กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

อยากให้ลูกเกิดมาฉลาด ต้องบำรุงสมองลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
อยากให้ลูกเกิดมาฉลาด ต้องบำรุงสมองลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์

เชื่อแน่ว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกคนต่างก็อยากให้ลูกของตัว เองนั้นเกิดมามีสุขภาพที่แข็งแรง น่ารัก เฉลียวฉลาด กันทั้งนั้น แต่ทราบหรือไม่ว่า ว่าที่คุณพ่อคุณแม่เหล่านั้นสามารถบำรุงสมองของลูกให้ฉลาดได้ตั้งแต่ที่ลูกยังเป็นทารกในครรภ์คุณแม่เลยทีเดียว

ความฉลาดของเด็กมาจากไหน

เด็กแต่ละคนก็ล้วนแต่มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนกัน ความฉลาดของลูกนั้นนอกจากเราจะเติมเต็มให้กับเขาเมื่อเขาออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว เรายังสามารถช่วยให้เขามีพัฒนาการที่ดีได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ของคุณแม่ ผ่าน สารอาหารที่จำเป็นบางชนิด ภาวะที่ขาดแคลนสารอาหาร หรือได้รับสารอาหารบางชนิดไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองของเด็ก (เมื่อคลอดออกมาแล้ว) อย่างชัดเจน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทั้งนี้นอกจากสารอาหารที่มีประโยชน์แล้ว การพูดคุย การเล่นกับลูก ก็ส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสมองของลูกเช่นกัน และยังส่งผลต่อภาวะทางอารมณ์ของลูกอีกด้วย เด็กที่อารมณ์ดีเพราะอยู่ในการดูแลที่ดี ได้รับ อาหารที่มีประโยชน์ เมื่อเติบโตขึ้นจะมีพัฒนาการทางสมอง พัฒนาการทางด้านร่างกาย และมีความฉลาด (ทั้งด้านความคิดและทางอารมณ์) มากกว่าเด็กที่ขาดสารอาหารเมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน

สารอาหารคือหัวใจสำคัญของความฉลาดของเด็กแรกเกิด

การขาดสารอาหารนั้นนอกจากจะทำให้พัฒนาการทางสมองของเด็กไม่ดีเท่าที่ควรแล้ว ยังทำให้อารมณ์ของลูกเปลี่ยนไปด้วย ลูกของเราบางคนเมื่อเราคลอดเขาออกมาแล้วอาจจะเงียบ ดูหงอยเหงา เซื่อง ซึม เนื่อง จากภาวะการขาดสารอาหารในช่วงที่เราตั้งครรภ์นั้นเอง เราสามารถป้องกันและแก้ไขได้โดยการทานอาหารและแร่ธาตุที่ครบถ้วน (ย้ำว่าครบถ้วน อย่ามากเกินไปนะค่ะ) ทั้งตัวคุณแม่เอง (ถ้ากำลังตั้งครรภ์อยู่) และให้ลูกของ เราทานด้วย (เมื่อเราคลอดลูกของเราออกมาแล้ว)

สารอาหารอะไรบ้างที่คุณแม่มักจะขาด เมื่อเข้าสู่ภาวะตั้งครรภ์

กรดโฟลิก แคลเซียม และธาตุเหล็ก และวิตามินต่างๆ ซึ่งโดยปกติหากเราอยู่ในการดูแลของคุณหมอที่ดี คุณหมอก็จะให้เราทานวิตามินเสริมอยู่แล้ว ดังนั้นคุณแม่ก็ควรจะทานให้ครบถ้วน เพราะสารอาหารและแร่ธาตุ เหล่านี้นอกจากจะส่งผลต่อทารกในครรภ์แล้วยังส่งผลต่อตัวคุณแม่เองอีกด้วย เช่น กรดโฟลิกนั้นจะช่วยป้องกันความผิดปกติหรือภาวะต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการคลอดลูกได้ เป็นต้น

นอกจากนั้นมลภาวะและสารเสพติดต่างๆ ก็มีผลด้วยเช่นเดียวกัน เช่น ควันบุหรี่, ยาเสพติดอื่นๆ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ล้วนส่งผลทำลายการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ทั้งสิ้น ดังนั้นรู้อย่างนี้แล้ว ว่าที่ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายก็ควรจะใส่ใจกับอาหารให้มาก เพราะอาหารไม่ได้มีผลแค่ตัวคุณแม่เองคนเดียวเท่านั้น แต่มันจะส่งผลต่อเนื่องให้กับลูกในท้องของเราในระยะยาวอีกด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Prado EL, Dewey KG. Nutrition and brain development in early life. Nutr Rev. 2014 Apr;72(4):267–84.
Dobbing J, Sands J. Quantitative growth and development of human brain. Arch Dis Child. 1973 Oct;48(10):757–67.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม