กระบวนการได้ยินเสียงเป็นอย่างไร?
หากยากเข้าใจวิธีการได้ยินเสียงของมนุษย์เราแนะนำให้ลองหลับตานึกถึงภาพการตีกลอง เมื่อปีไม้ลงบนหน้ากองจะเกิดการสั่นสะเทือน เช่นเดียวกับคลื่นเสียงที่มากระทบเยื่อแก้วหู
แรงสั่นสะเทือนจะถูกส่งผ่านกระดูกค้อน กระดูกทั่ง และกระดูกโกลน ไปสู่หน้าต่างรูปไข่ แรงสั่นสะเทือนนี้จะทำให้เอนโดลิมพ์ในท่อคอเคลียสั่นสะเทือนไปจนสุดปลายท่อ และยังทำให้เยื่อบุเวสติบูลาร์สั่นสะเทือนเป็นผลให้ของเหลวที่อยู่ในท่อคอเคลียสั่นสะเทือนไปด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
จากนั้นเซลล์ขนจะสั่นไหวตามการสั่นสะเทือน โดยเซลล์ขนที่อยู่ใกล้กับหน้าต่างรูปไข่จะเปลี่ยนคลื่นสั่นสะเทือนของเสียงสูง ส่วนเซลล์ขนที่อยู่ใกล้กับปลายท่อจะรับคลื่นสั่นสะเทือนของเสียงต่ำ
แล้วแปลงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามเส้นประสาทรับความรู้สึกโดยเส้นประสาทอะคูสติก หรือเส้นประสาทคอเคลียร์ซึ่งรวมกันเป็นเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 เพื่อวิ่งเข้าสู่สมองส่วนที่เกี่ยวกับการได้ยินบริเวณกลีบขมับ (Temporal Lobe) เพื่อแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นสัญญาณเสียง แปลข้อมูล และแยกแยะเสียงต่อไป
ภาพแสดงการได้ยินเสียงเข้าหูชั้นนอกหูชั้นกลางหูชั้นในไปยังสมอง
หน้าที่ในการทรงตัวและรักษาสมดุลของร่างกาย (Statoreceptor)
มนุษย์เป็นสัตว์สองเท้า ทั้งที่จริงๆแล้วตอนอยู่ในครรภ์แม่มนุษย์ก็ลอยอยู่ในน้ำคร่ำ เมื่อแรกเกิดก็ยังทรงตัวไม่ได้ ต่อมาจึงเริ่มชันคอ นั่ง คลาน แล้วจึงเริ่มยืน โดยเมื่อคอนศีรษะที่หนักมากไว้ได้จึงค่อยหัดเดินสองเท้า วิ่ง ปีนป่าย มีพฤติกรรมและกิจกรรมหลากหลายตามมา
ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายของเราสามารถทรงตัวอยู่ได้ในสภาวะต่างๆ ขณะที่เด็กหัดเดิน เริ่มเรียนรู้การทรงตัวผู้ใหญ่หรือพี่เลี้ยงไม่ควรอุ้มแบบกระเตงให้ผิดธรรมชาติของการทรงตัว แต่ควรให้เด็กฝึกใช้ร่างกายเพื่อให้คุ้นเคยกับการควบคุมการทรงตัวตามธรรมชาติให้มาก
การทรงตัวหรือสภาวะสมดุลของการทรงตัวต้องอาศัยกลไกของระบบประสาทและอวัยวะหลายชนิดทำงานประสานกัน การรับรู้และประมวลข้อมูลต่างๆนี้เกิดขึ้นตามสัญชาตญาณโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยอีกทั้งยังต้องมีความสมดุลของพลังประสาทรับรู้จากอวัยวะทรงตัวในหูชั้นในทั้งซ้ายและขวา ส่วนต่างๆของร่างกายจึงเคลื่อนไหวได้อย่างกลมกลืนเป็นอัตโนมัติ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
สมองมีศูนย์รับรู้ข้อมูล (Vestibular Nuclei) อยู่ในก้านสมองซึ่งจะต้องนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลให้สัมพันธ์กันโดยอาศัยการแปลงสภาวะการเคลื่อนไหวเป็น “กระแสประสาท” ส่งไปตามระบบประสาทไปสู่สมอง เมื่อสมองรับรู้สภาวะนั้นๆแล้ว ร่างกายจึงสามารถทรงตัวอยู่ได้อย่างอัตโนมัติในทุกๆสถานการณ์โดยไม่เซหรือล้ม
เมื่อสมองส่วนก้านสมอง (Brainstem) รับรู้การทรงตัวจากประสาทสัมผัสและอวัยวะต่างๆแล้ว จะส่งต่อการทำงานไปยังสมองรับรู้การทรงตัว เพื่อให้ควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตา แขน ขา และศีรษะให้ประสานงานกัน แล้วส่งไปยังสมองท้ายรับรู้การทรงตัวให้รับรู้การทรงตัวในภาวะต่างๆ เพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวและการทรงตัวให้มั่นคงอยู่ได้
คงไม่ผิดหากจะเปรียบการทรงตัวของมนุษย์กับการทรงตัวของรถยนต์ที่มีการควบคุมจากหลายระบบจึงทำให้มนุษย์สามารถขึ้นเขาลงห้วย นั่งรถหมุน ขับรถเช่าฉวัดเฉวียน หรือใช้ร่างกายได้อย่างหลากหลายตามประสบการณ์และการฝึกฝนเป็นพิเศษ เช่น การห้อยโหนตีลังกา ไต่ลวด มนุษย์แต่ละคนมีความสามารถในการทรงตัวและมีความทนทานต่อสถานการณ์ไม่เท่ากัน บางคนทรงตัวได้ดีบางคนอาจรู้สึกทนต่อการเคลื่อนไหวเร็วๆไม่ได้ ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อแตกจะเป็นลม
หูทำงานประสานกับลูกตาและส่วนต่างๆของร่างกาย
หูชั้นในทำงานประสานกับ “ลูกตา” ทำให้มีการเคลื่อนไหวของลูกตาไปพร้อมๆกัน สายตาของเราจึงมีส่วนช่วยสร้างสมดุลของการทรงตัวด้วย เพื่อให้รู้ตำแหน่งของศีรษะ ดังนั้นสายตาจึงเป็นหน้าต่างของการทรงตัว การทรงตัวยังเกี่ยวพันกับอวัยวะรับความรู้สึกสัมผัสอื่นๆ ได้แก่ ข้อต่อ กล้ามเนื้อ คอ แขนขา ที่เคลื่อนไหวไปตามศีรษะและลำตัว
สัญญาณไฟฟ้าถูกส่งไปยังศูนย์รับรู้ที่ก้านสมอง ศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหวของลูกตา และศูนย์ควบคุมการทรงตัวของกล้ามเนื้อ แขนขาและข้อต่อ อย่างอัตโนมัติ