กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

จริงไหมที่ว่าเมื่อตั้งครรภ์แล้วจะฉี่บ่อย

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 25 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
จริงไหมที่ว่าเมื่อตั้งครรภ์แล้วจะฉี่บ่อย

การปวดปัสสาวะบ่อยเป็นอาการแรกเริ่มโดยปกติของการตั้งครรภ์ อาจเริ่มเป็นได้ตั้งแต่ประมาณสัปดาห์ที่ 6 ของการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ผู้หญิงบางคนอาจสังเกตได้ว่าตัวเองปวดฉี่บ่อยขึ้นกว่าเดิมตั้งแต่ตอนที่ยังไม่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ด้วยซ้ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

สาเหตุของการปวดปัสสาวะบ่อย มาจากฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่เปลี่ยนแปลง โดยร่างกายจะผลิตฮอร์โมนชื่อ Human chorionic gonardotropin (hCG) มากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณเลือดเพิ่มขึ้นมาก เลือดจึงไหลผ่านไตเร็วขึ้น กระเพาะปัสสาวะก็เต็มเร็วกว่าปกติ นอกจากนี้ เมื่อมดลูกของคุณแม่ตั้งครรภ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับลูกน้อยที่โตขึ้นเรื่อยๆ มดลูกก็ยิ่งกดทับบริเวณกระเพาะปัสสาวะ เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้รู้สึกปวดฉี่บ่อยๆ นั่นเอง

หนังสือแนะนำเกี่ยวกับการตั้งครรภ์บางเล่มบอกว่า คุณแม่จะเริ่มรู้สึกดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนที่สี่ เนื่องจากมดลูกเริ่มขยายออกจากอุ้งเชิงกรานบ้างแล้ว แต่การศึกษาวิจัยกลับไม่เห็นด้วยกับข้อมูลนี้ เพราะความจริงแล้ว ช่วงเวลาดังกล่าวมีแต่จะปัสสาวะบ่อยและมีปริมาณมากขึ้น

คุณแม่อาจสังเกตว่า แม้กระทั่งตอนกลางคืนตนเองก็ลุกไปฉี่บ่อยๆ เช่นกัน นั่นเพราะขณะนอนราบ ของเหลวบางส่วนที่ถูกกักเก็บไว้บริเวณขาและเท้าในช่วงกลางวัน จะไหลกลับเข้าสู่กระแสเลือดและเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ หากคุณแม่ต้องการเลี่ยงที่จะเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ช่วงกลางคืน แนะนำว่าก่อนนอนให้ดื่มน้ำน้อยลง อย่างไรก็ตาม ต้องให้แน่ใจว่าได้ดื่มน้ำมากพอแล้วในช่วงกลางวัน เพราะร่างกายต้องการน้ำสำหรับลำเลียงสารอาหารไปเลี้ยงร่างกายของทั้งคุณแม่เองและลูกน้อย เติมเต็มของเหลวในน้ำคร่ำ และล้างสารพิษออกจากร่างกาย รวมถึงคอยกำจัดแบคทีเรียที่อาจเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

เรื่องการรับน้ำพอ-ไม่พอ สามารถสังเกตได้จากสีปัสสาวะ หากปัสสาวะเริ่มมีสีเหลืองหรือขุ่น นั่นหมายความว่าคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอ

ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ แม้อาจไม่สะดวกสบายนัก แต่หากปวดปัสสาวะเมื่อไหร่ คุณแม่ควรลุกไปเข้าห้องน้ำทันที ไม่ควรอั้นปัสสาวะ เพราะจะทำให้แบคทีเรียตกค้างและเจริญเติบโต จนกลายเป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งมีอาการคือปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะขุ่น และจะเพิ่มความเสี่ยงของการแท้ง และการคลอดก่อนกำหนดได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Urinary Problems During Pregnancy (https://www.healthlinkbc.ca/health-topics/tm6619), 22 Feb 2019
Kathleen Smith, How Does Your Urine Change When You’re Pregnant? (https://www.everydayhealth.com/urine/how-does-your-urine-change-when-youre-pregnant/), 22 Feb 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม