ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ภาวะเสียการระลึกรู้ หมายถึง การสูญเสียความสามารถในการรับรู้ถึงการสัมผัสวัตถุ ความรู้สึกบนใบหน้า การได้ยินเสียง หรือไม่รับรู้สถานที่ สิ่งนี้เป็นความผิดปกติที่พบได้ยาก เพราะหากเกิดภาวะดังกล่าว ผู้ป่วยก็ยังสามารถคิด พูด และโต้ตอบกับคนรอบข้างได้เช่นเดิม เพียงแต่ไม่อาจรับรู้ได้ในทางใดทางหนึ่ง
ภาวะเสียการระลึกรู้มีหลายประเภท เช่น ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา (Visual Agnosia) ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถตั้งชื่อหรืออธิบายการใช้งานวัตถุที่วางอยู่ด้านหน้า แต่ยังสามารถเดินเข้าไปหาและหยิบจับวัตถุดังกล่าวได้ ซึ่งผู้ป่วยสามารถใช้การสัมผัสเพื่อเข้าใจการใช้งานของวัตถุดังกล่าว
สาเหตุของภาวะเสียการระลึกรู้
ภาวะเสียการระลึกรู้เกิดขึ้นเมื่อสมองได้รับความเสียหายผ่านเส้นทางส่งข้อมูลใดเส้นทางหนึ่ง เส้นทางเหล่านี้เชื่อมต่อพื้นที่รับความรู้สึกปฐมภูมิ (Primary sensory processing area) พื้นที่ในสมองเหล่านี้เก็บความรู้และข้อมูลไว้ในสมอง พื้นที่รับความรู้สึกปฐมภูมินั้นยังรวมส่วนของเปลือกสมองรับการมองเห็นและการได้ยิน (Visual and auditory cotices) เข้าไปด้วย
ภาวะเสียการระลึกรู้มักเกิดจากรอยโรคในสมองส่วนกลีบด้านข้างและกลีบสมองที่ขมับ กลีบสมองเหล่านี้ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่มีการแปลความหมายและการใช้ภาษา โรคหลอดเลือดสมอง การได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือโรคไข้สมองอักเสบอาจทำให้เกิดความผิดปกติและเกิดการทำลายขึ้น ภาวะอื่นที่ทำลายหรือทำให้สมองเสียหายอาจทำให้เกิดอาการผิดปกติได้เช่นกัน ภาวะดังกล่าว เช่น:
- โรคสมองเสื่อม
- พิษจากคาร์บอนมอนอกไซด์
- ภาวะขาดออกซิเจน (Anoxia)
ประเภทของภาวะเสียการระลึกรู้
ภาวะเสียการระลึกรู้แบ่งออกเป็นสามประเภทหลักๆ ได้แก่ ทางตา ทางหู และทางสัมผัส โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตา (Visual Agnosia) : เกิดขึ้นเมื่อสมองบริเวณเส้นประสาทที่เชื่อมกลีบสมองส่วนท้ายทอยกับกลีบสมองด้านข้างและขมับได้รับความเสียหาย โดยกลีบสมองส่วนท้ายทอยจะทำหน้าที่ประกอบเชื่อมต่อข้อมูลที่มองเห็น ส่วนกลีบสมองด้านข้างและขมับจะช่วยทำการแปลผลให้เข้าใจความหมายของข้อมูลเหล่านี้
- ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบวิสัญชาน (Appreceptive Visual Agnosia) : ภาวะเสียการระลึกรู้ประเภทนี้ทำให้เกิดความยากลำบากในการรวบรวมชิ้นส่วนของภาพชิ้นเล็กๆ เพื่อให้เป็นภาพที่ใหญ่ขึ้นและเข้าใจได้ ภาวะดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหาในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุแต่ละชิ้นเช่น การพยายามจะคัดลอกรูปวงกลมแต่กลายเป็นวาดได้แค่เส้นโค้งหลายเส้นใกล้ๆ กัน มักเกิดจากรอยโรคที่กลีบสมองส่วนข้างหรือหรือส่วนขมับของสมองทั้งสองด้าน
- ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบสัมพันธ์ (Associative Visual Agnosia) : ภาวะเสียการระลึกรู้ทางตาแบบสัมพันธ์จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเรียกคืนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัตถุดังกล่าวได้ ซึ่งอาจรวมถึงชื่อและ การใช้งานของวัตถุดังกล่าว หรือที่มาว่ามาจากไหน แต่ภาวะเสียการระลึกรู้รูปแบบนี้ไม่ได้ทำให้ความสามารถในการนึกภาพหรือวาดภาพวัตถุเสียไปแต่อย่างใด
- ภาวะบอดใบหน้า (Prosopagnosia) : ภาวะเสียการระลึกรู้ในรูปแบบนี้จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถจดจำใบหน้าคนอื่นได้ มันเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับสมองบริเวณ Fusiform face area (FFA) ซึ่งเป็นพื้นที่ของสมองที่ทำหน้าที่เฉพาะในการจดจำใบหน้า ความยากลำบากในการจดจำใบหน้าเหล่านี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในโรคอัลไซเมอร์เช่นกัน
- ภาวะบอดสีเหตุสมอง (Achromatopsia) : หมายถึงการสูญเสียการมองเห็นสีเนื่องจากรอยโรคส่วน V4 ของสมอง ผู้ป่วยจะไม่สามารถเรียกชื่อสีได้ แม้จะสามารถรับรู้ได้ว่ามีสีอะไรบ้าง ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อรอยโรคดันให้สมองส่วน V4 แยกออกจากส่วนสมองที่ทำหน้าที่แปลภาษา
- ภาวะเสียการอ่าน (Agnosic Alexia) : ภาวะเสียการอ่าน คือ การไร้ความสามารถในการจดจำคำศัพท์ผ่านการมองเห็น ผู้ป่วยจะไม่สามารถอ่านหนังสือได้เลย แต่ยังสามารถเรียนรู้การพูดและเขียนได้
- ภาวะบอดการเคลื่อนไหว (Akinetopsia) : ภาวะบอดการเคลื่อนไหว เป็น ภาวะไร้ความสามารถในการรับรู้การเคลื่อนไหว ภาวะนี้อาจทำให้ผู้ป่วยเห็นวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เป็นภาพนิ่งเปลี่ยนไปเป็นชุดๆ คล้ายกับวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ภายใต้แสงแฟลชรัวๆ หากความผิดปกตินั้นรุนแรงมาก อาจทำให้ไม่เห็นการเคลื่อนไหวใดๆ เลย
- ภาวะเสียการระลึกรู้ทางหู (Auditory Agnosia) : ภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้หรือประมวลผลเสียงที่ได้ยินแม้จะมีการได้ยินที่สมบูรณ์ก็ตาม ภาวะดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อสมองส่วน A1 ซึ่งทำหน้าที่ประมวลผลเสียงของสมองถูกตัดการเชื่อมต่อจากสมองส่วนแปลภาษา แต่ผู้ป่วยยังสามารถอ่าน เขียน และพูดได้เช่นเดิม
- ภาวะ Phonagnosia : ภาวะเสียการระลึกรู้ดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้และระบุเสียงที่คุ้นเคยได้ เกิดขึ้นเมื่อสมองส่วนหนึ่งของบริเวณทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินได้รับความเสียหาย ซึ่งสมองส่วนนี้จะตั้งอยู่ในครึ่งสมองทางขวา ผู้ป่วยยังสามารถเข้าใจคำที่ผู้อื่นพูดได้ตามปกติและยังสามารถรับรู้เสียงสิ่งแวดล้อมหรือเสียงที่เกิดจากวัตถุต่างๆ ได้เช่นเดิม
- ภาวะเสียการระลึกรู้ทางสัมผัส : การที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้วัตถุได้โดยการสัมผัส แต่อาจรู้สึกถึงน้ำหนักของวัตถุ โดยผู้ป่วยอาจไม่เข้าใจความสำคัญหรือการใช้งานของวัตถุดังกล่าว สาเหตุของความผิดปกติดังกล่าวมักเกิดจากรอยโรคในกลีบสมองส่วนด้านข้าง
- ภาวะเสียการระลึกรู้สัมผัสทางกาย (Astereoagnosia) : ภาวะที่ไม่สามารถระบุวัตถุได้โดยการสัมผัสเพียงอย่างเดียว ภาวะดังกล่าวนี้ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับขนาด น้ำหนัก และพื้นผิวของวัตถุที่สัมผัสได้ด้วยคำพูดที่เหมาะสม แต่ยังสามารถเรียกชื่อวัตถุบนภาพยังสามารถวาดรูปวัตถุ และเข้าไปหยิบจับวัตถุเหล่านั้นได้ตามปกติ
- ภาวะ Autotopagnosia : ภาวะเสียการระลึกรู้ชนิดนี้ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการปรับทิศทาง หรือจัดระเบียบอวัยวะของร่างกายของคุณเอง ตามปกติ ผู้ป่วยจะรับรู้ได้ว่าแขนขาอยู่ตรงไหนเป็นอย่างไรตลอดเวลาแม้จะหลับตาก็ตาม แต่การรับรู้นี้จะผิดเพี้ยนไปเมื่อสมองของร่างกายได้รับความเสียหาย โดยภาวะนี้เกิดจากความเสียหายต่อกลีบสมองข้างด้านซ้าย
ที่มาของข้อมูล
Rachel Barclay, What Causes Agnosia? (https://www.healthline.com/symptom/agnosia), January 3, 2017.