เด็กอ้วน เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์จริงหรือ

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
เด็กอ้วน เป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์จริงหรือ
a15.gif

 เด็กอ้วน เคยเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์ และมีพลานามัยเด็กอ้วนดูน่ารักกว่าเด็กผอม ภาพเด็กอ้วนที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เคยใช้โฆษณาผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เช่น อาหาร แป้ง สบู่ รวมทั้งวิตามินและยาบางชนิด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

a15.gif

 บัดนี้รู้กันแล้วว่า เด็กที่อ้วนเกินไป ไม่ใช่เด็กที่แข็งแรงหรือสมบูรณ์ โดยเฉพาะเด็กที่พ้นวัยทารกไปแล้ว และเมื่อเข้าโรงเรียนแล้วก็ยังอ้วน ความอ้วนเกิดจากการกินมากเกินไป เด็กอ้วนจึงเป็นที่ล้อเลียนของเพื่อนฝูง บางทีก็ถูกตั้งชื่อให้ใหม่ที่เหมาะสมกับรูปร่าง ถูกเรียกว่าตุ่มบ้าง โอ่งบ้าง ถูกหาว่าตะกละ เห็นแก่กินมากเกินไปบ้าง เด็กอ้วนอาจกลายเป็นเด็กที่มีปมด้อย เป็นเด็กไม่มีเพื่อน ซึ่งทำให้เกิดความเครียด มีความคับข้องใจหรือขมขื่นคับแค้นอยู่คนเดียว



 

หากโตเป็นผู้ใหญ่แล้วยังไม่หายอ้วน ความอ้วนจะบั่นทอนสุขภาพ เพราะโรคอ้นอาจนำให้อีกหลายโรคตามมา เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหาน เป็นต้น ดังนั้นความอ้นจึงอาจทำให้อายุสั้น ตายเสียก่อนที่จะถึงวัยอันควรเพราะหัวใจวายหรือโรคแทรกอื่น ๆ

จากการสำรวจเด็กอ้วนวัยต่าง ๆ พบว่า หนึ่งในสามของเด็กที่อ้วนเมื่ออายุ 6 เดือน โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่อ้วน หากเด็กอ้วนเมื่ออายุ 7 ขวบ สี่ในสิบคนกลายเป็นผู้ใหญ่อ้วน และ 70 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่อ้วนเมื่ออายุ 10 ถึง 13 ปี กลายเป็นผู้ใหญ่อ้วน

a15.gif

 นอกจากนั้นยังพบว่า เด็กที่มาจากครอบครัวเล็ก มีโอกาสอ้วนมากกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวใหญ่ เด็กที่เป็นลูกคนเดียวของพ่อแม่มีโอกาสอ้วนถึงสองเท่าของเด็กที่มีพี่น้องร่วมท้องมากกว่า 3 หรือ 4 คน เด็กที่อยู่ในเมืองมีโอกาสอ้วนมากกว่าเด็กในชนบท ทั้งนี้อาจเนื่องจากอาหารการกินในเมืองสมบูรณ์กว่า ทำให้เด็กเมืองกินจุบกินจิบหรือกินอาหารว่างบ่อยและมากกว่าเด็กชนบท แต่กลับออกกำลังกายน้อยกว่า และเพราะอาจไม่มีที่โล่งสำหรับวิ่งเล่นจึงเล่นเพียงกีฬาในร่มหรือเฝ้าดูแต่โทรทัศน์ทั้งวัน ส่วนรายได้ของครอบครัวไม่สัมพันธ์กับความอ้วนของเด็ก นั้นคือ เด็กที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้ต่ำมีโอกาสอ้วนพอ ๆ กับเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีรายได้สูง เด็กจนอ้วนก็เพราะกินอาหารที่ให้พลังงานสูงมากเกินไป แต่ให้คุณค่าทางโภชนาการต่ำซึ่งมักมีราคาถูกเรียกว่ากินอาหารไม่ถูกส่วน ส่วนเด็กรวย อ้วนเพราะกินมากเกินไป กินทั้งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ในการลดน้ำหนัก ไม่ว่าจะเป็นน้ำหนักของเด็กหรือผู้ใหญ่ไม่มีสูตรพิเศษที่จะทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว และได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ คือกินพลังงานจากอาหารให้น้อยกว่าพลังงานที่ร่างกายใช้ สำหรับเด็กควรเน้นหนักทางด้านการใช้พลังงานด้วยการออกกำลังกายให้มากขึ้น มากกว่าจะบังคับให้เด็กกินอาหารน้อยลงอย่างฮวบฮาบจนเด็กรู้สึกหิวจัดจนทนไม่ไหว ในขณะเดียวกันควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์และมีพลังงานต่ำ เช่นผักและผลไม้ และงดอาหารที่ให้พลังงานสูง ได้แก่ อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารที่ทอดน้ำมันและอาหารหวานรสจัด เช่น ขนมหวาน

a15.gif

 ทุกวันนี้ลูกหลานของท่านที่อ้วนท้วนเกินไป อาจมีปัญหาทางสุขภาพจิต โดยที่ผู้ปกครองไม่รู้ตัว โดยเฉพาะที่โรงเรียน นอกจากจะเป็นที่ล้อเลียนดังกล่าวมาแล้ว เวลาเลือกกลุ่มกันทำงานหรือเล่นกีฬา เด็กอ้นอาจถูกเพื่อนรังแก ไม่เลือกให้เข้ากลุ่ม จนทำให้กลายเป็นเด็กขี้อายและเศร้าซึม พาลหาเหตุหยุดโรงเรียนเพราะไม่อยากไปบ้าง หรืออาจหยุดโรงเรียนเพราะปวดหลังหรือปวดขา หยุดโรงเรียนเพราะไม่อยากเล่นพละบ้าง เนื่องจากออกกำลังกลางแจ้งเหมือนเพื่อนไม่ได้ ต้องหยุดหอบหรือหยุดพำเหนื่อยบ่อยกว่าเด็กอื่น


16 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Overweight children aged 2 to 5. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/healthy-weight/overweight-children-2-5/)
9 Reasons Why Obesity is Not Just a Choice. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/9-reasons-obesity-is-not-a-choice)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)