โรคตาขี้เกียจ (Lazy eye)

โรคตาขี้เกียจ เป็นปัญหาทางสายตาชนิดหนึ่งที่มักเกิดขึ้นในเด็ก เกิดจากการใช้งานดวงตาเพียงข้างเดียว จนทำให้อีกข้างไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ สามารถรักษาให้หายขาดได้
เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 5 ส.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรคตาขี้เกียจ (Lazy eye)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคตาขี้เกียจ สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อสมองใช้งานดวงตาข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้าง เนื่องจากดวงตาอีกข้างอาจจะมองเห็นได้ไม่ค่อยดี เมื่อเวลาผ่านไปจะทำให้สมองเพิกเฉยต่อกระแสประสาทจากดวงตาข้างที่อ่อนแอหรือขี้เกียจ จึงทำให้การมองเห็นบกพร่อง รวมถึงสูญเสียการรับรู้ความลึกของภาพและระยะทาง โรคนี้มักเกิดขึ้นในเด็ก และเป็นสาเหตุหลักของปัญหาการมองเห็นในเด็ก

ดวงตาข้างที่มีอาการขี้เกียจจะไม่มีลักษณะที่ต่างไปจากดวงตาปกติ เพียงแต่อาจจะหมุนไปทางอื่นที่แตกต่างกันบ้าง ซึ่งแตกต่างจากโรคตาเหล่ ที่ดวงตาจะไม่หมุนและไม่ขยับตามดวงตาอีกข้างเลย และการเป็นโรคตาเหล่ ก็สามารถทำให้เป็นโรคตาขี้เกียจได้ หากตาที่เหล่ ไม่ได้ถูกใช้งานมากเท่าตาที่เป็นปกติ

อาการของโรคตาขี้เกียจ

โรคตาขี้เกียจ จะสังเกตอาการได้ค่อนข้างยาก เว้นแต่จะมีอาการรุนแรงแล้ว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่อไปนี้

  • เดินชนหรือกระแทกวัตถุด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษ
  • ดวงตาแกว่งเข้าหรือออก
  • ดวงตาไม่ทำงานไปด้วยกัน
  • รับรู้ระยะตื้นลึกได้น้อยลง เริ่มเห็นภาพซ้อน
  • ตาเหล่

สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ

โรคตาขี้เกียจมักเกี่ยวข้องกับปัญหาพัฒนาการในสมอง ซึ่งในกรณีนี้อาจเกิดจากทางเดินกระแสประสาทของระบบการมองเห็นในสมองทำงานไม่ถูกต้อง และจะยิ่งมีอาการรุนแรงมากขึ้นเมื่อดวงตาไม่ได้ใช้งานเท่าๆ กัน

มีโรคและความผิดปกติหลายชนิด ที่อาจทำให้มีการใช้ตาข้างใดข้างหนึ่งมากกว่าอีกข้างหนึ่ง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาขี้เกียจมากขึ้น ภาวะดังกล่าว ได้แก่

  • ตาเหล่
  • มีประวัติครอบครัวเป็นโรคตาขี้เกียจ
  • ระดับสายตาสองข้างไม่เท่ากัน
  • ตาข้างหนึ่งได้รับบาดเจ็บ
  • เปลือกตาข้างหนึ่งหย่อนคล้อย
  • การขาดวิตามินเอ
  • แผลหรือแผลเป็นในกระจกตา
  • การผ่าตัดตา
  • ความผิดปกติในการมองเห็น เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง

การวินิจฉัยโรคตาขี้เกียจ

โดยทั่วไปแล้วจักษุแพทย์จะตรวจสายตาเพื่อประเมินการมองเห็นในดวงตาทั้งสองข้าง ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาให้มีการตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • การระบุตัวอักษรหรือรูปร่างบนแผนภาพที่อยู่ไกลระดับหนึ่ง
  • การมองตามแสงด้วยตาทีละข้าง และมองด้วยตาทั้งสองข้างพร้อมกัน
  • การมองดวงตาโดยใช้แว่นขยาย

การรักษาโรคตาขี้เกียจ

ยิ่งรักษาโรคตาขี้เกียจเร็วเท่าไร ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะหายขาดได้เร็วมากขึ้น โดยวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมได้แก่

  • การใส่แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ : หากผู้ป่วยเป็นโรคตาขี้เกียจเพราะสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียงในดวงตาข้างหนึ่ง ก็สามารถรักษาด้วยการใส่แว่นตาแก้ไขค่าสายตาหรือใส่คอนแทคเลนส์ได้
  • ผ้าปิดตา : การสวมผ้าปิดตาในดวงตาข้างที่ทำงานหนัก จะช่วยให้ดวงตาอีกข้างที่อ่อนแอแข็งแรงขึ้นและทำงานได้มากขึ้น
  • ยาหยอดตา : อาจใช้วันละ 1-2 ครั้งเพื่อทำให้การมองเห็นข้างที่ปกติเบลอลงเล็กน้อย และกระตุ้นการทำงานของข้างที่ขี้เกียจมากขึ้น สามารถนำมาใช้ทดแทนในผู้ที่ไม่ชอบใส่ผ้าปิดตา
  • ศัลยกรรม : หากมีอาการตาเขหรือตาเหล่ร่วมอยู่ด้วย แพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาเพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าว

โรคตาขี้เกียจมักจะเกิดขึ้นในดวงตาข้างเดียว และมักเกิดในเด็ก ซึ่งผู้ปกครองส่วนมากก็มักไม่สังเกตเห็นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้นในระยะแรก ดังนั้น จึงควรให้เด็กเริ่มตรวจตาเมื่ออายุ 6 เดือน และตรวจซ้ำอีกครั้งในช่วงอายุ 3 ปี แม้จะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ก็ตาม และหลังจากนั้นควรให้เด็กได้รับการทดสอบสายตาตามปกติทุกสองปี ตั้งแต่อายุ 6 - 18 ปี

ที่มาของข้อมูล

Shannon Johnson, What causes lazy eye? (https://www.healthline.com/symptom/lazy-eye), February 29, 2016.


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Lazy eye (amblyopia): Symptoms, causes, and treatment. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/164512)
Lazy eye (amblyopia) - Symptoms and causes. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lazy-eye/symptoms-causes/syc-20352391)
Amblyopia (Lazy Eye): Causes, Symptoms, Diagnosis, and Treatment. WebMD. (https://www.webmd.com/eye-health/amblyopia-child-eyes)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)