กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

แผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ (Venous leg ulcers)

เผยแพร่ครั้งแรก 31 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 9 นาที

แผลที่ขาเป็นการบาดเจ็บที่สร้างความเจ็บปวดระยะยาว (เรื้อรัง) เป็นเวลานานกว่า 4 ถึง 6 สัปดาห์ แผลมักจะเกิดขึ้นภายนอกขาเหนือข้อเท้าขึ้นไป

อาการของแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำมีทั้งความเจ็บปวด คันและบวม อีกทั้งผิวหนังโดยรอบแผลอาจมีผิวหนังหนาตัวกับสีผิวเปลี่ยน และอาการปวดยังอาจมีของเสียกลิ่นแรงขับออกมาได้อีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ให้คุณไปพบแพทย์ทันทีที่คุณคาดว่าตนเองมีภาวะแผลที่ขาเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการรักษาต่อไป

แพทย์จะดำเนินการตรวจสอบขาและจัดการทดสอบตามความจำเป็นเพื่อกำจัดความเป็นไปได้ของภาวะอื่น ๆ

อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ?

แผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำเป็นภาวะแผลที่ขาที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเกิดขึ้นมากกว่า 90% ของกรณีผู้ป่วยภาวะแผลที่ขาทั้งหมด

ภาวะแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำมักจะเกิดขึ้นภายหลังการบาดเจ็บเล็กน้อยที่ทำให้เกิดแรงดันสูงในเส้นเลือดดำที่ขาจนสร้างความเสียหายกับผิวหนัง

ใครสามารถประสบกับแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำได้บ้าง?

แผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำจะพบได้บ่อยขึ้นตามอายุที่มากขึ้น โดยคาดประมาณว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป 1 คนจาก 50 คนจะประสบกับภาวะบาดเจ็บเช่นนี้

คุณจะมีความเสี่ยงมากขึ้นหากว่าคุณเคยเป็นภาวะหลอดเลือดดำตีบตัน (DVT) หรือมีความลำบากในการเดินเนื่องจากมีปัญหาต่อไปนี้: เป็นโรคกระดูกพรุน มีการบาดเจ็บที่ขา มีภาวะอ้วน เป็นอัมพาต

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คุณยังจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหากว่าคุณเคยเข้ารับการผ่าตัดที่ขามาก่อน อย่างเช่นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม หรือเปลี่ยนข้อเข่า เป็นต้น

ผู้ที่มีภาวะเส้นเลือดดำขอด (หลอดเลือดดำขยายตัว) จะมีความเสี่ยงต่อภาวะแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำมากกว่าผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ข้างต้น

สามารถรักษาแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำได้อย่างไร?

แผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำส่วนมากจะฟื้นตัวภายใน 3 ถึง 4 เดือนหากเข้ารับการรักษากับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่ฝึกฝนการบำบัดสำหรับแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ แต่ก็มีแผลบางประเภทที่อาจใช้เวลาฟื้นตัวนานกว่านั้น และยังมีผู้บาดเจ็บจำนวนน้อยที่ไม่มีทางหายจากแผลได้

การรักษาแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำมักจะมีทั้ง: การทำความสะอาดและปิดแผล การบีบรัด อย่างเช่นการพันผ้าหรือสวมถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อเพื่อควบคุมการไหลเวียนของเลือดที่ขาให้ดีขึ้น

อีกทั้งอาจมีการใช้ยาปฏิชีวนะหากแผลมีการติดเชื้อขึ้น ซึ่งยาเหล่านี้ไม่ได้มีเพื่อเยียวยาแผลแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีความเสี่ยงที่แผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำจะกลับมาภายหลังการรักษาอยู่ เว้นแต่แพทย์จะสามารถพบสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะขึ้นได้ โดยสาเหตุของภาวะเหล่านั้นอาจเป็นทั้งการที่ไม่ขยับร่างกาย ภาวะอ้วน DVT หรือภาวะเส้นเลือดดำขอดก็ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

สามารถป้องกันการเกิดภาวะแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำได้หรือไม่?

มีหลายวิธีที่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสามารถทำเพื่อป้องกันการเกิดแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำได้อย่างเช่น: สวมใส่ถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อ ลดน้ำหนักหากคุณมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ยกขาให้สูงทุกครั้งเมื่อทำได้

หากคุณเคยประสบกับแผลที่ขามาแล้ว ขั้นตอนการดูแลป้องกันตนเองข้างต้นจะเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ซึ่งภาวะแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำที่เคยเป็นมาครั้งหนึ่งแล้วคุณจะมีความเสี่ยงที่จะประสบกับภาวะแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำอีกครั้ง

อาการของแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ

แผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำมักจะเป็นแผลเปิดที่สร้างความเจ็บปวดที่ผิวหนัง และต้องใช้เวลานานมากกว่าหนึ่งเดือนกว่าจะหาย แผลที่เกิดขึ้นมักจะเกิดภายในขาในตำแหน่งที่อยู่เหนือข้อเท้า

หากคุณเป็นแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ คุณอาจจะมีอาการดังต่อไปนี้: ข้อเท้าบวม (บวมน้ำ) ผิวหนังรอบแผลสีคล้ำขึ้น ผิวหนังรอบแผลหนาตัวจนอาจทำให้รู้สึกขาแข็ง หรืออาจทำให้รูปร่างขาแปลกไป (อาจมีรูปร่างคล้ายขวดไวน์คว่ำ) รู้สึกหนักขา ขามีอาการคันหรือบวม ขามีอาการแดง แตก หลุดสะเก็ด หรือคัน (โรคผื่นผิวหนังอักเสบที่ข้อเท้า) เส้นเลือดที่ขาบวมและขยายตัวขึ้น (โรคเส้นเลือดขอด) มีของเสียกลิ่นแรงขับออกจากแผล

สัญญาณของการติดเชื้อ

แผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำจะมีความอ่อนไหวต่อการติดเชื้อแบคทีเรียมาก โดยอาการของภาวะติดเชื้อที่แผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำมีดังนี้: อาการเจ็บปวดทรุดลง มีของเสียสีเขียวกลิ่นแรงออกจากแผล ผิวหนังรอบแผลแดงบวม มีไข้สูง

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร?

ให้ติดต่อแพทย์ทันทีที่คุณคาดว่าตนเองมีแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ เนื่องจากแผลประเภทนี้จะไม่หายเอง และต้องเข้ารับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

คุณควรทำการติดต่อแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านแผลที่ขาหากคุณถูกวินิจฉัยว่าเป็นแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ และมีอาการที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ

สาเหตุการเกิดแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ

แผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำมักจะเกิดขึ้นหลังการบาดเจ็บเล็กน้อยที่กระทบกับการไหลเวียนของเลือดที่ขา หากเกิดเช่นนี้ขึ้นแรงดันภายในเส้นเลือดดำจะเพิ่มขึ้นจนสร้างความเสียหายกับหลอดเลือดขนาดเล็กต่าง ๆ ในผิวหนังจนทำให้ผิวหนังบอบบางมากขึ้น ซึ่งผลที่ตามมาคือผิวหนังจะแตกได้ง่ายขึ้นจนสามารถเกิดแผลขึ้นได้จากการชนหรือเกาปกติ

หากคุณไม่เข้ารับการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราการไหลเวียนโลหิตที่ขา แผลที่เกิดขึ้นจะไม่มีทางหาย

การวินิจฉัยแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ

ให้ติดต่อแพทย์ทันทีที่คุณคาดว่าตนเองมีแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำเนื่องจากแผลประเภทนี้จะไม่หายเองหากไม่ได้รับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ

การวินิจฉัยส่วนมากจะขึ้นอยู่กับอาการและการตรวจร่างกายบริเวณขาที่มีอาการ ซึ่งอาจมีการทดสอบอื่น ๆ ตามความจำเป็น

ประวัติการรักษาและการตรวจร่างกาย

แพทย์หรือพยาบาลจะสอบถามอาการต่าง ๆ ที่คุณประสบ อย่างเช่น: การบวมที่ข้อเท้า ผิวหนังเปลี่ยนสีหรือแข็งตัวขึ้น

แพทย์จะพยายามชี้ชัดสาเหตุของการเกิดแผลด้วยการสอบถามเกี่ยวกับภาวะหรือการบาดเจ็บที่คุณประสบมา เช่น: เบาหวาน โรคหลอดเลือดดำอุดตัน (DVT) การบาดเจ็บหรือการผ่าตัดขาข้างที่มีอาการ การเกิดแผลที่ขามาก่อนในอดีต

แพทย์จะทำการตรวจขอทั้งสองข้างขณะที่คุณยืนขึ้นและนอนลง เนื่องจากว่าภาวะเส้นเลือดดำขอดจะปรากฏออกมาชัดเจนที่สุดขณะที่คุณลุกขึ้นยืน และแพทย์จะมองดูแผลที่ขาได้ง่ายกว่าหากคุณนอนอยู่

อีกทั้งจะมีการตรวจชีพจรที่ข้อเท้าเพื่อดูการทำงานของหลอดเลือดแดงที่ขาว่าทำงานได้ตามปรกติหรือไม่อีกด้วย

การตรวจ Doppler study

ในการกำจัดความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบนั้น แพทย์หรือพยาบาลจะจัดการทดสอบ Doppler ขึ้นเพื่อวัดความดันโลหิตที่ข้อเท้าและเทียบกับความดันที่แขนของคุณ หากคุณเป็นโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ความดันโลหิตของข้อเท้าคุณจะมีค่าน้อยกว่าที่แขน

การทดสอบนี้ยังเป็นหนึ่งในกระบวนการที่ต้องดำเนินก่อนการรักษาภาวะมีแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำซึ่งต้องมีการรัดหรือบีบกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มการไหลเวียนโลหิตที่ขาขึ้น ดังนั้นการบีบรัดเส้นเลือดแดงที่ข้อเท้าจะไม่ปลอดภัยหากเส้นเลือดที่ข้อเท้ามีความดันต่ำ

การส่งตัวไปพบผู้เชี่ยวชาญ

ในบางกรณีแพทย์หรือพยาบาลอาจตัดสินใจส่งตัวคุณไปพบผู้เชี่ยวชาญด้านหลอดเลือด ยกตัวอย่างเช่นคุณอาจถูกส่งไปพบผู้เชี่ยวชาญหากว่าแพทย์หรือพยาบาลไม่มั่นใจกับผลการวินิจฉัย หรือคาดกันว่าแผลที่เกิดขึ้นที่ขาเป็นเพราะโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดแดง เบาหวาน หรือโรคข้อต่ออักเสบรูมาตอยด์

หลังจากตรวจร่างกายและประวัติสุขภาพของคุณ ผู้เชี่ยวชาญจะดำเนินการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อจัดทำแผนการรักษาคุณต่อไป

การรักษาแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ

แผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำส่วนมากจะฟื้นตัวกลับมาภายใน 3 ถึง 4 เดือนหากเข้ารับการรักษากับผู้เชี่ยวชาญที่ชำนาญการบำบัดภาวะนี้โดยเฉพาะ

การทำความสะอาดและปิดแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ

ขั้นตอนแรกคือการกำจัดสิ่งตกค้างหรือเนื้อเยื่อที่ตายแล้วจากแผลและทำการปิดแผลด้วยวัสดุสำหรับปิดแผลเพื่อให้ปากแผลใช้เวลาสมานตัวเอง

หากใช้ผ้าปิดแผลที่ไม่เหนียว ต้องทำการเปลี่ยนผ้าปิดหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งหลายคนจะสามารถจัดการทำความสะอาดและปิดแผลเองได้หลังจากได้รับคำชี้แนะจากแพทย์หรือพยาบาล

การบีบรัด

เพื่อให้การไหลเวียนโลหิตที่ขาเป็นไปได้ดีจนเยียวยาอาการบวมนั้น พยาบาลจะทำการรัดผ้าพันแผลเหนือขาข้างที่มีอาการเพื่อเร่งการไหลเวียนเลือดขึ้นไปข้างบนสู่หัวใจให้ดีขึ้น

วิธีการรัดสามารถทำได้หลายวิธีตั้งแต่การใช้ผ้าพันแผลหรือใช้ถุงเท้าอีลาสติกที่ต้องพันหลาย ๆ ชั้นก็ได้ ซึ่งการรัดเช่นนี้ต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ผ้าที่ใช้จะต้องถูกเปลี่ยนหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์

เมื่อมีการใช้ผ้ารัดกับแผลที่ขาครั้งแรกสุด มักจะมีอาการเจ็บปวดอย่างมาก ซึ่งแพทย์จะจ่ายยาพาราเซตตามอลหรือยาแก้ปวดอื่น ๆ แก่คุณเพื่อบรรเทาอาการปวดที่เกิดขึ้นไปก่อนจนกว่าแผลจะเริ่มสมานตัว ซึ่งอาจใช้เวลานาน 10-12 วัน

คุณต้องทำการสวมผ้ารัดเช่นนี้ทุกวันตามที่แพทย์กำหนดไว้ หากคุณมีปัญหาอะไรขึ้นมาให้รีบติดต่อแพทย์หรือพยาบาลผู้ดูแลทันที ห้ามแก้ไขด้วยตนเองเด็ดขาด หากคุณมีความรู้สึกไม่สบายขาข้างที่ถูกรัดหรือผ้ารัดแน่นเกินไป การเดินสั้น ๆ จะสามารถช่วยบรรเทาความรู้สึกเหล่านี้ได้บ้าง

แต่คุณต้องทำการตัดหรือถอดผ้ารัดออกหากว่า: มีอาการเจ็บปวดรุนแรงบริเวณหน้าข้อเท้า มีความเจ็บปวดรุนแรงบนยอดเท้า เท้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินและบวมออก

เมื่อคุณปลดผ้ารัดออก คุณต้องพยายามยกขาให้สูงและติดต่อแพทย์ทันทีที่ทำได้

สถานพยาบาลบางแห่งอาจมีการใช้ผ้ารัดกล้ามเนื้อแบบอื่น ๆ หรือใช้วิธีรัดด้วยอุปกรณ์อื่นแทน ซึ่งหากคุณเปลี่ยนสถานที่รักษาตัวคุณไป คุณต้องทำการแจ้งวิธีที่คุณเคยปฏิบัติมากับแพทย์ที่ประจำสถานพยาบาลแห่งใหม่ทุกครั้งเนื่องจากบางวิธีอาจส่งผลต่อแผนการรักษาในอนาคต

การรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับภาวะแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ

อาการบวมที่ขาและข้อเท้า

แผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำมักจะก่อให้เกิดอาการบวมที่เท้าและข้อเท้า (บวมน้ำ) ซึ่งเป็นผลมาจากการคั่งของของเหลวภายใน และสามารถควบคุมภาวะได้ด้วยการใช้ผ้ารัด

การยกเท้าข้างที่มีอาการให้สูงขึ้นจนอยู่ในระดับเดียวกับดวงตา (จะดีที่สุด) สามารถช่วยลดอาการบวมได้ ดังนั้นคุณจึงควรเตรียมกระเป๋า หมอน โฟม หรือสิ่งของอื่น ๆ มาเพื่อหนุนของคุณขึ้นขณะที่คุณนอนหลับด้วย

คุณควรพยายามทำตัวให้กระฉับกระเฉงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยตั้งเป้าหมายให้คุณสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และควรเพิ่มเติมด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างเช่นออกไปเดินทุกวันเพื่อลดอาการบวมที่ขาลง พยายามไม่นั่งหรือยืนเป็นเวลานาน ๆ  คุณควรทำการยกเท้าขึ้นสูงอย่างน้อยทุก ๆ ชั่วโมง

อาการคันที่ผิวหนัง

ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคันที่ผิวหนังอย่างการมีผื่นขึ้นเกล็ดและคันที่ผิวหนัง

อาการเช่นนี้เกิดขึ้นเนื่องจากการคั่งของเลือดที่ขาซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการใช้สารเพิ่มความชุ่มชื้นและทายาคอร์ติโคสเตียรอยด์บาง ๆ ที่ผิวหนังที่มีอาการ สำหรับกรณีหายากคุณอาจต้องเข้าพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการรักษา

อาการคันที่ผิวหนังอาจเป็นผลมาจากปฏิกิริยาแพ้ผ้าปิดแผลหรือครีมที่ใช้ก็ได้ หากเกิดเช่นนี้ขึ้นแพทย์จะจัดการทดสอบหาภาวะแพ้กับคุณ

สิ่งสำคัญคือคุณต้องพยายามไม่เกาขาที่มีอาการคันเพราะอาจไปสร้างความเสียหายแก่ผิวหนังและทำให้เกิดแผลเพิ่มเติมได้

การดูแลตนเองระหว่างรับการรักษา

ในการเร่งกระบวนการสมานตัวของแผลที่ขา คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้:

พยายามอย่าอยู่นิ่งนานเกินไป การนั่งหรือยืนเป็นเวลานานโดยไม่ยกเท้าขึ้นสูงจะทำให้แผลที่ขาแย่ลงหรือบวมขึ้นได้

เมื่อคุณนอนหรือนั่งอยู่ พยายามยกเท้าที่มาอาการให้สูงโดยระดับที่ดีที่สุดคือให้นิ้วเท้าอยู่ระดับเดียวกับดวงตาของคุณ

ออกกำลังขาเป็นประจำด้วยการขยับเท้าขึ้นลงและบิดข้อเท้าไปมาเพื่อเร่งการไหลเวียนโลหิต

หากคุณมีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวมาก พยายามลดน้ำหนักด้วยการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

งดบุหรี่และลดปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ลงเพื่อช่วยให้กระบวนการฟื้นตัวของแผลเร็วขึ้น

พยายามระมัดระวังตนเองไม่สร้างบาดแผลที่ขาข้างที่มีอาการเพิ่มด้วยการสวมรองเท้าที่พอดีเท้า

การรักษาแผลติดเชื้อ

แผลอาจมีการขับของเสียปริมาณมากออกมาและมีอาการเจ็บปวดมากขึ้นได้ อีกทั้งอาจมีรอบแผลเป็นสีแดงได้ ซึ่งอาการเหล่านี้รวมถึงความไม่สบายตัวที่รู้สึกได้จะบ่งชี้ถึงการติดเชื้อ

หากแผลที่ขาของคุณติดเชื้อ ควรทำความสะอาดและปิดแผลไว้ตามปกติ

คุณควรทำการยกเท้าขึ้นสูงให้มากที่สุด และใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 7 วันติดกันเพื่อกำจัดการติดเชื้อออกให้หมด ซึ่งยาปฏิชีวนะจะไม่ได้ช่วยกระบวนการฟื้นตัวของแผลแต่อย่างใด และคุณสามารถใช้ยาปฏิชีวนะได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ ตามที่กำหนดเท่านั้น

การนัดหมายติดตามผล

คุณควรเข้าพบแพทย์หรือพยาบาลหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์เพื่อเปลี่ยนผ้าปิดแผลหรือเปลี่ยนผ้ารัดขา อีกทั้งยังเพื่อให้แพทย์ติดตามการฟื้นตัวของแผลอย่างใกล้ชิด หากแพทย์มองว่าแผลมีการฟื้นตัวที่ดีมาก พวกเขาจะทำการนัดหมายคุณถี่น้อยลงไปเอง

หลังจากหายจากแผลที่ขา

เมื่อแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำของคุณหายดี ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดแผลใหม่ขึ้นภายในเวลาไม่กี่เดือนหรือไม่กี่ปีหลังจากนี้อยู่

วิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือการสวมถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อตลอดเวลานับตั้งแต่ที่คุณตื่นนอน โดยแพทย์และพยาบาลจะเป็นผู้จัดหาถุงเท้าที่พอดีกับคุณและจะคอยให้คำแนะนำการดูแลตัวเองต่อไป

อีกทั้งตามท้องตลาดก็มีอุปกรณ์มากมายที่ช่วยในการถอดหรือใส่ถุงเท้าประเภทนี้เพื่อความสะดวกสบายของคุณเอง

การป้องกันแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำ

คุณสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำได้หลายวิธี อย่างเช่นการสวมถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อ ลดน้ำหนัก และดูแลผิวหนังของตนเอง

ผู้ที่มีความเสี่ยงจะเป็นแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำที่สุดคือผู้ที่เคยประสบกับแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำมาก่อน

ถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อ

หากคุณเคยเป็นแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำมาก่อน หรือคุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำสูง แพทย์จะแนะนำการรักษาด้วยการใช้ถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อเป็นอันดับแรก

ถุงเท้าประเภทนี้ถูกออกแบบมาให้บีบรัดขาของคุณเพื่อเร่งอัตราการไหลเวียนโลหิต ซึ่งจะมีความแน่นที่สุดในช่วงข้อเท้าและจะค่อย ๆ ผ่อนลงตามความยาวเพื่อเร่งให้เลือดไหลจากล่างขึ้นบนไปสู่หัวใจนั่นเอง

เพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุดคุณต้องสวมถุงเท้าประเภทนี้ทันทีที่ตื่นนอนและลุกจากเตียง ซึ่งคุณสามารถถอดถุงเท้านอนได้

ถุงเท้ารัดกล้ามเนื้อจะมีอยู่หลายขนาด หลายสี หลายรูปร่างและแรงรัด โดยแพทย์และพยาบาลจะเป็นคนหาถุงเท้าที่เหมาะสมกับคุณที่สุด ซึ่งคุณสามารถจัดหาอุปกรณ์ช่วยเหลือการใส่ถอดถุงเท้ามาใช้ได้ตามความสะดวก

ลดน้ำหนัก

หากคุณมีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวมาก การลดน้ำหนักจะสามารถช่วยรักษาและป้องกันภาวะแผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำได้เช่นกัน การที่มีน้ำหนักร่างกายเกินจะทำให้มีแรงดันภายในเส้นเลือดที่ขามากขึ้นจนอาจสร้างความเสียหายกับผิวหนังได้ แผลที่ขาจากโรคหลอดเลือดดำจึงพบได้บ่อยกับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักตัวมากที่สุด

คุณสามารถทำการลดน้ำหนักได้ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพและสมดุล เลี่ยงการนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน และยกขาให้สูงเข้าไว้เมื่อสามารถทำได้

การรักษาภาวะต้นเหตุ

การรักษาภาวะเส้นเลือดดำขอดจะสามารถป้องกันอาการขาบวมหรือแผลที่ขาได้ ซึ่งจะมีทั้งการสอดสายสวน (ด้วยท่อขนาดบางยาวและยืดหยุ่น) เข้าไปยังเส้นเลือดที่มีอาการและส่งคลื่นวิทยุหรือเลเซอร์ความถี่สูงเข้าไปปิดเส้นเลือดนั้น ๆ อีกวิธีคือการผ่าตัดนำเส้นเลือดที่เสียหายออกมาซ่อมแซมหรือกำจัดออกทั้งหมด


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ลัดดาวัลย์ เขียนสาร์, ปรียานุช มโนธรรม, จิรวรรธ สุดหล้า, สุพรรณี ลิอุโมงค์, การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดดำลึกที่ขาอุดตันด้วยเครื่อตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/radiology/sr/document/3/ch5.pdf)
my.clevelandclinic.org, Chronic Venous Insufficiency (CVI) (https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/16872-chronic-venous-insufficiency-cvi)
Elaine K. Luo, MD, Venous Insufficiency (https://www.healthline.com/health/venous-insufficiency), August 15, 2017

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เบาหวานขึ้นตามีวิธีรักษาอย่างไรบ้างค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ทำไมหนูปวดเมื่อยตรงสะบักมักจะปวดหัวทุกที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ความดันสูงมีสิทธิ์หายขาดมั้ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปวดหัวไมเกรนปวดมากๆเส้นเลือดในสมองจะแตกมั๊ยคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
อาการเวลาอากาศเย็นแล้วปวดขา ปวดนิ้วมือ เมื่อย เป็นเพราะอะไรครับ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)