วิปัสสนากรรมฐาน หนทางฝึกจิตให้เจริญ

เผยแพร่ครั้งแรก 16 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
วิปัสสนากรรมฐาน หนทางฝึกจิตให้เจริญ

ในโลกที่สับสนวุ่นวาย การดูแลรักษาร่างกายให้แข็งแรงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ แต่จำเป็นต้องฝึกฝนขัดเกลาจิตใจให้แข็งแกร่ง มีสติ พร้อมที่รับสภาพปัญหาต่างๆ ด้วย ทั้งความทุกข์ ความสุข สิ่งที่เกิดขึ้นและดับไป เพื่อให้เราสามารถใช้ชีวิตอย่างรู้เท่าทันอารมณ์และสงบสุข ซึ่งการฝึก วิปัสสนากรรมฐาน ก็เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้จิตเราเจริญขึ้นได้

วิปัสสนากรรมฐานคืออะไร?

หากแปลตามความหมายของคำว่า “วิปัสสนากรรมฐาน” จะได้ว่า

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิ แปลว่า แจ่มแจ้ง ซึ่งวิเศษและเหนือกว่าการหยั่งรู้ด้วยวิธีทางโลก

ปัสสนา แปลว่า การเห็น หรือการหยั่งรู้ด้วยปัญญา

กรรม แปลว่า การกระทำ ซึ่งกระทำด้วยใจ ประกอบด้วยความเพียร สติ สัมปชัญญะ

ฐาน แปลว่า งาน หรือสิ่งที่ตัวเรากระทำ

โดยรวมแล้ว วิปัสสนากรรมฐาน จึงหมายถึง การเพียรใช้สติ สัมปชัญญะ เข้าไปกำหนดสิ่งที่เกิดขึ้นกับกายและใจ เพื่อให้เกิดการหยั่งรู้อย่างแจ่มแจ้ง โดยวิธีที่นำมาซึ่งการหยั่งรู้นั้นไม่ใช่จากการฟังผู้อื่นบอกเล่า หรือการคิดตามหลักเหตุผล การฝึกวิปัสสนากรรมฐาน หรือการเจริญวิปัสสนา คือความเพียรเฝ้าดูกายและใจเพื่อให้เข้าใจสภาวะอันแท้จริง ซึ่งก็คือความไม่เที่ยง และไม่มีตัวตน โดยปกติเมื่อเกิดเหตุการณ์ใดขึ้น จิตจะไปจับอยู่กับสิ่งนั้น ทำให้เราเกิดอารมณ์ แต่หากเราฝึกจิตจนรู้เท่าทัน เราจะตระหนักว่าอารมณ์ต่างๆ เกิดจากการปรุงแต่งของจิต ซึ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เราจึงไม่หันไปเสพ การฝึกจิตจนเจริญแล้ว จะทำให้เราเห็นไตรลักษณ์ และจิตจะลดความยึดมั่นถือมั่นลง ปล่อยวาง เป็นอิสระ และผ่อนคลายไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด

การฝึกวิปัสสนากรรมเบื้องต้น

  • การเดินจงกรม
  • การนั่ง

เป็นการกำหนดสติในอิริยาบถการเดิน โดยขั้นแรกให้ยกมือไขว้หลังไว้ตรงกระเบนเหน็บ มือขวาจับข้อมือซ้าย ยืนตัวตรง หลับตา และให้กำหนดว่า ยืนหนอ 5 ครั้ง โดยเริ่มกำหนดสติจากศีรษะลงมาถึงปลายเท้า และจากปลายเท้าไล่ขึ้นไปถึงศีรษะ สลับกันไปจนครบ 5 ครั้ง จากนั้นกำหนดสติอยู่ในกาย ลืมตาขึ้น ก้มมองพื้นด้านหน้า และสติจับอยู่ที่เท้า ขณะเดินให้กำหนดว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ ขณะก้าวเท้าขวาและซ้าย โดยให้ก้าวอย่างช้าๆ แต่ละก้าวให้มีระยะประมาณ 1 คืบ เมื่อเดินจนสุดทาง ให้ลืมตาเงยหน้า แล้วกำหนดว่า ยืนหนอ เหมือนเดิมอีก 5 ครั้ง และกำหนดว่า กลับหนอ อีก 4 ครั้ง พร้อมกับค่อยๆ ย่างเท้าเพื่อหันกลับทางเดิม จากนั้นจึงกำหนดว่า ยืนหนอ อีก 5 ครั้ง แล้วจึงลืมตา ก้มมองพื้น และเริ่มเดินพร้อมกับกำหนดว่า  ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ เช่นเดิม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เป็นการกำหนดสติในท่าทางนั่ง หรือที่เรียกว่านั่งสมาธิ โดยควรทำต่อเนื่องจากการเดินจงกรม หลังสำเร็จการเดินจงกรมแล้ว ให้กำหนดว่า ยืนหนอ อีก 5 ครั้ง และค่อยๆ ปล่อยมือลงข้างตัว จากนั้นค่อยๆ นั่งลงโดยกำหนดสติกับท่าทางต่างๆ เมื่อนั่งลงแล้ว ให้นั่งขัดสมาธิขาขวาทับขาซ้ายตัวตรง โดยให้สติจับอยู่ที่สะดือหรือหน้าท้อง และกำหนดตามการพองยุบของท้องเมื่อเราหายใจ เช่น เมื่อหายใจเข้าจนท้องพอง ให้กำหนดว่า พองหนอ เมื่อหายใจออกจนท้องยุบ ให้กำหนดว่า ยุบหนอ ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตใจเราจะหยุดคิดฟุ้งซ่าน การคิดเรื่องอื่นๆ ไปด้วยย่อมทำให้การเจริญวิปัสสนาไม่ได้ผล

การวิปัสสนากรรมฐานต้องอาศัยขันติ หรือความอดทน เมื่อเราเกิดเวทนาขึ้น หรือรู้สึกเจ็บ คัน เมื่อย ขณะฝึก ให้หยุดเดินหรือหยุดกำหนดลมหายใจ แล้วเอาสติไปตั้งไว้กับเวทนา เช่น กำหนดว่า เจ็บหนอ คันหนอ จนกว่าเวทนานั้นจะหายไป เพื่อให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ จากนั้นจึงเริ่มเดินหรือกำหนดลมหายใจต่อ

สถานที่ฝึกวิปัสสนากรรมฐาน

เราสามารถฝึกวิปัสสนากรรมฐานที่ใดก็ได้ ขอแค่เป็นสถานที่เงียบสงบ ปราศจากสิ่งรบกวน หรือถ้าต้องการฝึกอย่างจริงจัง และละจากเรื่องราวทางโลก ก็สามารถไปฝึกที่วัดหรือสถานปฏิบัติธรรมได้ ซึ่งในกรุงเทพฯ ก็มีอยู่หลายที่ เช่น

  • วัดธรรมมงคล แขวงบางจาก เขตพระโขนง โทร. 02-3111387
  • ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย เขตภาษีเจริญ โทร. 02-4131706 วัดปทุมวนาราม แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน โทร. 02-2512315

รวมถึงสถานที่ปฏิบัติธรรมในต่างจังหวัด เช่น

  • วัดอัมพวัน อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โทร. 036-499381
  • สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี โทร. 077-431596
  • วัดป่าสุนันทวนาราม อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี โทร. 02-3216320
  • วัดภูหล่น อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี

อย่าลืมว่าการฝึกวิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องอาศัยความอดทนและความสม่ำเสมอ การฝึกเป็นประจำจะช่วยให้เรามีสติมากขึ้น สามารถควบคุมจิต รู้เท่าทันอารมณ์ภายในตัวเรา รู้จักปล่อยวาง และใช้ชีวิตอย่างสงบสุขขึ้น


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
7 types of meditation: What type is best for you?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320392)
5 Brain Exercises to Strengthen Your Mind. Verywell Mind. (https://www.verywellmind.com/brain-exercises-to-strengthen-your-mind-2795039)
12 Science-Based Benefits of Meditation. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/12-benefits-of-meditation)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)