อาการปวดเอว (Low back pain) เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้บ่อยในประชากรทั่วโลก โดยเฉาพะตั้งแต่กลุ่มวัยรุ่นขึ้นไปจนถึงในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มว่าผู้มีอาการปวดเอวจะมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ มีการประมาณการจากหลายสถาบันและองค์กรว่า อาการปวดเอวเป็นอาการที่กระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์มาก และยังจำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมากในการรักษาสูงติดอันดับ 1 ใน 3 ของค่ารักษาเฉลี่ยตลอดหลายปีที่ผ่านมา
การทำความเข้าใจถึงสาเหตุ ประเภท และการบรรเทาอาการปวดเอวเบื้องต้นด้วยตนเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันและลดความรุนของอาการปวดเอวได้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
อาการปวดเอวคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่าง?
อาการปวดเอว หรือในทางการแพทย์นิยมเรียกว่า อาการปวดหลังส่วนล่าง (Low back pain หรือ Lower back pain) คืออาการปวดที่เกิดขึ้นตั้งแต่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว (Lumbar spine) กล้ามเนื้อที่ยึดเกาะกับกระดูกสันหลังส่วนเอวทั้งสองข้าง (Spinal muscles) สะโพก (Gluteal area) ไปจนถึงขอบล่างของแก้มก้น (Gluteal fold)
กล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่มีการทำงานหนักตลอดเวลา ทั้งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขณะเดิน ทำกิจกรรมต่างๆ หรือแม้กระทั่งตอนที่นั่งทรงตัวอยู่กับที่ กล้ามเนื้อในบริเวณนี้ก็ยังคงทำงาน
นอกจากนี้บริเวณหลังส่วนล่างยังมีกระดูกที่ไม่สามารถจำแนกรูปร่างได้ ทำให้เกิดข้อต่อจำนวนมาก เมื่อมีการใช้งานที่มากเกินไปจนกล้ามเนื้อบาดเจ็บหรือข้อต่อเกิดการเสียดสีกันมาก จึงสนับสนุนให้เกิดอาการปวดเอวได้ง่าย
ปวดเอวด้านซ้าย หรือด้านขวา เพียงด้านใดด้านเดียว เกิดจากอะไร?
ร่างกายคนเราสามารถแบ่งออกเป็นสองด้านที่สมมาตรกันได้ คือซีกซ้ายกับซีกขวา ทั้งอวัยวะที่สังเกตเห็นจากภายนอก รวมถึงกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่อยู่ภายในก็เช่นกัน เมื่อมีความความผิดปกติเกิดขึ้น อาจเกิดกับกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทเพียงด้านเดียวได้ ปรากฎเป็นอาการปวดเอวด้านซ้าย หรือปวดเอวด้านขวา
อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลาต่อมา อาการปวดเอวมักจะมีแนวโน้มลุกลามไปที่อีกข้างด้วย เพราะอวัยวะของร่างกายทั้งสองข้างทำงานประสานกันอยู่ตลอดเวลา เช่น เมื่อกล้ามเนื้อเอวด้านซ้ายถูกใช้งานมากเกินไปจนเกิดการบาดเจ็บ จะทำให้มีอาการปวดหลังเกิดขึ้น
หลังจากนั้นเพื่อให้ร่างกายยังคงทำกิจวัตรได้ตามเดิม กล้ามเนื้อหลังด้านขวาก็จะทำงานแทนกล้ามเนื้อหลังด้านซ้ายบางส่วน ส่งผลให้กล้ามเนื้อด้านขวาทำงานมากกว่าปกติ และเกิดการบาดเจ็บตามมา กลายเป็นปวดเอวทั้งสองข้างในที่สุด
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ปวดเอวขณะทำกิจกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เช่น นอนหงาย หรือนั่งทำงาน เกิดขึ้นจากอะไร?
อาการปวดเอวหรือปวดหลังส่วนล่างที่เกิดขึ้นขณะทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ในทางการภาพบำบัดเรียกว่า การปวดหลังเชิงกล (Mechanical back pain) เป็นอาการปวดหลังส่วนล่างประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งอาการปวดหลังแบบเชิงกลนี้ยังเป็นข้อบ่งชี้สำคัญด้วยว่า สามารถรักษาได้ด้วยวิธีกายภาพบำบัด
ถ้าปวดเฉพาะเวลาทำกิจกรรมบางอย่าง เช่น ปวดเอวขณะเดินหรือวิ่งเท่านั้น หมายความว่า ขณะทำกิจกรรมนั้น กล้ามเนื้อ เส้นประสาท หรือข้อต่อ กำลังถูกใช้งานในทิศทางที่ไม่เหมาะสม เมื่อหยุดทำกิจกรรม เปลี่ยนท่าทาง หรือได้พัก อาการผิดปกติมักจะหายไปหรือบรรเทาลง
โดยทั่วไป ท่าทางที่มักจะบรรเทาอาการปวดเอวได้มักจะเป็นท่านอน แต่หากขณะนอนพักแล้วยังมีอาการปวดมากไม่เปลี่ยนแปลง อาจจะเป็นสัญญาณของอาการปวดชนิดอื่นที่รุนแรงไม่ใช่การปวดเชิงกล
ปวดเอวร่วมกับมีอาการปวดร้าวลงขาเกิดขึ้นจากสาเหตุใด?
หลังส่วนล่างเป็นบริเวณที่เส้นประสาทที่แตกแขนงออกมาจากไขสันหลัง ลอดผ่านช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลังออกไปเลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ทั้งบริเวณหลังส่วนล่าง สะโพก และขาทั้งสองข้าง นอกจากนี้เส้นประสาทที่เดินทางไปเลี้ยงกล้ามเนื้อขาจำเป็นต้องลอดกล้ามเนื้อ หรือพาดผ่านข้อต่อต่างๆ มากมาย ซึ่งหากทางเดินของเส้นประสาทเหล่านี้มีปัญหา ก็จะทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของเส้นประสาทได้
เมื่อเส้นประสาทไขสันหลังมีการทำงานที่ผิดปกติ หรือถูกรบกวนการทำงาน อาจมีอาการแสดงดังนี้
- มีอาการปวดร้าวลงไปที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
- มีอาการทั้งอาการเหมือนเป็นเหน็บ หรืออาการชาแบบผิวหนังหนาๆ หลังฉีดยาชาเวลาไปพบทันตแพทย์
- กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง สะโพก ขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างอ่อนแรงลง ในผู้ป่วยบางราย หากกล้ามเนื้อลำตัวหรือขาอ่อนแรงมาก จะทำให้มีปัญหาหารทรงตัว เดินเซ และอาจจะสังเกตเห็นการฝ่อลีบของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรงได้
อาจจะพบเพียงอาการใดอาการหนึ่งหรือหลายอาการร่วมกันก็ได้ นอกจากสาเหตุดังกล่าวข้างต้นแล้ว หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การติดเชื้อของระบบประสาทส่วนกลาง หรือกระดูกสันหลังเสื่อมก็สามารถเป็นสาเหตุให้เส้นประสาทไขสันหลังมีการทำงานที่ผิดปกติ หรือถูกรบกวนการทำงาน ซึ่งทำให้รู้สึกปวดเอวร่วมกับปวดร้าวลงขาได้เช่นกัน
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เมื่อมีอาการปวดเอว สามารถบรรเทาอาการได้อย่างไรบ้าง?
ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่าอาการปวดเอวส่วนใหญ่นั้นเป็นเป็นอาการปวดแบบเชิงกล คือปวดเมื่อทำกิจกรรมใดกรรมหนึ่ง เมื่อมีอาการเกิดขึ้นจึงควรหยุดทำกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวด (Pain aggravating factors) ทันที แล้วให้พักด้วยการอยู่ในท่าทางที่ทำให้อาการปวดลดลง (Pain easing factors)
ผู้ปวดเอวแต่ละคนจะมีท่าทางเฉพาะที่ทำแล้วช่วยบรรเทาอาการลงได้ โดยมากมักจะเป็นท่าทางสบายๆ เช่น การนอนหงาย การนอนตะแคงทับด้านตรงข้ามที่ไม่มีอาการปวด
นอกจากนี้ อาการปวดเอวสามารถลดลงได้ด้วยการใช้อุณหภูมิทั้งร้อนหรือเย็นในการประคบ หากอาการเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน มีสาเหตุชัดเจน เช่น หลังบิดเอี้ยวตัวเร็วๆ หรือการยกของหนักๆ แนะนำให้ใช้การประคบเย็นก่อนเพื่อลดกระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บ
หากมีอาการปวดเอวแบบค่อยๆ เป็น เป็นๆ หายๆ มาสักระยะหนึ่งแล้ว การประคบร้อนจะเหมาะสมกว่า เพราะจะช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้น ทำให้ความปวดลงได้ เพราะสารที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดถูกพัดพากลับเข้าสู่กระแสเลือด
ยกของหนักแล้วปวดเอวต้องทำอย่างไร มีวิธีป้องกันหรือไม่?
หนึ่งในสาเหตุที่พบได้บ่อยมากที่สุดของอาการปวดหลังส่วนล่างก็คือ การยกของหนัก โดยเฉพาะการก้มลงไปยกของที่วางกับพื้น เนื่องจากการยกของหนักนั้นต้องอาศัยการก้มและเอี้ยวตัวร่วมด้วย ซึ่งเป็นท่าที่ง่ายต่อการบาดเจ็บ นอกจากนี้ยิ่งของที่ยกมีน้ำหนักมาก ก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงของอาการปวดเอวหรือปวดหลังส่วนล่างมากขึ้น
อาการปวดเอวหรือหลังส่วนล่างจากการยกของหนักอาจจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น กล้ามเนื้อบาดเจ็บ หมอนรองกระดูกบาดเจ็บ เอ็นยึดกระดูกฉีก การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยการพักการใช้งานหลัง และการประคบด้วยความเย็นตามที่ได้อธิบายไว้แล้วด้านบน
วิธีการป้องกันอาการปวดเอวหรือปวดหลังจากการยกของ สามารถทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการยกของที่มีน้ำหนักมากเกิน 5 กิโลกรัม ถ้าจำเป็นต้องยกของหนักอาจใช้เครื่องทุ่นแรงที่เหมาะสม นอกจากนี้การเรียนรู้ท่าทางที่เหมาะสมในการยกของที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomics) ก็เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องยกของหนักบ่อยๆ
อาการปวดเอวแบบไหนถึงเรียกว่ารุนแรง ควรไปพบแพทย์?
ในทางกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดมักจะประเมินความรุนแรงของอาการด้วยอาการและอาการแสดงของโรคร้ายแรง (Red flag sign and symptoms) ซึ่งชี้ว่าผู้ป่วยมีแนวโน้มของความเจ็บป่วยที่รุนแรง อาจจะต้องส่งต่อผู้ป่วยไปให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ทันที
อาการอันตรายของผู้ป่วยที่มีอาการปวดเอวหรือปวดหลังส่วนล่าง ได้แก่
- ปวดเอวหรือหลังส่วนล่างแบบรุนแรงมาก และมีแนวโน้มจะมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าให้เป็นคะแนนโดย 0 คะแนน คือไม่มีอาการปวดเลย และ 10 คะแนนคือปวดมากจนทนไม่ได้ หากผู้ป่วยรายงานว่าปวดมากกว่า 7 คะแนนขึ้นไป อาจจะเป็นข้อบ่งชี้ถึงความผิดปกติที่รุนแรง
- ปวดเอวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไร
- ปวดเอวแม้กระทั่งเวลากลางคืน จนไม่สามารถนอนหลับได้
- กล้ามเนื้อขาอ่อนแรงแบบฉับพลัน
- ไม่สามารถควบคุมการทำงานของระบบปัสสาวะ หรืออุจาระได้
นอกจากนี้ หากผู้มีอาการปวดเอวหรือหลังส่วนล่างเคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง มีน้ำหนักลดอย่างต่อเนื่อง หรือมีไข้ร่วมด้วย ควรเดินทางไปพบแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด เพื่อรับคำแนะนำและได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที