กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

รวมการค้นพบและสมมติฐานใหม่เกี่ยวกับ COVID-19 จากทั่วโลก

อัปเดตการค้นพบและสมมติฐานใหม่เกี่ยวกับ COVID-19 แบบรายวัน ด้วยข้อมูลจากแพทย์และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทั่วโลก
เผยแพร่ครั้งแรก 31 มี.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 14 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 34 นาที
รวมการค้นพบและสมมติฐานใหม่เกี่ยวกับ COVID-19 จากทั่วโลก

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภูมิคุ้มกันชุมชน (Herd immunity) ซึ่งทุกคนหวังว่า จะเป็นทางออกของปัญหาการระบาด แต่ล่าสุดพบข้อมูลว่า ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยบางรายหายไป หลังจากสร้างขึ้นมาเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น สันนิษฐานว่า ภูมิคุ้มกันอาจถูกสร้างเพียงชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ภูมิคุ้มกันที่สมบูรณ์ 
  • ยาเดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) ช่วยรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการหนักได้ ยานี้ช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจได้ จาก 40% เหลือ 28% และในผู้ป่วยที่ต้องใช้ออกซิเจนช่วยหายใจ จาก 25% เหลือ 20%
  • การคิดค้นวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ได้รับการอนุมัติใช้ในมนุษย์แล้วหลายบริษัท มีการฉีดแล้วในหลายประเทศทั่วโลก แต่ก็พบปัญหามีผู้แพ้วัคซีนประปราย
  • การป้องกันตนเองที่ดีที่สุดคือ การสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ออกจากบ้าน ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคลให้ดี รักษาระยะห่างทางสังคม ไม่ไปรวมตัวในพื้นที่ที่มีคนจำนวนมากโดยไม่จำเป็น
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19

COVID-19 เป็นโรคระบาดที่เริ่มแพร่กระจายไปทั่วโลกนับตั้งแต่ธันวาคม 2563 เป็นต้นมา กระทั่งปัจจุบัน มกราคม 2564 สถานการณ์การแพร่ระบาดก็ยังคงมีอยู่ทั่วโลกโดยมีระดับความรุนแรงแตกต่างกันไป 

เพื่อให้คุณติดตามเรื่องราว COVID-19 อัปเดตจากทั่วโลกได้รวดเร็ว HD จึงรวบรวมข้อมูลการค้นพบต่างๆ มาไว้ที่นี่ที่เดียวแบบจุใจ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อัปเดตข่าว COVID-19 สไตล์ HD 

อัปเดตประจำเดือนธันวาคม 2563

เดือนธันวาคม 2019 ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อ COVID-19 มากกว่า 72.6 ล้านคน และเสียชีวิตแล้วกว่า 1.62 ล้านคน

หลายประเทศตัดสินใจใช้มาตรการล็อกดาวน์ต่างๆ เพื่อควบคุมการเดินทางของผู้คน ซึ่งจะช่วยควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไปด้วยแต่ก็เหมือนว่ามาตรการนี้จะได้ผลในบางพื้นที่และได้ผลเป็นระยะๆ เท่านั้น เพราะตลอดปี 2020 การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังไม่มีทีท่าว่าจะหยุดยั้ง

ล่าสุดการรอคอยวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ของชาวโลกก็สิ้นสุดลง เมื่อวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ชื่อว่า “BNT162b2” ซึ่งเป็นการพัฒนาร่วมกันของบริษัทไฟเซอร์ (Pfizer) ประเทศสหรัฐอเมริกากับบริษัทไบโอเอนเทค เอสอี (BioNTech SE) ประเทศเยอรมัน ได้ผ่านการทดลองว่า “มีประสิทธิผลในการป้องกันโรค COVID-19”

ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2020 หลายประเทศทั่วโลกเริ่มจากสหราชอาณาจักร แคนาดา เม็กซิโก บาห์เรน และซาอุดิอาราเบีย ได้อนุมัติใช้วัคซีน BNT162b2 สำหรับประชากรของตน และในช่วงกลางเดือนธันวาคมองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้อนุมัติฉุกเฉินการใช้งานวัคซีนชนิดนี้สำหรับประชากรกลุ่มเสี่ยงในสหรัฐอเมริกาแล้วเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า บริษัทผู้ผลิตวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 อีกอย่างน้อย 3 บริษัท ได้แก่ บริษัทอ็อกซ์ฟอร์ด-แอสตราเซเนกา (Oxford-Astrazeneca) สหราชอาณาจักร บริษัทสปุตนิก (Sputnik) ประเทศรัสเซีย และบริษัทโมเดอร์นา (Moderna) ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่างใกล้ประสบความสำเร็จในการขออนุมัติใช้วัคซีนแล้วเช่นกัน นับเป็นข่าวดีทิ้งท้ายปี 2020 สำหรับผู้คนทั่วโลก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ไทยเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ

อัปเดตประจำวันที่ 16 ก.ย. 63 

ประเทศไทยเตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติในเดือนตุลาคมนี้ หลังจากปิดการท่องเที่ยวมานานกว่า 5 เดือน คณะรัฐบาล พล. อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา อนุมัติแผนออกวีซ่าให้นักท่องเที่ยวเป็นเวลา 90-280 วัน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ 

คาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวได้รับวีซ่าเดือนละประมาณ 1,200 คน ตีเป็นรายได้ประมาณ 1.2 พันล้านบาท แผนดังยังคงมีเป้าหมายหลักยังคงอยู่ที่นักท่องเที่ยวที่มีกำลังทรัพย์สูงเท่านั้น เนื่องจากต้องกักตัวก่อน 14 วันก่อนเข้าประเทศ

อ่านเพิ่มเติม: ไทยเตรียมเปิดรับนักท่องเที่ยวอีกครั้งตุลาคมนี้!

อังกฤษก้าวหน้าเรื่องผลิตวัคซีน

อัปเดตประจำวันที่ 21 ก.ค. 63

หลังจากที่หลายประเทศกำลังแข่งขันกันพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 ล่าสุดก็มีความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนจาก Oxford ผลการทดลองใช้วัคซีนในผู้ป่วยกว่า 1,077 รายในสหราชอาณาจักร พบว่า สามารถสร้าง T-cell ได้ภายใน 14 วัน และสร้างภูมิคุ้มกันได้ภายใน 28 วัน 

วัคซีนมีชื่อว่า "AZD1222" โดยพัฒนามาจากไวรัสที่ทำให้ชิมแปนซีเป็นหวัด วัคซีนนี้จะไปปรับเปลี่ยนโปรตีนของ Sars-CoV-2 (เชื้อที่ทำให้เป็น COVID-19) ทำให้ไวรัสไม่สามารถทำงานได้ 

การทดลองในระยะต่อไปคือ ทดสอบว่าภูมิคุ้มกันเหล่านี้อยู่ได้นานแค่ไหนหลังจากที่มันเกิดขึ้น และแม้จะได้ผลดี แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าวัคซีนนี้ป้องกัน COVID-19 ได้ 

ขณะนี้สหราชอาณาจักรมีแผนจะขยายการทดลองวัคซีนไปยังสหรัฐอเมริกา บราซิล เพื่อจะทดสอบว่า วัคซีนหยุดการแพร่ระบาดได้หรือไม่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจโควิด-19 (COVID-19) วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 450 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อ่านเพิ่มเติม: อังกฤษก้าวหน้าเรื่องผลิตวัคซีน

ภูมิคุ้มกันโควิด 19 อาจคงอยู่เพียงไม่กี่สัปดาห์

อัปเดตประจำวันที่ 9 ก.ค. 63

ภูมิคุ้มกันโควิด 19 เป็นหนึ่งในสิ่งที่ทุกคนหวังว่า จะเป็นทางออกของปัญหาการระบาด แต่ล่าสุดมีผู้เชี่ยวชาญพบข้อมูลที่น่าตกใจสำหรับเรื่องนี้

มีการศึกษาใหม่จากประเทศสเปนเผยว่า ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยบางรายหายไป หลังจากสร้างขึ้นมาเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น สันนิษฐานว่า ภูมิคุ้มกันอาจถูกสร้างเพียงชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ภูมิคุ้มกันที่สมบูรณ์ เพราะอาการของผู้ติดเชื้อบางคนยังไม่รุนแรงพอที่ภูมิคุ้มกันจะจำได้

ในเมืองที่มีการติดเชื้อมากๆ ของสเปน เช่น Barcelona หรือ Madrid นั้นมีคนที่มีภูมิคุ้มกันอยู่ที่ราว 10% เท่านั้น  การค้นพบนี้ทำให้แนวคิดภูมิคุ้มกันชุมชน (Herd immunity) ที่ปล่อยให้ผู้ติดเชื้อสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ อาจเป็นไปไม่ได้

อ่านเพิ่มเติม: ภูมิคุ้มกันโควิด 19 หายไปเองหลังผ่านไปเพียงไม่กี่สัปดาห์

ครั้งแรกของโลก! แพทย์รามาฯ ปลูกถ่ายสเต็มเซลล์จากผู้ป่วยโควิด-19 สู่ผู้ไม่ได้ติดเชื้อสำเร็จ ปลอดภัยทั้งผู้ให้และผู้รับ

อัปเดตประจำวันที่ 23 มิ.ย. 63

มูลนิธิรามาธิบดี ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าวความสำเร็จในการปลูกถ่ายไขกระดูกหรือสเต็มเซลล์อย่างเร่งด่วน จากผู้ป่วยโควิด-19 สู่ผู้ไม่ได้ติดเชื้อสำเร็จเป็นเคสแรกของโลก

ผู้รับสเต็มเซลล์เป็นผู้ป่วยธาลัสซีเมียแต่กำเนิด วัย 7 ขวบ ผู้ให้สเต็มเซลล์คือ น้องชายวัย 5 ขวบ โดยแพทย์ตรวจพบว่า น้องชายติดเชื้อโควิด-19 ก่อนกำหนดปลูกถ่ายสเต็มเซลล์เพียง 1 วัน แต่การปลูกถ่ายฯ ยังต้องเดินหน้า เนื่องจากผู้รับสเต็มเซลล์ได้รับคีโมฯ โดสสูงเพื่อเตรียมตัวไว้แล้ว 

หากไม่ได้รับการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์อาจกระดูกฝ่อหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

กระบวนการรักษาดำเนินไปอย่างรอบคอบ ทีมแพทย์ต้องป้องกันตัวเองและคนไข้ให้มีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อน้อยที่สุด พร้อมๆ กับมีการตรวจเชื้อโควิด-19 ในระยะเวลา 10 วัน ในที่สุดการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ประสบความสำเร็จ ผู้รับการปลูกถ่ายฯ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูร่างกาย ส่วนน้องชายซึ่งเป็นผู้บริจาค สุขภาพแข็งแรงเป็นปกติ

ความหวังอยู่ใกล้กว่าที่คิด! อังกฤษพบ ยาซึ่งช่วยรักษาผู้ป่วย COVID-19 ได้ผลดี ที่แท้เป็นยาที่มีอยู่แล้ว ราคาถูก และมีขายทั่วโลก

อัปเดตประจำวันที่ 17 มิ.ย. 63

นักวิจัยอังกฤษพบว่า ยาเดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) ช่วยรักษาผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการหนักได้ ยานี้ช่วยลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจได้ จาก 40% เหลือ 28% และในผู้ป่วยที่ต้องใช้ออกซิเจนช่วยหายใจ จาก 25% เหลือ 20%

ยาอยู่ในกลุ่มสเตียรอยด์ ราคาถูก มีใช้กันทั่วโลก ปกติใช้ลดอาการอักเสบ รักษาโรคไขข้อ ภูมิแพ้รุนแรง และโรคหอบหืด วิธีใช้ยาในผู้ป่วยที่ยังรู้สึกตัว คือให้รับประทาน ส่วนผู้ที่อาการหนัก จะให้ยาทางหลอดเลือด

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เนื่องจากมีการทดลองพบว่า ยาเดกซาเมทาโซนไม่ได้มีประสิทธิผลในการรักษาผู้ป่วยระยะเริ่มต้นซึ่งยังไม่มีปัญหาด้านการหายใจ สำหรับประเทศไทย ยานี้ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น เนื่องการการใช้ยาอาจเกิดอันตรายรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม: เดกซาเมทาโซน ยาที่ผู้เชี่ยวชาญอังกฤษระบุว่าช่วยผู้ป่วยหนักจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ได้

ปักกิ่ง ประเทศจีนต้องล็อกดาวน์อีกครั้งหลังเจอการระบาดรอบสอง

อัปเดตประจำวันที่ 16 มิ.ย. 63

บางพื้นที่ของปักกิ่งในจีนต้องประกาศล็อกดาวน์อีกครั้งหลังเจอการระบาดของโควิด 19 รอบ 2 หลังจากที่ไม่พบเชื้อมานานกว่า 2 เดือน

ผู้ป่วยที่พบเชื้ออายุ 55 ปี คาดว่า ติดเชื้อมาจากตลาด Xinfadi ซึ่งย่านนั้นมีประชากรอยู่ราว 2 ล้านคน ทำให้โรงเรียน การแข่งกีฬา การท่องเที่ยวและตลาดโดยรอบถูกสั่งปิดชั่วคราว 

เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับปักกิ่ง เนื่องจากหลังไม่พบเชื้อมานานกว่า 55 วัน ทำให้ร้านอาหาร ร้านค้า กลับมาเปิดทำการกันตามปกติทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่อาจพบผู้ติดเชื้อเพิ่มอีกจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ได้ทำการกักตัวผู้ที่มีโอกาสติดต่อเชื้อถึง 139 คนไว้เรียบร้อยแล้ว

ขณะนี้ประชาชนตั้งข้อสังเกตว่า เชื้ออาจแพร่กระจายมาจากเขียงปลาแซลมอน แต่ตัวปลาแซลมอนนั้นมีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเป็นพาหะในการแพร่กระจายเชื้อ

อ่านเพิ่มเติม: ปักกิ่งระบาดรอบ 2 จึงต้องกลับสู่ล็อกดาวน์อีกครั้ง

โควิด 19 กระทบสุขภาพจิตคนรุ่นมิลเลนเนียลส์มากที่สุด

อัปเดตประจำวันที่ 17 พ.ค. 63

นักจิตวิทยาเผย ชีวิตประจำวันภายใต้การกักตัวช่วงโควิด 19 กำลังก่อวิกฤติสุขภาพจิตในคนรุ่นมิลเลนเนียลส์ หรือคนที่เกิดช่วงปี 1980-1996 

  • คนกลุ่มมิลเลนเนียลส์มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะมีอาการป่วยทางสุขภาพจิตในระยะยาว จากมาตรการกักตัวและเว้นระยะห่างทางสังคม
  • มิลเลนเนียลส์เป็นโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นตั้งแต่ก่อนเชื้อไวรัสโควิด 19 ระบาด บ่อยครั้งที่พบว่า คนกลุ่มนี้เสียชีวิตจากยาเสพติด แอลกอฮอล์ และฆ่าตัวตาย 
  • มิลเลนเนียลส์กำลังเผชิญกับภาวะทรุดโทรมทั้งร่างกายและจิตใจโดยปราศจากการรักษาที่เหมาะสม มีแนวโน้มรู้สึกโดดเดี่ยว เครียด วิตกกังวลมากกว่าคนรุ่นอื่นๆ โดยเฉพาะผู้หญิงในรุ่นนี้
  • ความเครียดที่พุ่งสูงในคนกลุ่มนี้มาจากความกังวลต่อพ่อแม่ที่เริ่มสูงอายุจะติดเชื้อ รวมถึงรายจ่ายมากมายขณะที่ โควิด 19 ทำให้คนนับล้านตกงาน
  • อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุนี้ทำให้มิลเลนเนียลส์เป็นกลุ่มที่ผลักดันบริษัทหลายแห่งจัดหาบริการที่ช่วยดูแลสุขภาพจิตใจ อารมณ์ และสุขภาพร่างกายให้พนักงานในช่วงโควิด 19 ระบาด

อ่านเพิ่มเติม: โควิด 19 กระทบสุขภาพจิตคนรุ่นมิลเลนเนียลส์มากที่สุด

พบเชื้อโควิด 19 ในอสุจิผู้ติดเชื้อ

อัปเดตประจำวันที่ 15 พ.ค. 63 

ทั่วโลกต้องตกตะลึง เมื่อพบเชื้อ COVID-19 ในอสุจิ จึงเกิดคำถามขึ้นมากมายว่า โรคนี้อาจเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วยหรือไม่

นักวิจัยจากเมืองฉางชิว ประเทศจีน ตรวจพบเชื้อโควิด 19 ในอสุจิของผู้ที่กำลังป่วยในขั้นรุนแรง และอาจพบในอสุจิของผู้ป่วยที่ฟื้นตัวแล้ว แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า เชื้อไวรัสจะสามารถแพร่กระจายทางอสุจิได้ เพราะการตรวจพบไวรัสไม่ได้หมายถึงการติดเชื้อเสมอไป ยังคงต้องรอผลการพิสูจน์ให้ชัดเจน

แม้จะยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า เชื้อไวรัสอาจถ่ายทอดผ่านการมีเพศสัมพันธ์ได้ แต่ก็อาจกลายเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางป้องกันโรคในอนาคต

การพบเชื้อไวรัสในอสุจิผู้ติดเชื้อไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะก่อนหน้านี้เคยมีการพบเชื้ออีโบลาและไวรัสซิกาในอสุจิมาแล้ว บางครั้งอาจพบหลายเดือนหลังจากผู้ป่วยหายดีไปแล้ว

อ่านเพิ่มเติม: พบเชื้อโควิด 19 ในอสุจิผู้ติดเชื้อ

อิตาลีเชื่อว่าตนเองเป็นประเทศแรกที่ผลิตวัคซีนได้

อัปเดตประจำวันที่ 14 พ.ค. 63 

หลายประเทศกำลังแข่งขันกันผลิตวัคซีนป้องกัน COVID-19 แต่เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนาสามารถกลายพันธุ์ได้ จึงทำให้การผลิตวัคซีนของหลายสถาบันต้องใช้เวลานานในการศึกษา แต่ล่าสุด ประเทศอิตาลีพบผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยพบมา และอาจเป็นกุญแจสำคัญในการป้องกัน COVID-19 ที่แท้จริง

อิตาลีมีการทดลองวัคซีน 5 ชนิดในหนู 5 ตัว และพบว่าหนูทุกตัวสามารถสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อ COVID-19 ได้สำเร็จ ที่สำคัญคือมี 2 ชนิดที่ได้ผลดีเกินคาด วัคซีนดังกล่าวทั้ง 5 ตัวพัฒนาจากการนำส่วนประกอบทางพันธุกรรมโปรตีนที่ห่อหุ้มไวรัส (Spike) ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้ไวรัสสามารถเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ได้

นักวิจัยคาดการณ์ว่า วัคซีนที่ได้ผลดีในหนู จะสามารถนำมาต่อยอดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์ โดยเฉพาะปอด ทีมวิจัยกำลังวางแผนจะทดลองในมนุษย์เร็วๆ นี้

อ่านเพิ่มเติม: อิตาลีเชื่อว่าตนเองเป็นประเทศแรกที่ผลิตวัคซีนได้

เด็กๆ ป่วยด้วยอาการที่พบยากเพิ่มขึ้น อาจเชื่อมโยงโควิด 19

อัปเดตประจำวันที่ 13 พ.ค. 63

อาการจากโรคหายากเริ่มปรากฏในเด็ก หวั่นโยงไปถึงโควิด 19 เด็ก 64 คนเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนิวยอร์ก ด้วยอาการใหม่ที่แพทย์นิยามว่าเป็นกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก 

ช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ป่วยอายุ 2-15 ปี 15 คนกำลังรับการรักษาจากอาการที่เกี่ยวกับโควิด 19 ส่วนใหญ่ยังมีผลตรวจเป็นบวก เด็กบางคนมีไข้ต่อเนื่อง มีอาการช็อกร่วมกับไข้และผื่น คล้ายโรคคาวาซากิที่ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงอักเสบและทำให้เลือดไหลเวียนไปยังหัวใจไม่สะดวก 

ถึงโรคคาวาซากิจะรักษาได้ แต่จะมีผลร้ายแรงต่อเด็กอายุไม่เกิน 5 ปี

อาการที่ต้องเฝ้าระวังคือ ปวดท้อง ทางเดินอาหารและหัวใจอักเสบ ไข้สูงติดกันเกิน 5 วัน พร้อมกับมีผื่น คอบวม ริมฝีปากแห้งแตก มือเท้าบวม และตาเป็นสีแดงทั้งสองข้าง มีรายงานถึงกรณีคล้ายกันเกิดขึ้นในสหราชอาณาจักร อิตาลี และสเปนแล้ว

อ่านเพิ่มเติม: เด็กๆ ป่วยด้วยอาการที่พบยากเพิ่มขึ้น อาจเชื่อมโยงโควิด 19

4 ความเข้าใจผิด ที่หลายคนคิดว่า ป้องกัน COVID-19 ได้

อัปเดตประจำวันที่ 12 พ.ค. 63

ข้อมูลใหม่จากองค์การอนามัยโลกเผยให้เห็น 4 ความเข้าใจผิดๆ ที่มีหลายคนเข้าใจเกี่ยวกับ COVID-19 ดังนี้

  • ยา Hydroxychloroquine ที่ใช้รักษาข้ออักเสบจากโรครูมาตอยด์ ไม่สามารถใช้รักษา COVID-19 ได้ แม้ COVID-19 จะมีความเกี่ยวข้องกับการอักเสบของปอด แต่ยังไม่มีการยืนยันว่ายาตัวนี้ช่วยรักษาได้
  • การยืนอยู่กลางแดดที่อุณหภูมิสูงกว่า 25 องศาเซลเซียส ไม่ได้ช่วยป้องกัน หรือฆ่าเชื้อ COVID-19 เพราะช่องทางการส่งต่อเชื้อหลักๆ ยังคงเป็นละอองฝอยจากสารคัดหลั่ง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันคือ การล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัย
  • การฝืนอาการไอ จาม กลั้นหายใจ หรือรับประทานยาลดไข้เพื่อกดอาการไว้ ไม่ได้ทำให้คุณปลอดภัยจากเชื้อ COVID-19 หากว่า คุณติดเชื้อไปแล้ว ดังนั้นหากมีอาการเข้าข่าย เช่น ไอแห้ง จาม มีไข้ ควรรีบไปพบแพทย์ 
  • แมลงวัน ไม่ใช่พาหะนำเชื้อโรค COVID-19 องค์การอนามัยโลกเผยว่ายังไม่มีหลักฐานใดๆ ยืนยันว่า แมลงวันสามารถเชื้อตามพื้นผิวไปติดคนได้ แต่อย่างไรก็ตาม การหลีกเลี่ยงสัมผัสแมลงวันเป็นสิ่งที่ควรทำอยู่แล้ว

อ่านเพิ่มเติม4 ความเข้าใจผิด ที่หลายคนคิดว่าป้องกัน COVID-19 ได้

รายงานจากนิวยอร์กและประเทศฝั่งยุโรปเผย โควิด 19 อาจก่อให้เกิดอาการคล้ายโรคคาวาซากิในเด็ก

อัปเดตประจำวันที่ 11 พ.ค. 63 

รายงานจากนิวยอร์กระบุว่า มีเด็กต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากกลุ่มอาการอักเสบของหลายระบบในร่างกาย (Multi-system Inflamatory Syndrome) หน่วยงานทางการแพทย์จึงกำลังศึกษาเพิ่มเติมว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เกี่ยวข้องกับโรคโควิด 19 หรือไม่ โดยฝั่งยุโรปก็มีรายงานถึงอาการเหล่านี้เช่นกัน

เด็กอายุ 2-15 ปีในนิวยอร์กมีอาการตั้งแต่ มีไข้ เป็นผื่น ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย บางคนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ในกลุ่มนี้มีส่วนน้อยที่ผลตรวจโควิด 19 ออกมาเป็นบวก แต่ส่วนที่ผลเป็นลบนั้นมีหลักฐานบ่งชี้ว่าพวกเขาเคยติดเชื้อมาก่อน

มีแถลงการณ์จากนิวยอร์ก สหราชอาณาจักร และประเทศแถบยุโรปอื่นๆ ว่า เริ่มมีเด็กป่วยรุนแรงโดยแสดงสัญญาณเกี่ยวกับภาวะช็อก หรือมีสัญญาณของโรคคาวาซากิ จำนวนมากขึ้น โดยในกลุ่มนี้เมื่อตรวจแล้วพบว่า ติดโคโรน่าไวรัสด้วย

โรคคาวาซากิก่อให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือดแดง โดยเฉพาะหลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้เกิดการอุดกั้นการไหลเวียนของเลือด ซึ่งทำให้หัวใจเสียหายได้ คาดกันว่า อาการดังกล่าวอาจเกิดขึ้นเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างการทำปฏิกิริยามากเกินไปในผู้ป่วยรายที่มีการติดเชื้อโควิด 19 อย่างรุนแรง จนกระทั่งส่งผลกระทบต่ออวัยวะ ทำให้เกิดความเสียหาย

อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานใดบ่งชี้ว่าหากเด็กเป็นโรคคาวาซากิ เมื่อติดเชื้อโควิด 19 แล้วอาการจะซับซ้อนขึ้น

อ่านเพิ่มเติม: รายงานจากนิวยอร์กและประเทศฝั่งยุโรปเผย โควิด 19 อาจก่อให้เกิดอาการคล้ายโรคคาวาซากิในเด็ก

ช่วง COVID-19 อาจมีข่าวดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้ได้ยินกันบ่อย แต่ระยะยาวอาจไม่เป็นเช่นนั้น

อัปเดตประจำวันที่ 10 พ.ค. 63

ขณะที่หนึ่งในสามของประชากรโลกกำลังกักตัวเองอยู่กับบ้าน และมักมีข่าวว่าช่วงนี้สิ่งแวดล้อมฟื้นตัวจากมลภาวะที่ลดลง แต่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่ายังมีผลระยะยาวอีกด้านที่ต้องเตรียมรับมือ

  • มาตรการล็อกดาวน์ของทั่วโลกทำให้กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์หยุดชะงัก เช่น การขับรถ นั่งเครื่องบินบินข้ามประเทศ ปริมาณมลพิษจึงลดน้อยลงมาก แต่ความจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเพียงผลระยะสั้นที่อยู่ได้ไม่นาน
  • การมุ่งแก้วิกฤติ COVID-19 ทำให้การทำงานด้านสิ่งแวดล้อมและสภาวะโลกร้อนต้องหยุดลง
  • อุปกรณ์ป้องกันโรคอย่างหน้ากากและถุงมือทางการแพทย์กลายเป็นปัญหา เพราะขาดนโยบายกำจัดและการควบคุมขยะที่เหมาะสม
  • เมื่อมาตรการการกักตัวผ่อนคลายลง และมนุษย์เริ่มขับเคลื่อนเศรษฐกิจกันอีกครั้ง อาจมีการใช้พลังงานทีเดียวอย่างมโหฬาร และเกิดขณะเพิ่มหลายเท่
  • ผู้เชี่ยวชาญตั้งคำถามถึงอนาคตของการลงทุนในพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ แต่ความต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลัง COVID-19 อย่างรวดเร็วอาจกำลังทำให้ทั้งโลกลืมคิดถึงการลงทุนเพื่อสิ่งแวดล้อมเหล่านั้นอยู่ก็ได้

อ่านเพิ่มเติม: ช่วง COVID-19 อาจมีข่าวดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้ได้ยินกันบ่อย แต่ระยะยาวอาจไม่เป็นเช่นนั้น

คลินิกทันตกรรม ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เชื้อ COVID-19 ระบาด

อัปเดตประจำวันที่ 9 พ.ค. 63 

หลังจากมีมาตรการผ่อนปรนให้สถานประกอบการหลายประเภท รวมถึงคลินิกทันตกรรมบางแห่งเปิดให้บริการ หลายคนจึงเริ่มมองหาคลินิกทันตกรรมเพื่อไปใช้บริการ และนี่คือสิ่งที่คุณควรรู้ 

อย่างที่ทราบกันดีว่า COVID-19 ระบาดได้ผ่านทางสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก เสมหะ ซึ่งการทำทันตกรรมในแต่ละครั้ง เครื่องมือของทันตแพทย์บางชนิดอาจทำให้สารคัดหลั่งในช่องปาก ฟุ้งกระจายออกเป็นละอองฝอยได้

นอกจากนี้ โรค COVID-19 ยังคงถือว่า ใหม่มาก คลินิกทันตกรรมหลายแห่งยังคงปรับตัวไม่ทันกับ New normal เช่น การสร้างห้องนั่งรอสำหรับลูกค้ารายคน ห้องปลอดเชื้อ หรือแม้กระทั่งหน้ากาก N95 

ทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ใช้บริการในช่วงนี้คือ ให้ไปใช้บริการในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เช่น ปวดฟันมาก เกิดอุบัติเหตุ เลือดไหลไม่หยุด แผลติดเชื้อ บวม แต่ในกรณีที่ต้องการฟอกฟันขาว เช็กสุขภาพในช่องปาก อาจเลื่อนกำหนดการออกไปก่อน

ส่วนทางเลือกสำหรับคลินิกทันตกรรมในช่วงนี้ก็คือ การตรวจคัดกรองคนที่มาใ้ช้บริการเบื้องต้น เช่น วัดอุณหภูมิ สอบถามประวัติการเดินทาง รวมถึงทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการให้บริการมากเป็นพิเศษ

อ่านเพิ่มเติม: คลินิกทันตกรรม ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้เชื้อ COVID-19 ระบาด

ทำความสะอาดอย่างไรหลังออกไปซื้อของเข้าบ้านช่วง COVID-19?

อัปเดตประจำวันที่ 8 พ.ค. 63 

ในช่วง COVID-19 ทำให้หลายคนต้องอยู่บ้าน เว้นก็แต่การออกไปทำกิจกรรมจำเป็นอย่าง การซื้อของเข้าบ้าน ซึ่งต้องอาศัยวิธีทำความสะอาดและฆ่าเชื้อมากกว่าปกติ

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ เผยงานวิจัยที่ระบุว่า เชื้อไวรัสจะติดอยู่บนพลาสติกและสแตนเลสนาน 72 ชั่วโมง และบนกระดาษแข็ง 24 ชั่วโมง ก่อนซื้อจึงควรตระหนักให้ดีว่าทุกบรรจุภัณฑ์อาจเคยผ่านมือคนที่มีอาการป่วยมาแล้ว

ถึงจะสั่งของออนไลน์ได้ แต่หลายคนก็ยังต้องออกไปซื้อของกินของใช้นอกบ้าน แม้จะมีความเสี่ยงสูง แต่ก็ยังสามารถเพิ่มการดูแลความสะอาดได้เพื่อไม่ให้เชื้อที่อาจติดมาแพร่กระจายไปทั่วบ้านการรักษาระยะห่าง 6 ฟุตจากคนอื่นตลอดเวลาระหว่างซื้อของเป็นสิ่งสำคัญ 

ควรจับเฉพาะสินค้าที่จะซื้อ เช็ดที่จับรถเข็น หรือตะกร้าด้วยแผ่นฆ่าเชื้อ หรือแอลกอฮอล์ ล้างมือ หรือใช้แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อหลังจากซื้อของเสร็จ

จัดพื้นที่ทำความสะอาดโดยเฉพาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการปนเปื้อนอาหาร หรือพื้นที่อื่นๆ ในบ้าน ล้างมือทุกครั้งหลังแกะห่อสินค้า หากใช้ถุงผ้าให้ซักด้วยน้ำยาซักผ้าและตากให้แห้งสนิทก่อนนำกลับไปใช้อีกครั้งหนึ่ง 

เช็ดทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ทุกชิ้นก่อนเก็บ หรือนำเอาอาหารที่ซื้อย้ายออกไปใส่ในถุงหรือภาชนะที่สะอาดแทน

การใส่ใจดูแลสินค้าที่ซื้อมาทุกชิ้นจะช่วยลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อไวรัส และหากตัวคุณกำลังป่วยหรือต้องดูแลคนในบ้านที่มีอาการ จะต้องเพิ่มระดับการทำความสะอาดและเพิ่มขั้นตอนการฆ่าเชื้อรอบบ้านให้มากกว่าเดิม

เสื้อผ้าและรองเท้า เป็นสื่อกลางการแพร่ระบาดได้หรือไม่?

อัปเดตประจำวันที่ 7 พ.ค. 63

แม้จะมีการเว้นระยะห่างในสังคม ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ แต่การเข้าสู่ที่ชุมชนและกลับเข้ามาบ้าน ก็มีโอกาสที่จะมีเชื้อติดตามเสื้อผ้าและร้องเท้ากลับเข้ามาในบ้านได้ นี่อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่เชื้อแพร่กระจายหรือไม่?

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลยืนยันว่า เสื้อผ้าทำให้คนติด COVID-19 แม้เชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่จะมีชีวิตอยู่นอกร่างกายได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นผิวด้วยว่าเชื้อจะมีชีวิตอยู่ได้นานแค่ไหน

ถึงแม้เสื้อผ้าจะมีความเสี่ยงค่อนข้างน้อยในการนำเชื้อโรคเข้ามาภายในบ้าน แต่หากคุณกลับมาจากสถานที่คนจำนวนมาก มีคนไอจามบริเวณใกล้เคียง หรือแม้แต่กลับจากร้านค้า การทำความสะอาดเสื้อผ้าทันที ก็ยังคงเป็นทางเลือกที่ดีและปลอดภัยที่สุด

นักวิจัยจากประเทศจีนยอมรับว่า พื้นรองเท้าสามารถกักเก็บเชื้อ COVID-19 ได้จริง แต่ก็ยังถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ เพราะโดยปกติผู้คนมักป้องกันตัวเองจากการสัมผัสรองเท้าอยู่แล้ว เช่น วางรองเท้าไว้นอกบ้าน ไม่นำมือที่จับรองเท้ามาสัมผัสใบหน้า

ดังนั้นทั้งเสื้อผ้าและรองเท้าอาจเป็นสื่อนำเชื้อโรคได้ทั้งสิ้น เพียงแต่เป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงในการแพร่กระจายต่ำ อย่างไรก็ตาม การแยกของใช้ทั้งสองออกจากของใช้ทั่วไปและการล้างมือนั้นถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการป้องกันเชื้อ COVID-19 เข้าบ้าน

อ่านเพิ่มเติม: เสื้อผ้าและรองเท้า เป็นสื่อกลางการแพร่ระบาดได้หรือไม่?

ความคืบหน้าจริงๆ ของวัคซีนและวิธีรักษา COVID-19

อัปเดตประจำวันที่ 6 พ.ค. 63

หลังตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกทะลุ 2.7 พันล้านคนและไม่มีวี่แววว่าจะหยุด นักวิทยาศาสตร์กำลังเร่งค้นคว้าพัฒนาวัคซีนและแนวทางการรักษาโรค COVID-19 อย่างหนัก 

สหภาพยุโรปเผยว่า ไม่มีหลักฐานว่า ยาต้านมาลาเรียได้ผลในการรักษา ส่วนองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาประกาศเตือนเรื่องการใช้ยาชนิดนี้เองนอกสถานพยาบาล ส่งผลให้หัวใจและหลอดเลือดเกิดปัญหาร้ายแรง

หลายบริษัทกำลังพัฒนายาต้านไวรัสที่มีอยู่แล้วให้ใช้กับ COVID-19 ได้ เพราะการผลิตยาชนิดใหม่อาจใช้เวลามากกว่าสิบปีจากการค้นหาสารประกอบใหม่ รวมถึงการทดลองทั้งในสัตว์และคนที่ต้องใช้เวลานาน

สำหรับวัคซีน ตอนนี้กว่า 120 โครงการทั่วโลกกำลังพัฒนาวัคซีน โดยมี 5 โครงการที่ผ่านการอนุมัติให้ทดลองกับมนุษย์ได้แล้ว แต่ยังไม่ปรากฏว่ามีวัคซีนที่ใช้ได้ผลจริงๆ 

ทั้งนี้อาจใช้เวลาหนึ่งปีในการพัฒนายาที่สามารถรักษา COVID-19 ได้ทั่วไป เพราะต้องได้รับการตรวจสอบด้านความปลอดภัยและปริมาณที่เหมาะสม ตอนนี้ยังคงต้องพึ่งพามาตรการเว้นระยะทางทางสังคมไปก่อน

อ่านเพิ่มเติม: ความคืบหน้าจริงๆ ของวัคซีนและวิธีรักษา COVID-19

ถ้าการวัคซีน COVID-19 ไม่สำเร็จ จะมีทางออกอย่างไรบ้าง?

อัปเดตประจำวันที่ 5 พ.ค. 63

อย่างที่หลายคนทราบกันดีกว่า COVID-19 เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งสามารถกลายพันธุ์ได้ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้สูงที่จะไม่มีวัคซีนในการป้องกันได้ 100% จึงอาจทำให้วิถีชีวิตของทุกคนเปลี่ยนไป

แม้จะมีผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าสามารถผลิตวัคซีน COVID-19 ได้ภายใน 18 เดือน แต่การคาดการณ์นี้เคยผิดพลาดมาแล้วในปี 1984 นักวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเอดส์คาดการณ์ว่าจะสามารถผลิตวัคซีนได้ภายใน 2 ปี ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงไม่สามารถผลิตได้

ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญบางส่วนจึงเริ่มมองหายาตัวอื่นที่อาจป้องกันโรคได้ในระหว่างที่ยังไม่สามารถผลิตวัคซีน เช่น ยาต้านเชื้ออีโบลาที่ชื่อ Remsesivir ซึ่งมีผลดีต่อผู้ติดเชื้อโคโรนาไวรัส และอาจลดระยะเวลาที่ผู้ติดเชื้อจะต้องอยู่ในห้อง ICU ได้ 

แน่นอนว่า วิถีชีวิตของผู้คนจะไม่กลับมาเป็นปกติในเร็วๆ เช่น ร้านอาหาร ผับ บาร์ เพราะมีการรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ทัศนคติของผู้คนในเรื่องความรับผิดชอบต่อชุมชน และรัฐบาลจะต้องหามาตรการป้องกันเอาไว้ก่อน 

นอกจากนี้สิ่งที่อาจเปลี่ยนไปคือมุมมองเรื่องการ Work from home ของนายจ้างบริษัทต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นเรื่องยากสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา และทุกคนจะต้องร่วมมือกันช่วยเหลือพวกเขา

อ่านเพิ่มเติม: ถ้าการวัคซีน COVID-19 ไม่สำเร็จ จะมีทางออกอย่างไรบ้าง?

CDC ยืนยันแล้ว 6 อาการใหม่ของ COVID-19!

อัปเดตประจำวันที่ 30 เม.ย. 63

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (The Centers for disease control and prevention) ได้เพิ่มอาการของ COVID-19 อย่างเป็นทางการแล้วถึง 6 อาการ 
รายการป่วยได้แก่ อาการหนาว หรือหนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว เจ็บคอ และจมูกไม่ได้รับกลิ่น ซึ่งเป็นอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ตั้งแต่แรก 

อาการหายใจหอบถี่ที่มีการระบุไว้ในตอนแรก เป็นอาการของผู้ป่วยที่ค่อนข้างรุนแรง และควรพบแพทย์ทันที 

สิ่งเหล่านี้จะช่วยคัดกรองให้คนที่มีอาการเข้าข่ายจริงๆ ได้ตรวจ เนื่องจากจำนวนชุดตรวจนั้นมีจำกัด โดยเฉพาะในสหรัฐที่ยอดผู้ติดเชื้อทะลุ 1 ล้านคนแล้ว

อ่านเพิ่มเติม: CDC ยืนยัน 6 อาการใหม่ของ COVID-19

ความอ้วน อาจทำให้คนติด COVID-19 อาการรุนแรงขึ้น

อัปเดตประจำวันที่ 28 เม.ย. 63

  • ตั้งแต่วันที่ 1-30 มีนาคม 63 สหรัฐมีผู้ป่วย COVID-19 กว่า 48.3% ที่เป็นโรคอ้วน ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายรับมือกับ COVID-19 ได้แย่ลง และมีอาการรุนแรงขึ้น
  • ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของคนที่เป็นโรคอ้วนและติด COVID-19 มีโอกาสที่อาการจะรุนแรงจนถึงขั้นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ มากกว่าคนที่มีดัชนีมวลกายปกติถึง 7 เท่า 
  • โรคอ้วนจะทำให้ปอดขยายตัวได้ลดลง ออกซิเจนที่รับเข้ามากับออกซิเจนที่ร่างกายต้องการจึงไม่สัมพันธ์กัน ทำให้เลือดบรรจุออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้น้อยลง
  • ปัจจุบันนี้ โรคที่คร่าชีวิตผู้คนในสหรัฐมากที่สุดคือโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความอ้วน ดังนั้นเหตุที่สหรัฐมียอดผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 สูงมาก จึงอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนด้วยเช่นกัน ซึ่งยังคงต้องต้องอาศัยการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

อ่านเพิ่มเติม: ความอ้วน อาจทำให้คนติด COVID-19 อาการรุนแรงขึ้น

นักวิทย์ฯ สำรวจถ้ำค้างคาว เพื่อหาแนวโน้มโรคระบาดครั้งต่อไป

อัปเดตประจำวันที่ 27 เม.ย. 63

นักวิทยาศาสตร์กำลังตรวจสารคัดหลั่งและเลือดของค้างคาวในถ้ำ เพื่อหาแนวโน้มของโรคระบาดครั้งต่อไป 

  • การสำรวจถ้ำค้างคาวเพื่อเก็บตัวอย่างไวรัสนั้นมีการดำเนินการมานานแล้ว ในปี 2013 ได้มีการตรวจพบโคโรนาไวรัสสายพันธุ์หนึ่งที่เชื่อว่า เป็นสายพันธุ์ที่ใกล้กับไวรัสที่ทำให้เกิดโรค COVID-19 
  • จากการสำรวจตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ทราบว่า ยังคงมีไวรัสโคโรนาอีกมากกว่า 15,000 สายพันธุ์ แต่มนุษย์รู้จักเพียงไม่กี่ร้อยสายพันธุ์เท่านั้น สายพันธุ์ที่เคยติดในมนุษย์มี 5 สายพันธุ์ใหญ่ 
  • เครือข่ายทีมเก็บตัวอย่างไวรัสใน 31 ประเทศทั่วโลกทำการค้นหาไวรัสเช่นเดียวกัน ณ ขณะนี้พบโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถระบุตัวได้แล้วอีก 6 สายพันธุ์ในเมียนมา 
  • ความจริงแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด สามารถเป็นพาหะของโคโรนาไวรัสได้ แต่ค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถบินได้ จึงทำให้มีโอกาสรับเชื้อมากกว่า ภูมิคุ้มกันร่างกายของค้างคาวจึงพัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองต่อเชื้อ อีกทั้งค้างคาวยังมักอยู่รวมกันเป็นฝูง ทำให้แพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว 
  • การเก็บตัวอย่างเลือดของค้างคาวที่มีภูมิต้านทานไวรัส อาจมีประโยชน์ในการนำมาผลิตวัคซีน โดยใช้พลาสม่าของเลือดค้างคาวได้ในอนาคต 

อ่านเพิ่มเติม: นักวิทย์ฯ สำรวจถ้ำค้างคาว เพื่อหาแนวโน้มโรคระบาดครั้งต่อไป

แนวคิดภูมิคุ้มกันหมู่ อาจใช้ได้ผลในประเทศอินเดีย

อัปเดตประจำวันที่ 26 เม.ย. 63 

ก่อนหน้านี้เราเห็นกระแสต่อต้านวิธีการของสหราชอาณาจักร ในการปล่อยให้ประชาชนติดเชื้อ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิค้มกันขึ้นมาจนเกิดเป็นภูมิคุ้มกันชุมชน (Herd inmmunity) เพื่อให้ COVID-19 ค่อยๆ ลดการระบาดและหายไปเองตามธรรมชาติ

หลังจากมีแนวคิดภูมิคุ้มกันหมู่ได้ไม่นาน ก็ต้องยกเลิกมาตรการไป เนื่องจาก COVID-19 ส่งผลรุนแรงกับผู้สูงอายุจนเสียชีวิตได้ แต่ประเทศอินเดีย มีประชากรที่อายุต่ำกว่า 65 ปีมากถึง 93.5% จึงทำให้อาจมีความเป็นไปได้ในการใช้แนวคิดนี้

Jayaprakash Muliyil นักระบาดวิทยาชาวอินเดีย ให้ความเห็นว่า นี่อาจเป็นวิธีในการต่อสู้กับ COVID-19 สำหรับประเทศที่มีประชากรมาก และไม่สามารถ Social distancing ได้ ฉะนั้นสิ่งที่เขาคาดหวังมีเพียงแค่หลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นประชากรส่วนน้อย ไม่ติดโรค

มีบางหน่วยงานที่สนับสนุนให้อินเดียที่ล็อกดาวน์อย่างเข้มข้น ค่อยๆ ผ่อนปรนมาตรการโดยการให้คนที่อายุต่ำกว่า 60 ปีสามารถใช้ชีวิตตามปกติ แต่ยังไงต้องป้องกันตัวเองด้วยหน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างในสังคม

อย่างไรก็ตาม พวกเขายังคงให้ความสำคัญกับการรักษาชีวิตผู้สูงอายุเป็นอันดับแรก และแนะนำให้เว้นระยะห่างรวมถึงให้ผู้สูงอายุกักตัวอยู่ก่อน ทังนี้ นี่ยังเป็นเพียงแนวทางที่มีการแนะนำออกมา ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป

อ่านเพิ่มเติม: แนวคิดภูมิคุ้มกันหมู่ อาจใช้ได้ผลในประเทศอินเดีย

การรักษา COVID-19 อาจทำให้เกิดการดื้อยาปฎิชีวนะมากขึ้น

อัปเดตประจำวันที่ 25 เม.ย. 63

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ไม่สามารถใช้ยาปฏิชีวนะกำจัดได้ แต่ในทางกลับกัน ผู้ป่วยที่มีอาการแทรกซ้อน แพทย์อาจพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะบ่อยขึ้นกว่าปกติ ดังนั้น ปัญหาเชื้อดื้อยาอาจเป็นคลื่นลูกใหม่ที่จะทำอันตรายกับมนุษย์

