เลสิก (LASIK) เป็นวิธีผ่าตัดรักษาสายตาวิธีแรกที่เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เพราะความมหัศจรรย์ของเทคโนโลยีการแพทย์ที่ใช้เวลาเพียง 20 นาทีก็เปลี่ยนโลกมัวๆ ของคนสายตาสั้นให้สดใสขึ้นทันตาเห็น
คำว่า “เลสิก” จึงกลายเป็นคำใช้เรียกรวมๆ แทนความหมายของการผ่าตัดรักษาสายตา (Refractive Surgery)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ในความจริงแล้วไม่ใช่มีแต่วิธีเลสิกเท่านั้น ยังมีการใช้เลเซอร์วิธีอื่น หรือการผ่าตัดชนิดอื่นให้แพทย์และคนไข้พิจารณาร่วมกัน เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมลงตัวตามสภาพตา การใช้งาน ความคาดหวัง และงบประมาณ
หลักการของการผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติ มี 2 ประเภท ได้แก่
- การเปลี่ยนความโค้งกระจกตาโดยใช้เลเซอร์ (Laser vision correction หรือ LVC) ซึ่งทำที่ผิวตาด้านนอก
- การผ่าตัดรักษาสายตาผิดปกติโดยการใส่เลนสังเคราะห์
คนส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าหมายไปที่วิธีเลเซอร์ที่กระจกตามากกว่าการใส่เลนส์สังเคราะห์เข้าไปในตา อาจเพราะคำว่า “เลเซอร์” ฟังดูไฮเทค แม่นยำ ไม่น่ากลัว และน่าจะไม่เจ็บ
อีกทั้งการทำอะไรกับผิวตาอย่างกระจกตา ก็เป็นส่วนที่เข้าถึงง่ายและคุ้นเคยสำหรับคนที่ใส่คอนแทกต์เลนส์อยู่แล้ว ขั้นตอนการเตรียมตัวเลเซอร์กระจกตาก็ไม่ยุ่งยาก
ปัจจุบันการผ่าตัดรักษาสายตาจึงเน้นการพิจารณาเลือกทำที่กระจกตาเป็นหลัก แต่หากตรวจแล้วแพทย์พบว่ารักษาที่กระจกตาไม่ได้ จึงค่อยพิจารณาการผ่าตัดใส่เลนส์สังเคราะห์เข้าในลูกตาเป็นทางเลือกลำดับต่อไป แต่ละวิธีมีรายละเอียดดังนี้
1. กลุ่มวิธีผ่าตัดรักษาสายตาด้วยเลเซอร์ (Laser Vision correction: LVC)
เป็นการผ่าตัดที่กระจกตา ซึ่งเป็นส่วนที่ใส รูปร่างโค้ง อยู่ผิวนอกของลูกตา หลักการคือ ใช้เอกไซเมอร์เลเซอร์ (Excimer Laser) ในการเจียปรับแต่งกระจกตา โดยเลเซอร์จะต้องเข้าถึงชั้นกลาง (Stroma) ของกระจกตา
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท คลิกเลย!
เมื่อกระจกตาถูกเจียแต่งเนื้อเยื่อ เนื้อเยื่อส่วนหนึ่งจะหายไป กระจกตาย่อมบางลง แต่รูปทรงจะพอดิบพอดี เพื่อให้แสงที่ผ่านกระจกตาที่มีความโค้งพอดีแล้วนี้ ไปโฟกัสที่จอประสาทตาพอดี การมองเห็นจึงจะชัดเจน
จนถึงปัจจุบัน เลเซอร์รักษาสายตาได้รับการพัฒนาจนเกิดเป็นวิธีย่อยๆ หลายวิธีแต่ยังคงหลักการเดียวกัน ขอเล่าโดยเรียงลำดับตามวิธีที่เกิดขึ้นก่อนจนถึงวิธีล่าสุด ได้แก่ PRK, LASIK และ ReLEx (SMILE)
1.1 พีอาร์เค (PRK)
เป็นวิธีการรักษาสายตาที่เกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ ประมาณ พ.ศ. 2530 แม้จะเป็นวิธีเก่าแต่ไม่ล้าสมัย โดยใช้ Excimer laser รักษาเช่นกัน
ดังที่กล่าวไว้แล้วว่า เลเซอร์จะต้องเข้าไปถึงกระจกตาชั้นกลาง (Stroma) ไม่เลเซอร์ปรับทรงกระจกตาที่ชั้นผิวนอก (Epithelium)
ดังนั้น เพื่อให้เลเซอร์เข้าถึงชั้นกลาง แพทย์จะต้องลอกผิวกระจกตาชั้นนอกออกก่อน แล้วค่อยเลเซอร์ไปที่เนื้อเยื่อชั้นกลางของกระจกตา
วิธีนี้ แม้จะมีความแม่นยำดี แต่การฟื้นสภาพการมองเห็นจะช้า เนื่องจากกว่าชั้นผิวกระจกตาที่ถูกลอกออกไปจะงอกมาปิดแผล ใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน แต่ผลการรักษาถือว่าดีเทียบเท่ากับวิธีสมัยใหม่ได้ในสายตาสั้นไม่เกิน 600
ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 25,500 บาท คลิกเลย!
อ่านต่อ: ทำ PRK ผ่าตัดรักษาสายตา ข้อจำกัดน้อย ราคาไม่สูง
1.2 เลสิก (LASIK)
ถูกพัฒนาขึ้นมาหลัง PRK เพียง 2-3 ปี มีหลักการเดียวกันกับ PRK แต่ต่างตรงวิธีการเข้าถึงเนื้อเยื่อกระจกตาชั้นกลางให้ง่ายขึ้น แทนที่จะต้องลอกผิวกระจกตาออก วิธีเลสิก ใช้หลักการแยกชั้นนอกกับชั้นกลางกระจกตาออกจากกันแล้วยกเปิดชั้นผิวขึ้นเป็นแผ่น หรือ Flap
ตั้งแต่แรกเริ่มยุคของเลสิก แพทย์ใช้เครื่องแยกชั้นกระจกตา (Microkeratome) ที่ประกอบด้วยแยกชั้นกระจกตาให้มีความหนาประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของกระจกตาทั้งหมด แล้วใช้ Excimer Laser เจียกระจกตาแล้วจึงปิดชั้นผิวกระจกตา (Flap) เข้าที่เดิม ทำให้เจ็บแผลน้อยมาก
เกิน 90% ของคนไข้ การมองเห็นจะฟื้นตัวเร็วจนชัดในระดับใช้งานได้เลยในวันรุ่งขึ้น
การใช้เครื่องแยกชั้นกระจกตา (Microkeratome) ประกอบด้วยใบมีดมีความปลอดภัยมากก็จริง แต่การตัดของเครื่องมือเชิงกลนั้นสามารถก่อให้เกิดเหตุไม่คาดฝันได้บ้าง
จึงมีการพัฒนาเลเซอร์อีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า เฟมโตเซคันเลเซอร์ (Femtosecond Laser) มาใช้แยกชั้นกระจกตาแทนใบมีด ซึ่งมีความปลอดภัยสูงและควบคุมได้แม่นยำกว่าใบมีด
ปัจจุบันเวลาพูดถึงเลสิก ก็มักจะมีคำศัพท์จำแนกระดับเทคโนโลยี โดยการทำเลสิกที่ใช้ใบมีดเปิด Flap ก็มักจะเรียกว่าเลสิกดังเดิม แต่หากใช้เฟมโตเซคันเลเซอร์ ในการเปิด Flap มักจะเรียกว่า FemtoLASIK
อ่านต่อ: อธิบายเลสิก (Lasik) แบบรวบรัด กระชับ เข้าใจง่าย
1.3 รีเล็กซ์ (ReLEx หรือ SMILE)
เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่งมีมาประมาณ 10 ปีนี้เอง โดยไม่จำเป็นต้องใช้เอกไซเมอร์เลเซอร์ และไม่จำเป็นต้องแยกชั้นกระจกตาเปิดเป็น Flap แต่อย่างใด
แค่ใช้ Femtosecond Laser เจียแต่งเนื้อเยื่อกระจกตา โดยตัดแยกเอาเนื้อเยื่อชั้นกลางของกระจกตาที่เปรียบเสมือนเป็น “ส่วนเกิน” แล้วนำออกผ่านแผลเล็กขนาด 2-4 มิลลิเมตร
อ่านต่อ: ทำ ReLEx ผ่าตัดรักษาสายตา เทคโนโลยีล่าสุด เจ็บตัวน้อย ภาพคมชัด
2. กลุ่มวิธีผ่าตัดรักษาสายตาโดยใส่เลนส์สังเคราะห์เข้าไปในลูกตา
การรักษาสายตาด้วยการผ่าตัดใส่เลนส์สังเคราะห์เข้าไปในลูกตา ได้แก่ การใส่เลนส์เสริม (ICL) และการใส่เลนส์เทียม IOL) แต่ละแบบมีรายละเอียดดังนี้
2.1 การใส่เลนส์เสริม (Intraocular Contact Lens: ICL)
สำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นมาก การทำเลเซอร์เพื่อทำให้กระจกตาบางก็ย่อมต้องทำให้บางลงมากจนอาจบางเกินที่จะคงความแข็งแรงของลูกตาไว้ได้ หรือบางรายสายตาสั้นไม่มากแต่กระจกตาบางผิดปกติไม่แข็งแรงอยู่แล้ว
หากจะรักษาสายตา ก็ไม่ควรใช้วิธีเลเซอร์แต่หันมาเลือกใช้วิธีใส่เลนส์เสริมเข้าไปในตาแทน
วิธีนี้จะมีการเจาะแผลเล็กๆที่ขอบกระจกตา แล้วสอดเลนส์เสริมเข้าไปอยู่หลังม่านตาหน้าเลนส์แก้วตาธรรมชาติ เพื่อช่วยปรับโฟกัสในตา โดยเก็บเลนส์แก้วตาตามธรรมชาติไว้ตามเดิม
อ่านต่อ: ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic ICL คืออะไร อันตรายไหม?
2.2 การใส่เลนส์เทียม (Intraocular Lens: IOL)
สำหรับผู้ที่มีค่าสายตาแต่อายุเข้าสู่วัยกลางคน เลนส์แก้วตาตามธรรมชาติเริ่มเหลืองขุ่น ถึงสายตาไม่มาก สภาพตาอยู่ในเกณฑ์ทำเลเซอร์รักษาสายตาได้
ปัญหาคือ ต่อให้เราแต่งรูปทรงกระจกตาจนอยู่ในเกณฑ์ดี แสงที่ผ่านกระจกตาเข้าไปในตา ก็ต้องผ่านเลนส์แก้วตาเป็นลำดับต่อไปก่อนจะไปโฟกัส ซึ่งเลนส์แก้วตาที่ปราศจากความใส แถมนับวันแต่จะขุ่นมัวลงตามอายุ ก็ไม่ทำให้เห็นภาพได้คมชัดดีดังหวัง
การรักษาวิธีนี้ก็เหมือนการผ่าตัดรักษาต้อกระจก โดยการสลายเลนส์แก้วตาเสื่อมคุณภาพทิ้งไป แล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมที่เลือกให้พอดีกับสายตาเข้าไปแทนที่ คนไข้ก็จะมีสายตาที่ดีขึ้นได้ และจะไม่ต้องผ่าตัดรักษาต้อกระจกอีก
อ่านต่อ: ผ่าตัดเสริมเลนส์ Phakic IOL รักษาสายตาสั้น ยาว เอียง คืออะไร อันตรายไหม?
เพื่อความเข้าใจ การผ่าตัดรักษาสายตาทุกวิธีที่กล่าวมามีจุดประสงค์หลัก คือ แก้ไขโครงสร้างกระจกตา หรือลูกตาที่สร้างมารูปทรงไม่พอดี อันเป็นสาเหตุของสายตาสั้น สายตายาวโดยกำเนิด และสายตาเอียงเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถรักษาภาวะสายตายาวตามอายุได้ เนื่องจากสายตายาวตามอายุไม่ได้เกิดจากโครงสร้างกระจกตา แต่เกิดจากกล้ามเนื้อภายในตาที่ช่วยปรับโฟกัสมองใกล้เสื่อมสภาพขาดความยืดหยุ่นไปตามวัย
วิธีผ่าตัดรักษาสายตาดังกล่าวมาทั้งหมด ไม่มีวิธีใดเลยทำให้กล้ามเนื้อภายในตาย้อนเวลากลับมายืดหยุ่นเหมือนในวัยหนุ่มสาวได้
จะเห็นได้ว่า เลสิก ไม่เท่ากับการรักษาสายตา และปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุดสำหรับดวงตาทุกคู่ เพราะดวงตาแต่ละดวง มีความแตกต่าง ทั้งอายุ ค่าสายตา ปัญหาสุขภาพตา ตลอดจนการใช้งาน
ดังนั้น หากคุณคิดจะรับการผ่าตัดรักษาสายตา จำเป็นจะต้องไปรับการตรวจประเมินสภาพตาโดยละเอียดและรับคำปรึกษาแนะนำโดยเฉพาะเจาะจงสำหรับคุณจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน
บทความที่เกี่ยวข้อง
รีวิว Femto LASIK ทำเลสิกไร้ใบมีด ที่ โรงพยาบาลปิยะเวท | HDmall
รีวิว ทำเลสิกไร้ใบมีด FEMTO LASIK ที่ โรงพยาบาลพญาไท 3 | HDmall
รีวิว ทำเลสิก โรงพยาบาลยันฮี ตาใหม่ ชีวิตใหม่ | HDmall
เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจทำเลสิก จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android