กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การผสมเทียมทั่วไป (Conventional Insemination) และ อิ๊กซี่ (ICSI)

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการกระตุ้นรังไข่ และเก็บไข่ในการทำ IVF แล้ว ก็จะต้องมีการปฏิสนธิไข่กับอสุจิด้วยวิธีผสมเทียมทั่วไป หรือวิธีอิ๊กซี่ ซึ่งแต่ละวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน
เผยแพร่ครั้งแรก 2 มิ.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การผสมเทียมทั่วไป (Conventional Insemination) และ อิ๊กซี่ (ICSI)

การปฏิสนธิไข่ในการทำ IVF

การปฏิสนธิไข่ในการทำ IVF มี 2 วิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่

  1. การผสมเทียมทั่วไป (Conventional Insemination (CI)) : เทคนิคนี้จะนำไข่ของผู้หญิงมาใส่ในจานเพาะเชื้อที่มีเชื้ออสุจิรายล้อมอยู่ เพื่อให้เชื้ออสุจิ 1 เซลล์ที่แข็งแรงและเร็วที่สุดเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ วิธีนี้มีค่าใช้จ่ายน้อย แต่สิ่งที่ต้องกังวลคือ ผู้ที่ใช้เทคนิค CI ประมาณ 10 - 15% มีการปฏิสนธิล้มเหลว หรือไม่มีไข่ที่ถูกปฏิสนธิได้เลย
  2. อิ๊กซี่ (ICSI) : เทคนิคนี้จะมีการเลือกเชื้ออสุจิของผู้ชายมาเพียง 1 เซลล์ และฉีดอสุจิเข้าไปยังไข่โดยตรง สามารถทำได้กับไข่ที่เจริญสมบูรณ์เท่านั้น (ไข่ที่เก็บได้ประมาณ 20% ต้องถูกคัดออก) วิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีกประมาณ 50,000 - 100,000 บาท โดยอัตราความสำเร็จอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่

การเปรียบเทียบการปฏิสนธิด้วยเทคนิคต่างๆ

ผสมเทียมทั่วไป (CI) อิ๊กซี่ (ICSI)

ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม (บาท)

0

50,000 - 100,000

ความเสี่ยง/ข้อควรระวัง

ในผู้ป่วย 10 - 15% ไม่สามารถเกิดการปฏิสนธิได้

ทารกมีอัตราการเกิดความผิดปกติในระบบปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ และโรคสมาธิสั้นได้มากกว่า

ไข่ 5 - 15% เสียหายไป

เหมาะกับผู้ป่วยกลุ่มใด

ผู้ที่มีการตอบสนองต่ำ

ผู้ชายที่มีความผิดปกติรุนแรงในระบบสืบพันธุ์

เคยปฏิสนธิล้มเหลวในการทำ IVF รอบก่อน

ผู้ใช้ไข่เก็บแช่แข็ง

ผู้ที่ต้องการทำ PGD

เลือกใช้วิธีไหน ให้ผลดีที่สุด?

ในปัจจุบัน เทคนิค ICSI มักใช้ในคู่ที่ฝ่ายชายมีความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ประมาณ 90% และคู่ที่ฝ่ายชายไม่มีความผิดปกติประมาณ 60% แต่ในความเป็นจริงแล้ว มีผู้เข้ารับการทำ IVF เพียงบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากการเลือกเทคนิค ICSI อย่างแท้จริง ดังเช่นตัวอย่างด้านล่างนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

การปฏิสนธิด้วยวิธีใด ให้อัตราความสำเร็จสูงกว่า

วิธีผสมเทียมทั่วไปดีกว่า ไม่มีวิธีใดดีกว่า วิธี ICSI ดีกว่า

มีความผิดปกติของฝ่ายชาย

ปัจจัยความผิดปกติรุนแรงในผู้ชาย

X

ปัจจัยความผิดปกติเล็กน้อย-ปานกลางในผู้ชาย

X

รูปร่างอสุจิผิดปกติ

X

ไม่มีความผิดปกติของฝ่ายชาย

ไม่ทราบสาเหตุ

X

ผู้หญิงไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้นรังไข่

X

ผู้หญิงมีอายุ 38 ปีขึ้นไป

X

มีประวัติการปฏิสนธิล้มเหลวในครั้งก่อน

X

มีปัญหาที่ท่อนำไข่

X

ใช้ไข่ที่เก็บแช่แข็งมาปฏิสนธิ

X

ผู้ที่ทำ PGS

X

ผู้ที่ทำ PGD

X


ปัจจัยความผิดปกติในผู้ชาย คืออะไร?

เทคนิค ICSI พัฒนามาเพื่อแก้ไขปัจจัยความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์เพศชายเป็นหลัก การที่จะบอกได้ว่าผู้ชายมีความผิดปกติหรือไม่ สามารถวิเคราะห์ได้จากน้ำอสุจิดังนี้

  • ความเข้มข้นของน้ำอสุจิ : ปริมาณเชื้ออสุจิต่อน้ำอสุจิ 1 มิลลิลิตร มีน้อยกล่า 15 ล้านเซลล์
  • การเคลื่อนที่ของเชื้ออสุจิ : มีเชื้ออสุจิที่สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ต่ำกว่า 40%
  • รูปร่างเชื้ออสุจิ : มีเชื้ออสุจิที่รูปร่างปกติต่ำกว่า 4 - 5% ของจำนวนทั้งหมด

ในผู้ชายที่ไม่มีเชื้ออสุจิเลย (Azoospermia) โดยที่ไม่พบการอุดตันของท่ออสุจิ ( Non-Obstructive Azoospermia (NOA)) หรือเชื้ออสุจิไม่สามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ การใช้เทคนิค ICSI จะช่วยเพิ่มโอกาสการมีบุตรอย่างชัดเจน แม้จะต้องมีการผ่าตัดเพื่อเก็บเชื้ออสุจิลูกอัณฑะก็ตาม

เหตุผลที่แพทย์มักแนะนำให้เลือกใช้วิธี ICSI

แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้เข้ารับการทำ IVF เลือกใช้การปฏิสนธิด้วยวิธี ICSI ด้วยสาเหตุต่อไปนี้

กลัวว่าการปฏิสนธิจะล้มเหลว : แพทย์มักเกรงว่า หากไข่ที่เก็บมาไม่สามารถปฏิสนธิได้เลยตามวิธีผสมเทียมทั่วไป ผู้เข้ารับการทำ IVF อาจจะไม่พอใจที่ไม่เลือกใช้เทคนิค ICSI ตั้งแต่แรก ซึ่งมีการยืนยันมาแล้วว่าสามารถลดความเสี่ยงต่อการปฏิสนธิล้มเหลวได้ และหากการปฏิสนธิล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ผู้เข้ารับการทำ IVF ก็มักมองว่าอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพของตนเอง คลินิกหลายแห่งจึงเลือกใช้เทคนิค ICSI เป็นแนวทางหลักเพื่อป้องกันตัวเอง แม้จะทราบว่าเทคนิคนี้ไม่ได้ช่วยให้โอกาสสำเร็จโดยรวมเพิ่มขึ้นก็ตาม

แรงจูงใจทางการเงิน การปฏิสนธิด้วยวิธี ICSI จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม 50,000 - 100,000 บาทต่อครั้ง ในขณะที่ค่าใช้จ่ายจริงๆ ที่คลินิกใช้เพื่อทำ ICSI คือประมาณ 8,000 บาทเท่านั้น คลินิกจึงได้กำไรค่อนข้างสูงในการปฏิสนธิไข่ด้วยเทคนิคนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Van Rumste MME, Evers JLH, Farquhar C. Intra-cytoplasmic sperm injection versus conventional techniques for oocyte insemination during in vitro fertilisation in couples with non-male subfertility. Cochrane Database of Systematic Reviews 2003, Issue 2. Art. No.: CD001301. DOI: 10.1002/14651858.CD001301. Cochrane. (https://www.cochrane.org/CD001301/MENSTR_intra-cytoplasmic-sperm-injection-versus-conventional-techniques-for-oocyte-insemination-during-in-vitro-fertilisation-in-couples-with-non-male-subfertility)
Conventional insemination versus intracytoplasmic sperm injection. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11716920)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ค่าใช้จ่ายในการทำ IVF
ค่าใช้จ่ายในการทำ IVF

ค่าใช้จ่ายในการทำ IVF เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก อาจมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง สามารถศึกษาได้จากบทความนี้

อ่านเพิ่ม