แม้การรักษา COVID-19 จะไม่ได้รับยาปฏิชีวนะโดยตรง แต่มีคนจำนวนมากที่รับประทานยาปฏิชีวนะด้วยตัวเองในขณะที่สงสัยว่า ตัวเองอาจเป็น COVID-19 รวมถึงหากเกิดอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วย แพทย์อาจใช้ยาปฏิชีวนะได้เช่นกัน

การดื้อยาปฏิชีวนะ เกิดขึ้นเมื่อเชื้อโรคสามารถปรับตัวและทนต่อยาฆ่าเชื้อที่ใช้เป็นประจำได้ ในแต่ละปีมีคนเสียชีวิตจากการดื้อยาปฏิชีวนะถึง 7 แสนคนทั่วโลก ซึ่งมากกว่าผู้ป่วยที่ตายจาก COVID-19 ถึง 4 เท่า

ประเด็นนี้กำลังถูกกระตุ้นให้เกิดความสนใจมากขึ้น จนอาจทำให้รัฐบาล (สหรัฐและหลายประเทศ) ต้องให้ทุนสนับสนุนบริษัทผู้ผลิตยาปฏิชีวนะไปพร้อมๆ กับการสนับสนุนเรื่องหน้ากากอนามัย

อันตรายนี้เคยถูกทำนายไว้แล้วจากรัฐบาลอังกฤษในปี 2014 ว่าภายในปี 2050 จะมีการเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยามากถึงปีละ 10 ล้านคนทั่วโลก ซึ่ง COVID-19 ที่กำลังระบาดหนัก อาจเป็นชนวนเหตุดังกล่าวก็เป็นได้

อ่านเพิ่มเติม: การรักษา COVID-19 อาจทำให้เกิดการดื้อยาปฎิชีวนะมากขึ้น

การกลายพันธุ์ใหม่ของ COVID ตัวที่รุนแรงสุด อันตรายกว่าตัวเดิมถึง 270 เท่า

อัปเดตประจำวันที่ 24 เม.ย. 63

นักวิทยาศาสตร์จีนพบการกลายพันธุ์ใหม่ของโคโรนาไวรัสเพิ่มอีก 19 สายพันธุ์ ส่วนใหญ่ยังไม่เคยรู้จักมาก่อน

นักวิทยาศาสตร์จีนรายงานกลายพันธุ์ของไวรัสโคโรนามากกว่า 30 สายพันธุ์ และอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ต่างๆ ของโลกต่างกัน จึงอาจเป็นคำอธิบายได้ว่า ทำไมอัตราการตายของแต่ละพื้นที่ถึงแตกต่างกัน

การกลายพันธุ์ของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่อันตรายที่สุดนั้น รุนแรงกว่าสายพันธุ์ที่อ่อนแอที่สุดถึง 270 เท่า และฆ่าเซลล์ในร่างกายมนุษย์ได้เร็วกว่าอีกด้วย ซึ่งสายพันธุ์อันตรายส่วนใหญ่มักพบในยุโรปและสหรัฐ

ลักษณะการกลายพันธุ์ของไวรัส มีส่วนทำให้บริเวณส่วนที่ห่อหุ้มไวรัสนั้นจับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น จนเกิดการติดเชื้อได้ง่าย และทำให้โปรตีนที่ทำหน้าที่ป้องกันไวรัสในร่างกายทำงานได้ยากขึ้น

นอกจากนี้นักวิจัยยังพบการกลายพันธุ์ต่อเนื่องกันถึง 3 ครั้งในคนคนเดียว ซึ่งอายุ 60 ปี และต้องใช้เวลาอยู่ในโรงพยาบาลนานถึง 50 วัน ดังนั้นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกค้นพบ ณ ตอนนี้ยังถือว่าน้อยมาก และยังคงต้องเร่งศึกษาต่อไป

อ่านเพิ่มเติม: การกลายพันธุ์ใหม่ของ COVID ตัวที่รุนแรงสุด อันตรายกว่าตัวเดิมถึง 270 เท่า

ตรวจภูมิคุ้มกันเชิงรุก อาจยุติการล็อกดาวน์ประเทศได้

อัปเดตประจำวันที่ 23 เม.ย. 63

หลายคนทราบดีอยู่แล้วว่า COVID-19 เป็นโรคที่ติดแล้วอาจไม่แสดงอาการ เนื่องจากภูมิคุ้มกันสามารถต่อต้านไวรัสได้ ดังนั้นจึงมีผู้เชี่ยวชาญสนใจเรื่องภูมิคุ้มกันในประเทศที่มีคนคิดจำนวนมาก เช่น สหรัฐ

โดยปกติ ระบบภูมืคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์จะมีคุณสมบัติเป็นโปรตีนที่ประกอบไปด้วย Igm และ IgG โดย Igm จะทำงานหลังจากร่างกายรับเชื้อเข้ามา 1-2 วัน เพื่อกำจัดเชื่อโรค แต่จะสลายตัวไปทันทีหลังจากกำจัดสำเร็จ 

ส่วน IgG จะทำงานหลังจากร่างกายกำจัดเชื้อโรคเสร็จแล้วและจดจำเชื้อตายเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อชนิดเดิมอีกในระยะเวลาใกล้เคียงกัน 

นักวิจัยหลายคนจึงคิดค้นวิธีการตรวจภูมิคุ้มกันที่มีต่อ COVID-19 ขึ้น โดยการเก็บตัวอย่างเลือดมาทดสอบ เพราะหลายคนอาจติด COVID จนสามารถเอาชนะได้ด้วยตัวเองแล้ว ดังนั้นหากในประเทศมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ก็มีโอกาสที่คนจำนวนมากจะมีภูมิคุ้มกันแล้วเช่นกัน

ผู้เชี่ยวชาญบางคนยังกังวลว่า การทดสอบอาจมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากโรคหวัดธรรมดาบางชนิด ก็มีสาเหตุมาจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์อื่นเช่นกัน ดังนั้นภูมิคุ้มกันที่ตรวจพบ อาจเป็นแค่ภูมิคุ้มกันหวัดก็ได้ 

อย่างไรก็ตาม นี่ถือเป็นอีกหนึ่งแนวคิดเชิงรุก ที่หากทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาจทำให้ประเทศที่กำลังล็อกดาวน์ กลับมาเปิดได้อีกครั้ง หากคนส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันแล้ว

อ่านเพิ่มเติม: ตรวจภูมิคุ้มกันเชิงรุก อาจยุติการล็อกดาวน์ประเทศได้

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พัฒนาแอปที่สามารถรู้ว่าใครมีประวัติติด COVID-19 ผ่าน Blutooth

อัปเดตประจำวันที่ 22 เม.ย. 63 

กระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ขอความร่วมมือประชาชนโหลดแอป TraceCovid เพื่อป้องกันการติดเชื้อของตัวเองและผู้อื่น

หน่วยงานด้านสุขภาพในอาบูดาบี ได้พัฒนาแอปพลิเคชั่น TraceCovid โดยจะคอยติดตามผู้ที่เข้ามาใกล้กับผู้ติดเชื้อ เพื่อชะลอการระบาดของ COVID-19 ลง โดยสามารถโหลดแอปได้ทั้ง IOS และ Android 

แอปจะขออนุญาตในการเข้าถึงตำแหน่ง เพื่อให้ทราบว่าแต่ละคนเดินทางไปไหนบ้าง จากนั้นแอปจะคอยตรวจจับสัญญาณ Bluetooth กับอุปกรณ์ใกล้เคียงที่มีแอปเหมือนกัน และจดจำว่าแต่ละคนเข้าใกล้ใครบ้าง 

หากใครติด COVID-19 เจ้าหน้าที่ทางการจะขอให้ระบุประวัติการติดเชื้อลงในแอป จากนั้นผู้ที่เคยติดต่อใกล้ชิดกับผู้ป่วย จะได้รับการแจ้งเตือนให้กักตัวและสังเกตอาการของตัวเอง

วิธีนี้จะทำให้ทุกคนทราบว่า ใครที่เคยมีประวัติใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อบ้าง แม้จะไม่มีอาการเลยก็ตาม หากดูตามผลวิจัยของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พบว่าแอปนี้สามารถลดการแพร่ระบาดลงได้ราว 60% 

อ่านเพิ่มเติม: สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พัฒนาแอป TraceCovid

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีแนวโน้มจะกลายเป็นจุดระบาดใหญ่ต่อไป

อัปเดตประจำวันที่ 21 เม.ย. 63

ตั้งแต่ 18 มีนาคม 63 จนถึง 17 เมษายน 63 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นกว่า 28,000 คน ส่วนใหญ่พบในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ 

การติดเชื้อในสิงคโปร์พุ่งสูงขึ้นจากการอพยพของแรงงานอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราการตรวจเชื้อต่ำ ทำให้พบผู้ติดเชื้อน้อย ในขณะที่สิงคโปร์มีอัตราการตรวจ 16,203 คนต่อ 1 ล้านคน ในขณะที่อินโดนีเซียมีอัตราตรวจเพียง 154 คนต่อ 1 ล้านคน

มีการคาดการณ์ว่า อินโดนีเซียอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดรอบนี้ เนื่องจากในช่วงต้นเดือนมีนาคม ประเทศอินโดนีเซียยังคงมีความสัมพันธ์กับเที่ยวบินจากอู่ฮั่น 

นอกจากนี้ มีชาวอินโดนีเซียหลายล้านคนที่เดินทางกลับบ้านเกิดในช่วงรอมฎอนของชาวมุสลิม และได้มีการฉลองกับญาติพี่น้องจำนวนมาก จึงอาจเป็นเหตุให้เชื้อระบาดได้อย่างรวดเร็ว

อ่านเพิ่มเติม: เอเชียตะวันออกเฉียงงใต้ มีแนวโน้มจะกลายเป็นจุดแพร่ระบาดอีกครั้ง

วิตามินดี อาจมีส่วนสำคัญในป้องกันโคโรนาไวรัส

อัปเดตประจำวันที่ 20 เม.ย. 63

หลายคนรู้วิธีหลีกเลี่ยงโคโรนาไวรัสโดยการเว้นระยะห่างในสังคม ทำงานจากระยะไกล และลดการพบปะที่ชุมชน แต่อีกหนึ่งวิธีที่คนอาจละเลย คือการเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงด้วยวิตามินดี 

วิตามินดี มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงและบำรุงกระดูก โดยวิตามินดีจะเข้าไปกระตุ้น T-Cell ซึ่งมีหน้าที่กำจัดเชื้อไวรัสที่เข้ามาในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยควบคุมระดับแคลเซียมในเลือดอีกด้วย

มีการศึกษาพบว่า วิตามินดีสามารถลดความรุนแรงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัสบางสายพันธุ์ได้ โดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และช่วยลดการอักเสบในร่างกายได้อีกด้วย

วิตามินดี เป็นวิตามินที่ร่างกายผลิตได้เองตามธรรมชาติจากการรับแสงแดด แต่ในช่วงการระบาดของ COVID-19 คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยออกจากบ้าน ดังนั้นอาจเลือกกินเป็นอาหารเสริมวิตามินดีขนาด 15-20 ไมโครกรัม หรือสามารถหาได้จากอาหารตามธรรมชาติอย่าง ไข่แดง ตับวัว ปลาแซลมอน ปลาทูน่า 

อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ยังคงมีข้อมูลน้อยเกินไปที่จะตัดสิน ดังนั้นวิตามินดีเสริมภูมิคุ้มกันจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่จะทำให้คุณมีสุขภาพแข็งแรงเท่านั้น นอกจากนี้ไม่ควรกินวิตามินดีมากเกินกว่าที่กำหนด เพราะจะทำให้มีระดับแคลเซียมในเลือดสูงเกินไป

