จะใช้เครื่องปรับอากาศ (แอร์) อย่างไร จึงจะช่วยลดสารก่อภูมิแพ้ได้

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
จะใช้เครื่องปรับอากาศ (แอร์) อย่างไร จึงจะช่วยลดสารก่อภูมิแพ้ได้

สิ่งสกปรกที่ติดค้างบนแผ่นกรองของเครื่องปรับอากาศจะค่อย ๆ จับตัวเป็นก้อนแข็ง และกลายเป็นที่อยู่อาศัยของยุง แมลงวัน แมลงสาบและเชื้อโรค จนอาจทำให้อาการแพ้กำเริบ ฉะนั้นเมื่อใช้เครื่องปรับอากาศจึงควรระวังสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้

เลือกซื้อเครื่องที่ฟอกอากาศได้ดี

a9.gif

 เครื่องปรับอากาศประเภทนี้จะมีส่วนผสมของวีโอไลต์ (zeolite) และโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต เป็นต้น ซึ่งจะสามารถกำจัดรังแคจากแมวหรือสุนัข อะตอมและสารอินทรีย์ประเภทระเหยได้ที่ปะปนอยู่ในอากาศ รวมทั้งควันบุหรี่ ดังนั้นจึงช่วยลดสารก่อภูมิแพ้ได้ เครื่องปรับอากาศโดยทั่วไปจะไม่มีเครื่องฟอกอากาศในตัว ควรเลือกซื้อให้เหมาะกับขนาดของห้อง และควรเป็นชนิดที่ฟอกอากาศหกครั้งต่อชั่วโมง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ใช้เครื่องดูดความชื้นเพื่อไม่ให้อากาศอับชื้น

a9.gif

 สภาพความชื้นที่เหมาะกับการเจริญเติบโตของไรฝุ่นคือร้อยละ 75-80 ถ้าความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 50 ไรฝุ่นจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ดังนั้นจึงควบคุมความชื้นภายในห้องให้อยู่ที่ร้อยละ 40-50


ไม่วางเครื่องปรับอากาศในที่ร้อนและชื้น

a9.gif

 ควรติดตั้งแผ่นกรองประเภทโพลีเอสเตอร์บริเวณช่องปล่อยลม เพื่อป้องกันการแพร่พันธุ์ของไรฝุ่นและเชื้อโรคต่าง ๆ อีกทั้งยังสามารถขจัดสารก่อภูมิแพ้ในอากาศได้อีกด้วย ควรล้างทำความสะอาดเป็นประจำ ไม่ควรวางเครื่องปรับอากาศในที่ที่มีอากาศร้อน เช่น เหนือเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะตัวจับอุณหภูมิในเครื่องปรับอากาศจะคิดว่าอากาศร้อนแล้วทำความเย็นเพิ่ม ทำให้เปลืองไฟ

รักษาความแตกต่างของอุณหภูมิ

a9.gif

 โดยทั่วไปความชื้นในห้องร้อยละ 20-60 และอุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียสจะเหมาะสมที่สุด การใช้เครื่องปรับอากาศในหน้าร้อน หากเราเดินเข้ามาจากอากาศภายนอกที่ร้อนอบอ้าวเพื่อเข้าห้องปรับอากาศที่มีอากาศเย็นมาก ๆ ความแตกต่างของอุณหภูมิอาจทำให้อาการหอบหืดกำเริบ ดังนั้นควรรักษาความแตกต่างของอุณหภูมิในห้องและนอกห้องให้อยู่ที่ 5 องศา


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Allergy Proofing Your Environment. WebMD. (https://www.webmd.com/allergies/allergy-proof-your-environment)
Allergic to Air Conditioning? It’s What’s in the Air. Healthline. (https://www.healthline.com/health/allergic-to-air-conditioning)
Zhan X, et al. (2015). Air-conditioner filters enriching dust mites allergen. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4443215/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป