กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด
เขียนโดย
กภ. ธีรวิทย์ วิโรจน์วิริยะกุล นักกายภาพบำบัด

นิ้วซ้น (Jammed finger)

เผยแพร่ครั้งแรก 14 พ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

นิ้วมือ เป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยให้มนุษย์สามารถใช้มือทำงานที่ละเอียดได้อย่างราบรื่น ถึงแม้เป็นข้อต่อนิ้วมือจะมีขนาดเล็ก แต่มีจำนวนมาก และเป็นจุดที่เกิดการเคลื่อนไหวมาก ดังนั้นเมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น เช่น เกิดนิ้วซ้น ขึ้น จึงส่งผลต่อการทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก

นิ้วซ้นคืออะไร?

นิ้วซ้น เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับข้อนิ้ว โดยอาจจะมีอาการปวด บวม มีสีเขียวคล้ำ งอข้อนิ้วได้ไม่สุด อาการใดอย่างหนึ่งหรือหลายอาการรวมกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ในภาษาอังกฤษ มักจะใช้คำว่า “Jammed finger” ซึ่งในทางการแพทย์อาจจะเกิดจากการบาดเจ็บเล็กน้อยของข้อนิ้วมือ (Finger injury) ฟกช้ำ (Contusion) ข้อต่อนิ้วเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งปกติ (Finger dislocation) หรือเอ็นยึดกระดูกบริเวณนิ้วบาดเจ็บ (Finger tendon sprain) หรือฉีกขาด (Finger tendon rupture)

โดยมากนิ้วซ้นมักจะพบในวัยรุ่น โดยเฉพาะจากการเล่นกี่ฬา เช่น บาสเกตบอส เบสบอล สามารถเกิดขึ้นกับนิ้วมือได้ทุกนิ้ว และทุกข้อต่อ ตั้งแต่ข้อต่อระหว่างกระดูกนิ้วมือและกระดูกฝ่ามือ (Metacarpophalangeal joint) ข้อต่อกระดูกนิ้วมือส่วนต้น (Proximal interphalangeal joint) และข้อต่อกระดูกนิ้วมือส่วนปลาย (Distal interphalangeal joint)

สาเหตุของนิ้วซ้น

นิ้วซ้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ กลไกลการเกิดนิ้วซ้นคือ มีแรงอัดกระทำอย่างรุนแรงต่อข้อนิ้วนั้นๆ ในขณะกางมือและเหยียดนิ้วมือออก ซึ่งอาจจะเกิดจากการออกแรงทำกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งอย่างรุนแรงและรวดเร็ว หรือหกล้มแล้วใช้มือยันพื้น แต่ที่พบมากที่สุดคือนิ้วซ้นจากการเล่นกีฬา โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องมีการโยน-รับลูกบอลอย่างรวดเร็ว

อาการของนิ้วซ้นมี

นิ้วซ้น เป็นคำเรียกที่รวมความผิดปกติของนิ้วไว้หลายอาการ ซึ่งความผิดที่อาจพบได้ มีดังนี้

  1. ปวดข้อนิ้ว
  2. มีการไหลเวียนของเลือดที่ผิดปกติ อาจสังเกตได้จากการที่นิ้วมีสีซีดลง หรือเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำเนื่องจากมีการบาดเจ็บของหลอดเลือดบริเวณนั้น
  3. บวม เป็นสาเหตุมาจากการเสียหายของหลอดเลือดบริเวณนั้นและเนื้อเยื่ออื่นๆ ที่บาดเจ็บ หรือมีการอักเสบเกิดขึ้น
  4. หากมีข้อนิ้วเคลื่อนที่ (Dislocation) ร่วมด้วย ก็จะพบว่าข้อนิ้วมีรูปร่างผิดปกติ ข้อนิ้วไม่อยู่ในตำแหน่งเดิม ไม่สามารถขยับข้อนิ้วได้ และมีอาการปวดมาก แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจะพบว่ามีอาการชา หรือไม่มีอาการปวดเลยก็ได้
  5. ในผู้ป่วยที่ปลายนิ้วถูกกระแทกอย่างรุนแรง อาจจะทำให้เอ็นยึดกระดูก (Ligament) บาดเจ็บหรือฉีกขาดได้ ซึ่งในรายที่เอ็นยึดกระดูกฉีกขาดแบบสมบูรณ์ ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดนิ้วนั้นได้ นิ้วจะค้างอยู่ในท่าตลอดเวลา (Mallet finger) ร่วมกับมีอาการปวดและช้ำรุนแรง
  6. ในผู้ป่วยที่ข้อนิ้วโดนอัดอย่างรุนแรง อาจจะทำให้กระดูกร้าวหรือแตกได้ ซึ่งจะสามารถสังเกตเห็นความผิดปกติได้ง่าย หากกระดูกแตกออกจากกัน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมาก ในบางรายอาจจะเห็นกระดูกที่แตกดันผิวหนังจนเป็นรอยนูนออกมา หรือทะลุผิวหนังออกมาได้

อาการข้อ1-3 เป็นอาการที่สามารถปฐมพยาบาลได้ด้วยตนเอง หากอาการมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ โดยทั่วไป หลังจากอุบัติเหตุ 2-4 สัปดาห์ก็มักจะหายดี

ส่วนอาการตั้งแต่ข้อ 4-6 หากเกิดขึ้นควรเดินทางไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อนิ้วซ้น

วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อมีอาการนิ้วมือซ้น สามารถอาศัยหลักการปฐมพยาบาลเดียวกับผู้ที่มีอาการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันอื่นๆ ได้ โดยวิธีที่เป็นที่นิยมมากในวงการกายภาพบำบัด ได้แก่ การใช้หลักการ POLICE

P - Protection (พักการใช้งาน) คือควรหยุดการใช้งานโครงสร้างที่ได้รับการบาดเจ็บทันที เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่เพิ่มขึ้น อาจจะพยุงด้วยการพันผ้ายืด ติดเทปหรือใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงต่างๆ รวมถึงการใช้เครื่องช่วยเดินต่างๆ เช่น ไม้ค้ำรักแร้ ไม้เท้า ร่วมด้วย

O L - Optimum Loading (ขยับเท่าที่ทำได้) สำหรับข้อเท้าพลิก สามารถทำได้ด้วยการขยับข้อเท้าเท่าที่ทำได้ เดินลงน้ำหนักเท่าที่ไหว โดยระวังไม่ให้มีอาการปวดมากขึ้น

I - Ice (ประคบด้วยความเย็น) เพื่อลดกระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อที่ได้รับการบาดเจ็บ

C - Compression (ให้แรงกดเบาๆ ขณะประคบเย็น) ขณะประคบเย็นอาจจะใช้ผ้ายืดรัด โดยรัดแน่นที่ส่วนปลายเท้า และค่อยๆ ผ่อนแรงตึงของผ้าลงเรื่อยๆ เมื่อเข้าใกล้ส่วนลำตัว เป็นเวลา 15-20 นาที ก่อนจะแกะออก และทำซ้ำใหม่ทุกๆ 2 ชั่วโมง หรืออาจะเลือกติดเทปที่ผลิตเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ซึ่งสามารถให้ความเย็นและไม่แฉะด้วย

E - Elevation (ยกข้อเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจ) ทำได้โดยการนอนหงาย ใช้หมอนรองใช้ข้อเท้าข้างที่มีอาการให้สูงกว่าระดับหัวใจเล็กน้อย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดจากปลายเท้ากลับสู่หัวใจ ซึ่งช่วยลดอาการบวมได้ ทั้งนี้อาจกระดกข้อเท้าเบาๆ ร่วมด้วย จะช่วยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม ข้อนิ้วเป็นข้อต่อขนาดเล็ก อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการปฐมบาลตามความเหมาะสม ได้แก่

  1. พักการใช้งาน (Protection) ในกรณีนิ้วซ้น นอกจากจะต้องหยุดเล่นกีฬาเพื่อป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มแล้ว การพันผ้ายืด หรือใส่อุปกรณ์จำกัดการเคลื่อนไหวต่างๆ ก็สามารถช่วยลดการเคลื่อนไหวของนิ้วได้ วิธีหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมมากในขณะนี้ ได้แก่ การพันบริเวณนิ้วซ้นด้วยเทป เช่น Rigid tape หรือ Kinesio tape
  2. การประคบเย็น เนื่องจากข้อนิ้วมีขนาดเล็ก ทำให้ยากต่อการประคบด้วยน้ำแข็งหรือแผ่นเจลเย็น มีนักกายภาพบำบัดทางการกีฬาจำนวนมากนิยมใช้การจุ่มมือข้างที่มีปัญหาลงไปในอ่างน้ำแช่น้ำแข็ง เพื่อช่วยลดอาการอักเสบและบวม โดยอาจจะต้องระวังระวังไม่ให่แช่มือนานเกินไป เพราะอาจจะทำให้ถูกน้ำแข็งกัดได้

นอกจาก 2 ข้อด้านบนแล้ว ยังอาจจะเห็นเทคนิคการปฐมพยาบาลอื่นๆ อีก ขึ้นกับความรุนแรงและอาการของผู้ป่วยนิ้วซ้นแต่ละราย นอกจากนี้ข้อควรปฎิบัติคือ เมื่อมีอาการนิ้วซ้นควรรีบถอดเครื่องประดับออกให้หมด ก่อนที่จะมีอาการบวมและไม่สามารถถอดออกได้ ซึ่งอาจจะทำให้การไหลเวียนเลือดในบริเวณนิ้วที่ซ้นมีปัญหามากขึ้น

ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หลังจากปฐมพยาบาลด้วยตนเองแล้วควรเดินทางไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์เฉาพะทางทันที เนื่องจากอาจจะต้องเข้ารับการวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของนิ้วซ้นด้วยวิธีพิเศษ เช่น การถ่ายภาพเอกซเรย์ หรือการทำเอ็มอาร์ไอ

นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะจำเป็นต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เฉพาะทาง เช่น หากมีข้อต่อเคลื่อน อาจจำเป็นต้องจัดข้อต่อให้เข้าที่และใส่เฝือก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเอ็นบาดเจ็บรุนแรง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เป็นต้น

ควรเลือกใช้ยาอะไรมารักษาอาการนิ้วซ้น?

อาการนิ้วซ้นที่ไม่รุนแรงไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษา เพียงแค่ปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องทันทีที่เกิดอุบัติเหตุ และบรรเทาอาการด้วยวิธีการทางกายภาพบำบัดก็เพียงพอแล้ว

แต่หากมีอาการบวมหรือฟกช้ำมาก อาจจะเลือกใช้ยาทาที่มีส่วนผสมของเอสซิน (Aescin) หรือไดเอทิลามีนซาลิไซเลต (Diethylamine salicylate) เพื่อบรรเทาอาการร่วมด้วยก็ได้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ana Gotter, Sprained Finger (https://www.healthline.com/health/sprained-finger), 14 June 2017.
Elizabeth Quinn, Treating a Jammed Finger (https://www.verywellhealth.com/jammed-finger-3119474), 03 January 2020.
Rachel Nall, MSN, CRNA, Jammed finger vs. broken finger: What to know (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321288.php), 22 March 2018.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นตะคริวกลางดึกบ่อยครั้ง มีอาการชาบริเวณเท้าถึงสะโพกมักมีอาการปวดร่วมด้วยจากคร้้งละ 5-10 นาที จนปัจจุบันเป็นครั้งล่ะ 40-80 นาที
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)