วิธีการรักษาภาวะหัวล้าน

เผยแพร่ครั้งแรก 19 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
วิธีการรักษาภาวะหัวล้าน

นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามหาวิธีมารักษาอาการหัวล้านมาเป็นเวลานาน ล่าสุดมีนักวิจัยที่พบวิธีใหม่ในการกระตุ้นเซลล์ต้นกำเนิดภายในรากผมเพื่อทำให้ผมขึ้นมาใหม่ งานวิจัยนี้อาจจะนำไปสู่การพัฒนายาชนิดใหม่ที่ส่งเสริมการสร้างผมหรืออาจจะเป็นยาที่ใช้รักษาภาวะหัวล้านได้ (เช่นจากภาวะฮอร์โมนผิดปกติ ความเครียด อายุที่เพิ่มขึ้นหรือการได้รับยาเคมีบำบัด)

นักวิจัยพบว่ากระบวนการทำงานในเซลล์ต้นกำเนิดที่อยู่ภายในรากผมนั้นแตกต่างจากเซลล์อื่นๆ ที่ผิวหนัง และเมื่อมีการปรับกระบวนการเหล่านั้นในหนูทดลอง พบว่าสามารถหยุดการเจริญเติบโตของขน หรือทำให้ขนงอกอย่างรวดเร็วได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีใครรู้มาก่อนว่าการเพิ่มหรือลดของกรด lactate นั้นจะส่งผลต่อเซลล์ต้นกำเนิดเหล่านี้ แต่เมื่อเราพบว่าการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสร้างกรด lactate ในหนูนั้นส่งผลต่อขนของพวกมัน ก็นำไปสู่การพยายามคิดค้นยาชนิดใหม่ที่สามารถใช้กับมนุษย์แลให้ผลแบบเดียวกัน

มียา 2 ชนิดชื่อ RCGD423 และ UK5099 ที่กระตุ้นกระบวนการสร้างกรด lactate ด้วยวิธีที่ต่างกัน แต่ยาทั้งสองตัวนี้ยังอยู่ในขั้นทดลองเท่านั้นและยังต้องมีการทดสอบในมนุษย์รวมถึงได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อน

ดังนั้นถึงแม้ว่ายังต้องใช้เวลาอีกพอสมควรกว่าที่จะมียาที่สามารถรักษาภาวะหัวล้านได้ แต่นักวิจัยก็เริ่มเห็นแนวทางสำหรับการพัฒนาในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง
การฉีด PRP ผม แก้ปัญหาผมบาง นวัตกรรมเสริมหล่อผู้ชาย


33 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 ways of treating female hair loss. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/327194)
Hair Loss Treatments for Men: 17 Hair Loss Remedies. Healthline. (https://www.healthline.com/health/hair-loss-treatments-for-men)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)