปรอททำลายร่างกายของเราอย่างไรบ้าง แต่สิ่งที่เรารู้เกี่ยวกับภาวะพิษจากสารปรอทก็เป็นเรื่องน่ากลัว

ต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ methylmercury สร้างความเสียหายให้แก่ร่างกายของเรา

  • ตาบอด
  • สมองพิการ (cerebral palsy)
  • ปัญหาด้านการเจริญเติบโต
  • ปัญหาด้านสติปัญญา
  • เหนื่อยอ่อน
  • สูญเสียการได้ยิน
  • เดินเซ (ataxia-สูญเสียการประสานงานของกล้ามเนื้อที่อยู่ในความควบคุม)
  • กล้ามเนื้อสั่น
  • อัมพาต (ภาวะพิษรุนแรง)
  • เสียชีวิต (ภาวะพิษรุนแรง)
  • โรคหัวใจ (งานวิจัยชิ้นใหม่บางชิ้นแสดงให้เห็นว่า methylmercury อาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง atherosclerosis)

แน่นอนว่า ผลข้างเคียงทางระบบประสาท เช่น สมองพิการและปัญหาด้านการเจริญเติบโตนั้นเกิดขึ้นในตัวอ่อนและเด็ก ดังนั้นทาง FDA และองค์กรทางสุขภาพอีกหลายองค์กรจึงออกคำเตือนสำหรับประชากรกลุ่มนี้โดยเฉพาะ

ถึงแม้ว่าปรอทจะขับออกได้ทางตับและไต แต่ก็มีระยะครึ่งชีวิตในร่างกายยาว พูดอีกอย่างคือเราต้องใช้เวลานานกว่าจะกำจัดปรอทที่กินเข้าไปได้ ยิ่งไปกว่านั้น methylmercury ยังถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารเกือบทั้งหมด และผ่าน blood brain barrier ได้ดีมาก ทำให้สมองและไขสันหลังมีความไวต่อผลกระทบจากปรอทเป็นพิเศษ

ภาวะพิษจาก methylmercury นั้นค่อยเป็นค่อยไป และที่ต่างจากภาวะพิษรูปแบบที่เกิดขึ้นเร็วกว่าของสารปรอท (mercury) คือการล้างพิษ (chelation) และการอาเจียนออกจะล้มเหลวในการกำจัดโลหะหนักนี้ออกจากร่างกาย ที่จริงแล้วการป้องกันเป็นเพียงสิ่งเดียวที่เราสามารถทำได้สำหรับ methylmercury กล่าวอีกอย่างคือวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับภาวะพิษของ methylmercury คือการหลีกเลี่ยงไม่กินเข้าไปตั้งแต่แรก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

Methylmercury ในอาหารทะเลมีความหมายอะไรสำหรับคุณ ?

จากที่ทาง FDA และองค์กรอีกมากได้ชี้ให้เห็น เราต้องจำไว้ว่าอาหารทะเลนั้นเป็นแหล่งของโปรตีน เกลือแร่ และวิตามินที่ดีต่อสุขภาพ ยิ่งไปกว่านั้น อาหารทะเลยังมีปริมาณไขมันอิ่มตัวต่ำ และมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูง เราทุกคน แม้แต่หญิงตั้งครรภ์และเด็กเล็ก ควรกินอาหารทะเลในปริมาณที่แนะนำในทางโภชนาการซึ่งดีต่อสุขภาพ

ที่จริงแล้วจากคำแนะนำฉบับร่างล่าสุด ทาง FDA สนับสนุนให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และหญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์กินอาหารทะเลเป็นปริมาณ 8-12 ออนซ์ต่อสัปดาห์ และเด็กที่มีอายุ 2-8 ปี ควรกิน 3-6 ออนซ์ พูดอีกอย่างก็คือ คนกลุ่มดังกล่าวควรกินอาหารทะเลประมาณ 2-3 ส่วนของปริมาณที่ควรบริโภคในแต่ละสัปดาห์

อย่างไรก็ตาม ทาง FDA แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์กินอาหารทะเล และเด็กเล็ก กินปลาที่มีปริมาณของ methylmercury ต่ำกว่า เช่น tilapia ปลาดุก (catfish) และปลาค็อด ยิ่งไปกว่านั้น ทางองค์กรยังแนะนำว่าไม่ให้บริโภคฉลาม ปลาดาบ ปลาking mekerel และปลา tilefish ที่จับได้จากนอกชายฝั่งอ่าว ผู้ที่บริโภคปลาจากแหล่งน้ำจืดควรเอาใจใส่กับคำเตือนท้องถิ่นเกี่ยวกับระดับสารปรอท และระมัดระวังปลาที่จับได้จากบริเวณที่อยู่นอกเหนือคำแนะนำ

น่าสังเกตว่าถึงแม้ทาง FDA จะระบุว่าทูน่ากระป๋องมีสารปรอทในปริมาณต่ำ แต่การประเมินนี้ได้รับการโต้แย้งจากผู้เชี่ยวชาญหลายคนที่ออกมาเตือนแม่และเด็กให้หลีกเลี่ยงทูน่าเช่นกัน คำแนะนำของทาง FDA เป็นเพียงแค่คำแนะนำ มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จำกัดการบริโภคอาหารทะเลที่เป็นปัญหาที่จะทำให้เกิดภาวะพิษจาก methylmercury ตัวอย่างเช่น หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และคุณเผลอกินสเต็กปลาดาบไปในช่วงมื้อสายวันวาเลนไทน์กับสามี ก็ไม่ต้องตกอกตกใจไป แค่พยายามเลี่ยงปลาประเภทดังกล่าวให้ได้มากที่สุดและลดปริมาณการกินปลาลงในวันที่เหลือของสัปดาห์ ซึ่งเป็นประเด็นที่ FDA ได้กล่าวไว้เช่นกัน

ถึงแม้ว่าจะมีความกังวลเกี่ยวกับ methylmercury ในอาหารทะเล แต่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ก็มีปริมาณปรอทในร่างกายที่ต่ำ แม้แต่ในผู้ที่กินปลาน้ำจืด ผู้ที่กินปลามากกว่าปกติ หรือทั้งคู่ ตัวอย่างเช่น การศึกษาหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้จำแนกจำนวนผู้ใหญ่ที่มีระดับความเข้มข้นของสารปรอทในเลือด (total EPA blood mercury concentration) ที่สูงจนน่าจะเป็นอันตราย (มากกว่าหรือเท่ากับ 5.8 ไมโครกรัมต่อลิตร) ได้ 4.6% ยิ่งไปกว่านั้น การศึกษาชิ้นใหญ่อีกชิ้นก็ประมาณการว่ามี 0.5% ของผู้เยาว์ที่มีอายุ 1-19 ปีได้รับการลงทะเบียนไว้ว่ามีสารปรอทในเลือดอยู่ในระดับที่น่าเป็นกังวล


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Jenna Fletcher, Is shrimp high in cholesterol? (https://www.medicalnewstoday.com/articles/315947.php) 18 October 2019
Mary Jane Brown, PhD, RD (UK), menacing-mercury-levels-found-in-some-seafood (https://www.healthline.com/nutrition/mercury-content-of-fish), September 14, 2016

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)