อ่านเพิ่มเติม: วิตามินดี ส่วนสำคัญในการเสริมระบบภูมิคุ้มกันจากโคโรนาไวรัส

เชื้อโคโรนาไวรัส อาจไม่ได้มีสีแดงอย่างที่เราเห็น

อัปเดตประจำวันที่ 18 เม.ย. 63

ภาพจำลองของโคโรนาไวรัสที่หลายๆ คนเห็น มักเป็นภาพเชื้อไวรัสที่มีหนามแหลมๆ ออกมาคล้ายมงกุฏ และมีสีแดง แต่ในความเป็นจริงนั่นอาจไม่ใช่สีของมันโดยปกติแล้ว สีต่างๆ ที่คนมองเห็นในชีวิตประจำวัน เกิดจากแสงดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมายังโลก สะท้อนกับวัตถุต่างๆ เข้าสู่ดวงตาของเรา จนเกิดเป็นสีของวัตถุ

แสงที่คนมองเห็นได้มีความยาวคลื่น 400-700 นาโนเมตร ซึ่งไล่ไปตั้งแต่สีแดงจนถึงสีม่วง แต่รังสีอื่นๆ ที่มีความยาวคลื่นนอกเหนือจากนี้ ดวงตาของเราจะไม่สามารถมองเห็นได่ เช่น อินฟราเรด รังสี UV

แต่ไวรัสโคโรนา มีขนาดเพียง 50 นาโนเมตรเท่านั้น (หนึ่งในพันส่วนของความกว้างเส้นผม) ซึ่งเล็กเกินกว่าที่แสงจะกระทบและสะท้อนเข้ามายังดวงตาของเราได้

ดังนั้นความเป็นไปได้ที่ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ก็คือ ความจริงแล้วโคโรนาไวรัสอาจเป็นวัตถุโปร่งใส แต่วิธีการในการส่องมันต่างหาก ที่ทำให้เราเห็นเป็นสีขึ้นมา เช่น การใช้อินฟราเรดในการระบุสีของมัน

อ่านเพิ่มเติม: เชื้อโคโรนาไวรัส อาจไม่ได้มีสีแดงอย่างที่เราเห็น

จีนอนุมัติทดลองวัคซีนในคน

อัปเดตประจำวันที่ 17 เม.ย. 63

จีนประกาศทดลองวัคซีนโควิด-19 ในคนทั้งหมด 2 ตัว คาดว่าจะเริ่มภายในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม 2563 นี้

  • วัคซีนผลิตจากพลาสมา ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเลือดของผู้ที่หายจากโรคโควิด-19 แล้ว การทดสอบเบื้องต้นพบว่าได้ผลค่อนข้างดี
  • บริษัทที่ผลิตวัคซีนชื่อซินโนวัค (Sinovac) เคยผลิตวัคซีนป้องกันโรค SARS ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนามาแล้ว การผลิตวัคซีนในครั้งนี้จึงมีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ
  • โดยปกติ การทดลองวัคซีนจะต้องทดลองในสัตว์เล็ก จากนั้นก็สัตว์ใหญ่ และจึงจะมาทดลองในมนุษย์ แต่จีนให้ความมั่นใจว่าทำตามมาตรฐานสากลอย่างปลอดภัย
  • อย่างไรก็ตาม แม้ผลทดลองจะออกมาดีหรือไม่ ก็ยังคงต้องอาศัยเวลาในการศึกษาเพิ่มเติมและกระจายกำลังการผลิต ดังนั้นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือการหมั่นล้างมือ และเว้นระยะห่างในสังคม

อ่านเพิ่มเติม: จีนอนุมัติทดลองวัคซีนในคน

การศึกษา COVID หยุดชะงัก! หลังพบว่ายารักษามาลาเรียทำหัวใจเต้นผิดจังหวะ

อัปเดตประจำวันที่ 16 เม.ย. 63

ในระยะเวลา 4 เดือนที่โรค COVID-19 แพร่กระจายไปทั่วโลก ก็ยังถือว่าเป็นเวลาที่น้อยมากในการหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ ดังนั้นแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลก จึงพยายามศึกษาหาวิธีใหม่ๆ ในการเอาชนะโรคให้ได้ 

  • ในประเทศบราซิล ได้มีการศึกษาทดลองให้ยา chloroquine ซึ่งโดยปกติใช้สำหรับรักษาและป้องกันไข้มาลาเรีย มารักษา COVID-19
  • หลังจากเริ่มการทดลอง ก็พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาในปริมาณมากคือ วันละ 600 มิลลิกรัม มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะหลังจากให้ยาเพียงไม่กี่วันเท่านั้น
  • การศึกษานี้จึงต้องถูกยกเลิกก่อนที่จะทราบผลในการรักษา COVID-19 เพราะอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของคนไข้ เนื่องจากคลื่นไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ
  • ดังนั้นนี่จึงเป็นอีกหนึ่งการค้นพบที่เป็นประโยชน์ต่อแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก ในการป้องกันการสูญเสียโดยไม่จำเป็น 

อ่านเพิ่มเติม: ยารักษามาลาเรีย ทำหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หุ่นยนต์พยาบาล ป้องกันหมอติด COVID

อัปเดตประจำวันที่ 15 เม.ย. 63

  • โรงพยาบาลบางแห่งเริ่มมีการนำหุ่นยนต์เข้าใช้ในระหว่างการรักษาผู้ป่วยจากไวรัสโคโรนาจำนวนมาก
  • ในขณะที่แพทย์และนักวิทยาศาสตรกำลังเร่งค้นคว้าวิจัยผลิตวัคซีน COVID-19 ซึ่งต้องเวลาอย่างน้อยอีก 1 ปี เหล่าวิศวกรจึงพัฒนาหุ่นยนต์ขึ้นมาเพื่อให้บริการผู้ป่วนแทนบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อลดโอกาสติดโรคของเหล่าบุคลากรทางการแพทย์ลง
  • หุ่นยนต์สามารถช่วยคัดกรองคนไข้ที่มาโรงพยาบาลโดยที่ยังไม่แสดงอาการของ COVID-19 รวมถึงการเข้าไปสังเกตอาการของผู้ติดเชื้ออย่างใกล้ชิด ทำให้บุคลากรทางการแพทย์ลดความเสี่ยงในการติด COVID-19 ลงได้มาก
  • การระบาดของอีโบลา (Ebola) ในปี 2014 ทำให้แนวคิดการใช้หุ่นยนต์ในสถานพยาบาลได้รับความสนใจ ในปี 2020 นี้ COVID-19 อาจทำให้หุ่นยนต์ในสถานพยาบาลได้รับการพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้นและได้รับความนิยมมากขึ้นอีกก็เป็นได้ 

อ่านเพื่มเติม: หุ่นยนต์พยาบาล ป้องกันหมอติด COVID

ไวรัสโคโรนา กลายพันธุ์แล้วถึง 3 สายพันธุ์!

อัปเดตประจำวันที่ 14 เม.ย. 63

หลายคนทราบเพียงว่า COVID-19 เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-Cov-2) แต่หลายคนไม่ทราบว่าหลังจากเกิดโรค COVID-19 ขึ้นมาเพียง 4 เดือน ไวรัสโคโรนาดังกล่าว ได้กลายพันธุ์ไปแล้วกว่า 3 สายพันธุ์

ไวรัสโคโรนา ต้นเหตุของโรค COVID-19 เกิดการกลายพันธุ์ไปแล้วอย่างน้อย 3 สายพันธุ์ ผู้เชี่ยวชาญกำหนดให้เป็นสายพันธุ์ A, B, C แต่ยังไม่ทราบต้นเหตุที่แท้จริงของการกลายพันธุ์นี้

ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ไวรัสที่ระบาดครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่นประเทศจีน เกิดจากสายพันธุ์ A ซึ่งใกล้เคียงกับที่พบในค้างคาว แต่ที่ระบาดในประเทศจีนส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ B ซึ่งกลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์ A 

สายพันธุ์ A ที่ว่านี่ เป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดหนักในสหรัฐอเมริกา ส่วนไวรัสสายพันธุ์ C กลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์ B และกำลังระบาดในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี และอังกฤษ 

ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่า ไวรัสกำลังปรับตัวเข้าสู่สภาพภูมิคุ้มกันของคนในแต่ละเขตทวีปของโลก และกำลังใช้อัลกอริทึ่มตรวจสอบจีโนมเชื้อไวรัส เพื่อคาดการณ์การระบาดในอนาคตต่อไป

อ่านเพิ่มเติม: ไวรัสโคโรนา กลายพันธุ์แล้วอย่างน้อย 3 สายพันธุ์

ห่าง 5 เมตรก็หนีไม่รอด! COVID-19 สามารถกระจายได้ถึง 5 เมตรขณะวิ่ง

อัปเดตประจำวันที่ 13 เม.ย. 63 

ก่อนหน้านี้หลายคนคงทราบกันดีว่า Social distancing 1-2 เมตร สามารถป้องกันการระบาดของ COVID-19 ได้ แต่หลังจากเว้นระยะห่างในสังคมแล้ว เหตุใดทั่วโลกจึงยังมียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง นี่อาจเป็นคำตอบสำหรับคนที่กำลังสงสัย

การเว้นระยะห่าง 1-2 เมตรนั้นสามารถป้องกันการกระจายของ COVID-19 ได้ แต่นั่นเป็นเพียงระยะของการอยู่ในที่ร่ม เช่น บ้าน อาคารสำนักงาน ซึ่งไม่มีลมช่วยพัดละอองฝอยให้กระจายได้ไกลขึ้น

การศึกษาในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของประเทศเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ เผยว่า หากมีการไอจามขณะที่กำลังวิ่ง สารคัดหลั่งต่างๆ จะกระจายฟุ้งเหมือนเมฆ ทำให้คนที่วิ่งตามมาด้านหลังมีโอกาสสัมผัสเชื้อมากขึ้น

ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า หากวิ่งออกกำลังกายนอกบ้าน อาจต้องเว้นระยะมากถึง 4-5 เมตร และหากปั่นจักรยาน อาจต้องห่าง 10-20 เมตร จึงจะปลอดภัยจากสารคัดหลั่งของคนอื่น

ทางที่ดี ในช่วงนี้ควรออกกำลังกายในบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสติดเชื้อให้มากที่สุด

อ่านเพิ่มเติม: การออกกำลังกายในช่วง COVID-19

COVID-19 ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกิน

อัปเดตประจำวันที่ 12 เม.ย. 63

เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนป้องกัน COVID-19 รวมถึงยาปฏิชีวนะก็ไม่สามารถใช้กับเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ แนวโน้มในการเลือกกินอาหารของคนจึงเริ่มเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้น

บริษัทสตาร์ทอัป Taswise คือบริการสำรวจความสนใจด้านอาหารผ่านการค้นหาบนอินเตอร์เน็ตแบบ Real-time

Taswise เผยว่าช่วง COVID-19 ระบาด แนวโน้มที่คนค้นหาเกี่ยวอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารแก้เครียด และประโยชน์สุขภาพต่างๆ มากขึ้น โดยเฉลี่ยแล้วความสนใจด้านอาหารและเครื่องดื่มเสริมภูมิคุ้มกันสูงขึ้นถึง 66%

การระบาดของ COVID-19 ทำให้คนมีความสนใจของกินเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นชัดได้แก่ การรักษาอาการป่วยของ Melon (เพิ่มขึ้น 45%) น้ำชาหมักรักษาสุขภาพ (เพิ่มขึ้น 55%) และคาโมไมล์กับการต้านการอักเสบ (เพิ่มขึ้น 81.5%) 

โดยปกติคนส่วนใหญ่จะค้นหาคำเหล่านี้ในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดู แต่การมาของ COVID-19 อาจทำเป็นแนวโน้มที่สำคัญที่จะกระตุ้นให้คนส่วนใหญ่ เริ่มหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม: COVID-19 ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกิน

แพทย์บางคนคิดว่าเครื่องช่วยหายใจ อาจทำให้ผู้ป่วย COVID-19 อาการแย่ลง!

อัปเดตประจำวันที่ 11 เม.ย. 63

แพทย์บางคนตั้งข้อสังเกตว่า คนไข้หลายคนที่ป่วยด้วยโรค COVID-19 มักเสียชีวิตขณะที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ หรือว่าเครื่องช่วยหายใจอาจทำให้อาการแย่ลงกันแน่

โดยปกติเครื่องช่วยหายใจมักใช้กับผู้ป่วยที่อาการระบบทางเดินหายใจผิดปกติอย่างรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ ปอดล้มเหลว เพื่อช่วยเติมออกซิเจน แต่โรงพยาบาลในสหรัฐเผยว่า 80% ของผู้ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจ กลับเสียชีวิต

เหตุผลที่มีการคาดการณ์กันนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งสุขภาพของผู้ป่วยก่อนจะติด COVID-19 หรือการใส่เครื่องช่วยหายใจอาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยทำงานแย่ลง

อีกหนึ่งข้อสังเกตที่เป็นไปได้คือ หากใส่เครื่องช่วยหายใจเป็นเวลานาน แรงดันอากาศอาจสร้างความเสียหายแก่ปอด เพราะโดยปกติ ผู้ที่ปอดอักเสบมักจะใส่เครื่องช่วยหายใจระหว่าง 1-2 วัน แต่ผู้ป่วย COVID-19 ต้องใส่นาน 7-15 วัน

แต่อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงการสันนิษฐานจากข้อมูลอันจำกัดเท่านั้น ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุ ก็ยังคงต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เช่นเดิม

อ่านเพิ่มเติม: แพทย์บางคนคิดว่าเครื่องช่วยหายใจอาจทำให้ผู้ป่วย COVID-19 มีอาการแย่ลง

มีการสังเกตพบว่า ผู้ป่วย COVID-19 จำนวนหนึ่งมีอาการเกี่ยวกับดวงตาด้วย!

อัปเดตประจำวันที่ 10 เม.ย 63

แม้การแพทย์จะเผชิญกับ COVID-19 มาร่วม 4 เดือนแล้ว แต่อาการที่แน่ชัดของโรค ก็ยังปรากฎออกมาไม่หมด ล่าสุดมีการสังเกตเห็นอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาด้วย 

มีงานวิจัยเผยแพร่ใน JAMA Ophthalmology สังเกตอาการของผู้ป่วย COVID-19 ในประเทศจีนจำนวนหนึ่ง พบว่า 12 รายจาก 38 ราย มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาด้วย

จากการสำรวจพบว่า 7 ราย มีอาการน้ำตาเอ่อ หรือน้ำตาแฉะ (Epiphora) บางรายมีอาการบวม อักเสบของเยื่อบุดวงตา สังเกตได้จากอาการตาแดง และมองเห็นเส้นเลือดฝอย

โดยปกติแล้ว การที่ของเหลวในร่างกายเสียสมดุลเช่นนี้อาจพบได้ในผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างรุนแรง เช่น ไตวาย โรคหัวใจ และจากจำนวน 12 รายที่มีอาการนี้ มีถึง 8 รายที่มีป่วยเป็นโรค COVID-19 ขั้นรุนแรง

แม้นี่จะไม่ใช่แค่การศึกษาเดียวที่พบอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตา แต่กลุ่มตัวอย่างยังถือว่าน้อยอยู่ จึงยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด ดังนั้นเรื่องนี้จึงยังต้องอาศัยการศึกษาวิจัยต่อไป

อ่านเพิ่มเติม: COVID-19 อาจส่งผลกระทบต่อดวงตาด้วย

คนที่ติด COVID-19 สามารถแพร่เชื้อได้แม้จะไม่มีอาการไอหรือจามเลยก็ตาม

อัปเดตประจำวันที่ 9 เม.ย. 63

มีผู้เชี่ยวชาญบางคนคาดการณ์ว่าอาจมีคนที่แพร่กระจายเชื้อโดยไม่แสดงอาการไอจามเลยก็ได้ นี่จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ COVID-19 น่ากลัวมากขึ้นอีก

อย่างที่หลายคนทราบว่า COVID-19 สามารถติดต่อกันได้ผ่านการไอ จาม ทำให้ละอองฝอยกระจายไปตามอากาศ แต่ไม่นานมานี้ The Los Angeles Times รายงานว่า กลุ่มนักร้องประสานเสียง 60 คนติด COVID-19 ทั้งหมด ทั้งที่ไม่มีใครมีอาการเลย แม้แต่ไอ จาม

โดยปกติเมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะอยู่ในระยะฟักตัว จากนั้นจึงค่อยแพร่กระจายในช่วงที่แสดงอาการ แต่ COVID-19 สามารถแพร่กระจายได้ 1-3 วันก่อนจะมีอาการ โดยกระจายเชื้อผ่านการพูดคุย ร้องเพลง ซึ่งระยะนี้เรียกว่าระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ (Asymptomatic) หรือระยะแพร่เชื้อก่อนเกิดอาการ (Presymptomatic transmission)

มีการคาดการณ์ว่า อาจมีจำนวนผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการอยู่ประมาณ 25-50% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด ดังนั้นยอดผู้ติดเชื้อสะสมที่แท้จริงจึงเป็นสิ่งที่คำนวณได้ยาก

ทางที่ดีที่สุดคือการสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านหรือพบปะกับคนอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัวในช่วงนี้

อ่านเพิ่มเติม: คนที่ติด COVID-19 สามารถแพร่เชื้อได้แม้จะไม่มีอาการ

มีเสือติด COVID-19 แล้ว แมวบ้านจะติดด้วยไหม?

อัปเดตประจำวันที่ 8 เม.ย. 63

หลังจากมีข่าวว่า สัตว์หลายชนิดเริ่มติด COVID-19 ผู้เชี่ยวชาญหลายคนตั้งข้อสังเกตว่า ส่วนใหญ่โรคนี้มักพบว่าติดในแมว

พบเสือตัวแรกที่ติดเชื้อ COVID-19 เป็นเสือมาลายัน (Malayan tiger) อายุ 4 ปี ซึ่งเป็นสัตว์จัดแสดงในสวนสัตว์ Bronx เมืองนิวยอร์ก (New york) ถือการติดเชื้อครั้งแรกจากมนุษย์สู่สัตว์ป่า

เสือที่ติดเชื้อมีอาการไอแห้ง เบื่ออาหาร แต่กลับไม่มีไข้หรือหายใจถี่เหมือนมนุษย์ นอกจากนี้อาการยังแตกต่างกับแมวที่มีการติด COVID-19 ในประเทศเบลเยียมที่ท้องเสียและอาเจียนด้วย แสดงให้เห็นว่าสัตว์แต่ละชนิดอาจแสดงอาการแตกต่างกัน

แม้จะเคยพบว่า โรค COVID-19 สามารถติดต่อไปยังสัตว์บางชนิดได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญตั้งข้อสังเกตว่าสัตว์ตระกูลแมว มีแนวโน้มจะติด COVID-19 มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น

ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่าเชื้ออาจแฝงตัวอยู่ในสัตว์แต่ไม่แสดงอาการ และอาจกลับมาแพร่ระบาดได้ตามฤดูกาลที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม แนวคิดนี้ยังคงต้องการการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

อ่านเพิ่มเติม: ข้อมูลเกี่ยวกับเสือตัวแรกที่ติด COVID-19

การระบาดของ COVID-19 จะจบลงเมื่อไร ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง?

อัปเดตประจำวันที่ 7 เม.ย. 63

ขณะนี้จุดศูนย์กลางการระบาดของ COVID-19 กลับด้านจากประเทศจีนไปเป็นสหรัฐอเมริกา และยังไม่มีแนวโน้มจะหยุดลง

  • ปัจจัยหลักขึ้นอยู่กับ ภูมิคุ้มกัน ซึ่งอาจมาจากการผลิตวัคซีนป้องกันโรค ที่คาดการณ์กันว่าต้องใช้เวลาอย่างน้อย 12-18 เดือนในการค้นคว้าวิจัย หรืออาจต้องรอให้มีการสร้างภูมิคุ้มกันกลุ่ม (Herd immunity) หากคนส่วนใหญ่ในสังคมมีภูมิคุ้มกันต่อโรค การระบาดจะหยุดไปเองตามกลไกธรรมชาติ โดยคาดว่ากว่าจะถึงจุดนั้นได้ คนในสังคมต้องมีภูมิคุ้มกันอย่างน้อย 60% ของประชากรทั้งหมด
  • ปัจจัยรองลงมา คือประสิทธิภาพการชะลอการระบาดของโรค เพื่อให้จำนวนผู้ติดเชื้อไม่มากเกินกว่าที่บุคลากรทางการแพทย์จะรับไหว 
  • ปัจจัยที่สาม ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดของมาตรการในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศจีนใช้มาตรการเข้มงวดมากในการกักตัวและตรวจวัดไข้ตามบ้าน ทำให้เชื้อชะลอตัวลงได้ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดในการออกมาตรการยังคงขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจและการเงินในประเทศด้วย
  • ปัจจัยสุดท้ายที่อาจเป็นไปได้คือฤดูกาล เนื่องจากเชื้อไวรัสโคโรนาอาจชะลอตัวลงในช่วงฤดูร้อน แม้จะยังคงแพร่ระบาดได้อยู่ แต่หลายคนก็ยังคาดหวังว่าสภาพอากาศอาจทำให้การแพร่กระจายช้าลงและควบคุมได้ง่ายขึ้น

วัคซีนป้องกัน COVID-19 กำลังอยู่ในขั้นตอนการคนลองในคนและสัตว์

อัปเดตประจำวันที่ 6 เม.ย. 63

สิ่งที่คนทั่วโลกกำลังรอคอยและจับตามอง คือวัคซีนป้องกัน COVID-19 ที่จะช่วยหยุดยั้งโรคระบาด แต่การคิดค้นวัคซีนตัวหนึ่งอาจใช้เวลานานกว่าที่คุณคิด

กว่าวัคซีนจะพร้อมใช้ ต้องมีการผ่านขั้นตอนใหญ่ 6 ขั้นตอน ได้แก่ ออกแบบวัคซีน ทดลองในสัตว์ ทดลองทางคลินิกเฟสแรกเพื่อดูเรื่องความปลอดภัยและผลข้างเคียง ทดลองทางคลินิกเฟส 2 เพื่อวิเคราะห์ผลของวัคซีนในระดับชีวภาพ ทดลองทางคลินิกเฟส 3 ในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่และระยะเวลานานขึ้น และขั้นตอนการขึ้นทะเบียนวัคซีน

มีหน่วยงานและบริษัทยาระดับโลกหลายแห่งกำลังเร่งพัฒนาวัคซีนในหลายรูปแบบ หลักๆ คือวิเคราะห์ DNA ของไวรัส และหาวิธีทำให้เชื้ออ่อนกำลัง เมื่อฉีดเข้าร่างกายมนุษย์จะได้กระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนี้ได้ โดยไม่ก่อผลร้ายแรงต่อสุขภาพ

อย่างไรก็ตาม ที่ก้าวหน้าที่สุดยังอยู่ในขั้นตอนที่ 3 คือทดลองทางคลินิกเฟสแรก

ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติแห่งสหรัฐอเมริกา (NIAID) ให้สัมภาษณ์ว่า กว่าวัคซีนจะพร้อมก็น่าจะใช้เวลาราวๆ 1 ปีหรือ 1 ปีครึ่งนับจากนี้

อ่านเพิ่มเติม: วัคซีนป้องกัน COVID-19 กำลังอยู่ในขั้นพัฒนา

ผลตรวจไม่พบเชื้อ COVID-19 ไม่ได้หมายความว่าคุณจะรอด!

อัปเดตประจำวันที่ 5 เม.ย. 63

เคยมีการเผยแพร่จากจีนว่า โอกาสที่ผลตรวจออกมาเป็นลบ แม้จะมี COVID-19 อยู่ในร่างกายอาจมีความเป็นไปได้มากกว่าที่คุณคิด

ผู้ป่วยหลายคนที่มีอาการคล้าย COVID-19 เช่น มีไข้ ไอ หายใจถี่ เมื่อไปตรวจ ผลกลับบอกว่าไม่ติดเชื้อ COVID-19 ซึ่งประเทศจีนเคยเผยแพร่ว่า มีโอกาสถึง 30% ที่ผลตรวจจะคลาดเคลื่อน

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ผลตรวจคลาดเคลื่อนได้ เช่น สารคัดหลั่งจากหลังจมูกที่นำไปตรวจ มีปริมาณน้อยเกินไป หรือคุณอาจติดเชื้อหลังจากที่ตรวจไปแล้วก็ได้

ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า แม้ผลตรวจจะออกมาเป็นลบ (ไม่ติด COVID-19) ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ติดเชื้อเสมอไป เพราะการทดสอบยังมีโอกาสผิดได้ (แต่หากผลที่กลับมาเป็นบวก จะค่อนข้างแน่นอนว่าติดเชื้อ)

ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ปฏิบัติตามาตรการที่เข้มงวดตามเดิม ล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่บ่อยๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า รวมถึงเว้นระยะห่างในสังคม

อ่านเพิ่มเติม: ผลตรวจไม่พบเชื้อ COVID-19 อาจผิดพลาดได้?

หายจาก COVID-19 ได้ก็จริง แต่ยังมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้ซ้ำสอง!

อัปเดตประจำวันที่ 4 เม.ย. 63

ก่อนหน้านี้มีนโยบายจากบางประเทศที่นิยมให้ประชาชนต่อสู้กับโรค COVID-19 เพื่อหวังให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมาเอาชนะ และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป

ผู้เชี่ยวชาญคาดว่า เมื่อคนไข้หายจาก COVID-19 แล้ว ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันไวรัสตัวนี้ได้ และไม่น่าจะติดเป็นครั้งที่ 2 แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ เพราะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

  • ปัจจัยแรกคือ COVID-19 เป็นโรคใหม่มาก นักวิทยาศาสตร์จึงไม่แน่ใจว่าแอนติบอดีที่ร่างกายสร้างขึ้นมา จะคงอยู่ได้นานแค่ไหน แต่อาจอยู่ได้จนหมดฤดูกาล
  • ปัจจัยที่สองคือ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ มีรหัสพันธุกรรมเป็น RNA ซึ่งทำให้เชื้อสามารถกลายพันธุ์ได้ เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ ที่ต้องผลิตวัคซีนป้องกันตัวใหม่อยู่ทุกปี
  • ผู้เชี่ยวชาญในนิวยอร์กกำลังทำการทดลอง โดยใช้แอนติบอดีจากคนที่รักษา COVID-19 จนหายแล้วมาทำ เซรุม (Serum) อยู่ และผลที่ได้ค่อนข้างน่าพอใจ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลและหลักฐานที่มียังคงน้อยเกินกว่าที่จะสรุปอะไรแน่ชัดเกี่ยวกับไวรัสตัวนี้

อ่านเพิ่มเติม: COVID-19 อาจเป็นซ้ำ 2 ได้แม้จะหายแล้ว?

COVID-19 กับการตั้งครรภ์และรักษาภาวะมีบุตรยาก

อัปเดตประจำวันที่ 3 เม.ย. 63

โรค COVID-19 ยังคงไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงง่ายๆ ดังนั้นผู้ที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์จึงเกิดความกังวลขึ้นอย่างมาก 

จนถึงปัจจุบัน ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า COVID-19 จะส่งผลอย่างไรต่อการตั้งครรภ์ หรือหากมารดาติดเชื้อ จะส่งต่อเชื้อไปสู่ทารกในครรภ์ได้หรือไม่ แต่แน่นอนว่า หากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ การรักษาจะทำได้ยากกว่ารักษาคนทั่วไป เนื่องจากการใช้ยาบางอย่างอาจเป็นอันตรายต่อทารก

ดังนั้นว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรดูแลตัวเองในฐานะกลุ่มเสี่ยงที่จะติด COVID-19 ได้

สมาคมเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์แห่งสหรัฐอเมริกา (ASRM) ได้ออกแนวทางการปฏิบัติ สำหรับผู้ที่กำลังอยู่ในช่วงรักษาภาวะมีบุตรยากว่า ผู้ที่กำลังจะเข้าสู่กระบวนการ IVF หรือ IUI ควรจะเลื่อนกระบวนการทั้งหมดออกไปก่อน 

ผู้ที่อยู่ในกระบวนการรักษาภาวะมีบุตรยากแล้ว คลินิกควรให้การดูแลเป็นพิเศษ หากเป็นเคสที่ไม่เร่งด่วนควรเลื่อนออกไปก่อน หรืออาจให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์หรือใช้วิธีวิดีโอแชทแทน

ไม่ได้กลิ่นเฉียบพลัน อาจเป็นอาการเริ่มต้นของ COVID-19!

อัปเดตประจำวันที่ 2 เม.ย. 63

มีประกาศออกมามากมายเกี่ยวกับอาการเริ่มต้นของ COVID-19 ที่มีส่วนคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ เช่น บางคนมีไข้ มีน้ำมูก ไอ แต่ความจริงแล้วอาการเริ่มต้นที่หลายคนคาดไม่ถึงของ COVID-19 อาจเป็นอาการ “ไม่ได้กลิ่นเฉียบพลัน”

  • การไม่ได้รับกลิ่น หรือไม่รับรสอาจเป็นอาการแสดงของโรค COVID-19 แต่ยังต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมจึงจะยืนยันได้ว่า จริงหรือไม่
  • สมมติฐานนี้มาจาก มีผู้ป่วยโรค COVID-19 หลายคนมีอาการดังกล่าวตรงกันในช่วงเริ่มต้น โดยอาจเกิดขึ้นก่อนอาการไอ หรือมีไข้เสียอีก
  • ที่เป็นเช่นนี้เพราะโคโรน่าไวรัส (ต้นเหตุของโรค COVID-19) ก่อให้เกิดการติดเชื้อภายในโพรงจมูก และทำให้เกิดการอักเสบขึ้น การรับกลิ่นจึงมีปัญหา
  • การทดสอบการรับกลิ่น หรือรส อาจช่วยคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้นได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีรายละเอียดอีกมากที่ต้องได้รับการทดสอบเพิ่มเติม

อ่านเพิ่มเติม: ไม่ได้กลิ่นเฉียบพลัน อาจเป็นอาการเริ่มต้นของ COVID-19

COVID-19 อาจทำให้หัวใจวายเฉียบพลันได้?

อัปเดตประจำวันที่ 1 เม.ย. 63

ในต่างประเทศ มีการรายงานออกมาว่าพบผู้ป่วยเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลด้วยอาการหัวใจขาดเลือด เมื่อแพทย์ทำการเปิดออกดู กลับพบว่าไม่มีการอุดตันของหลอดเลือดแต่อย่างใด แต่กลับพบว่าเขาเป็นผู้ป่วย COVID-19

  • ผู้ป่วยโรค COVID-19 บางรายมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ทั้งๆ ที่หลอดเลือดไม่ได้อุดตัน ทำให้แพทย์วินิจฉัยอาการยากขึ้น
  • แพทย์พบว่าผู้ป่วย COVID-19 ที่หัวใจเต้นผิดจังหวะ มีระดับโปรตีนโทรโปนิน (Troponin) ในเลือดสูง ซึ่งสัมพันธ์กับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับหัวใจ
  • สมมติฐานที่อาจเป็นไปได้คือ เมื่อปอดได้รับความเสียหายจาก COVID-19 ทำให้หัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดการเต้นผิดจังหวะ 
  • หรืออีกสมมติฐาน อาจเกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อเชื้อไวรัส แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า COVID-19 สามารถทำร้ายหัวใจได้โดยตรง

อ่านเพิ่มเติม: COVID-19 อาจทำให้หัวใจวายเฉียบพลันได้?

ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไรเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย?

อัปเดตประจำวันที่ 31 มี.ค. 63

COVID-19 เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งโดยปกติไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แต่อาศัยยาต้านไวรัสร่วมกับรักษาตามอาการ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะฟื้นฟูร่างกายได้เอง ดังนั้นการเข้าใจระบบการทำงานและรักษาภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ระบบภูมิคุ้มกันแบ่งออกเป็น 2 ด่านใหญ่ๆ คือ ภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate immune) ซึ่งเป็นด่านแรก และภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (Adaptive immune) ซึ่งเป็นด่านที่ 2

เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันด่านแรกจะกำจัดเชื้อโรคทั้งหมด ด้วยกลไกร่างกายและสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น เยื่อบุทางเดินหายใจ น้ำมูก กรดในกระเพาะอาหาร 

แต่หากภูมิคุ้มกันด่านแรกไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคบางชนิดได้ ระบบภูมิคุ้มกันด่านสองที่มีเซลล์สำคัญอย่าง B lymphocyte และ T lymphocyte จะเจาะจงกำจัดเฉพาะเชื้อใหม่ที่เหลืออยู่

สิ่งสำคัญคือภูมิคุ้มกันด่านที่สองนี้ จะจดจำเชื้อโรคใหม่ที่ร่างกายไม่รู้จัก และสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อนั้นขึ้น หากอนาคตร่างกายได้รับเชื้อชนิดนี้อีก ระบบภูมิคุ้มกันจะป้องกันเชื้อตัวนี้ได้ดีขึ้น

ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการกินอาหาร ออกกำลังกาย รักษาสุขภาพให้ดี เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง อาจมีความเป็นไปได้ที่ระบบภูม้คุ้มกันจะต่อสู้กับ COVID-19 ได้ดีขึ้น

อ่านเพิ่มเติม: ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไรเมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


30 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Tribuneindia, Italian researchers claim world's first coronavirus vaccine: Report, (https://www.tribuneindia.com/news/world/italian-researchers-claim-worlds-first-coronavirus-vaccine-report-81639), 7 May 2020.
World health organization, Coronavirus disease (COVID-19) advice for the public: Myth busters, (https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public/myth-busters).
Webmd, Coronavirus and Dental Care, (https://www.webmd.com/lung/coronavirus-dental-care#1), 30 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น
รู้จัก COVID-19 หรือโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ต้นเหตุผู้ป่วยปอดบวมในเมืองอู่ฮั่น

มารู้จักเชื้อโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ข้อมูลที่มี ณ ต้นปี 2020 พร้อมวิธีป้องกันและลดความเสี่ยงติดเชื้อ ไขคำตอบ มีวัคซีนป้องกันหรือไม่?

อ่านเพิ่ม
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย
สรุปสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทย

สรุปสถานการณ์โคโรน่าไวรัส ไวรัสอู่ฮั่น หรือ Covid-19 พร้อมรวบรวมแนวทางการรักษาจากประเทศต่างๆ

อ่านเพิ่ม
ออกไปวิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาด
ออกไปวิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัยในช่วงที่ COVID-19 ระบาด

วิ่งในที่แจ้งอย่างไรให้ปลอดภัย และการไปออกกำลังกายที่ยิมเสี่ยงติด COVID-19 ไหม? หาคำตอบได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม