วิธีการแก้อาการเมายานพาหนะแบบง่ายๆ

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
วิธีการแก้อาการเมายานพาหนะแบบง่ายๆ

การกินหรือดื่มน้ำขิงเพื่อป้องกันอาการเมาคลื่น 

คุณอาจจะลองนำลูกอมรสขิง, ginger ale หรือแคปซูลขิงตากแห้งเวลาที่เดินทางทางเรือ เชื่อว่าสารต้านอนุมูลอิสระในขิงที่ชื่อ gingerols นั้นจะช่วยบรรเทาอาการเมายานพาหนะและเมาคลื่นได้ มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่าขิงนั้นมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยา scopolamine ซึ่งเป็นยาที่มักใช้บรรเทาอาการเมายานพาหนะ

รับประทานวิตามินบี 6

งานวิจัยหนึ่งได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพของการรับประทานวิตามินบี 6 25 มิลลิกรัมในหญิงตั้งครรภ์ในการบรรเทาอาการอาเจียนจากอาการแพ้ท้อง พบว่าหลังจาก 3 วันผู้ป่วยที่รับประทานวิตามินบี 6 ทุก 8 ชั่วโมงเพียง 26% มีอาการอาเจียนในขณะที่ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับประทานนั้นมีอาการอาเจียนมากกว่า 50%

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ใช้สร้อยข้อมือ

ลองใส่ wristband 2 นิ้วเหนือข้อมือด้านใน หากคุณไม่มี wristband ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางกดที่จุดความดัน ในทางการแพทย์แผนจีนจุดนี้เป็นจุดที่ 6 บนทางที่เข้าสู่เยื่อหุ้มหัวใจและการฝังเข็มและการกดที่ตำแหน่งนี้นั้นจะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ได้

นั่งเบาะหน้าหรือเบากลางของรถ

งานวิจัยหนึ่งพบว่าอาการเมายานพาหนะนั้นจะเกิดเมื่อร่างกาย หูชั้นในและดวงตานั้นส่งสัญญาณที่ขัดแย้งกันเองไปที่สมอง ดังนั้นหากคุณเน้นมองตรงไปข้างหน้าและมองไปที่เส้นขอบฟ้า คุณสามารถหลอกสมองของคุณเองได้ว่าคุณกำลังอยู่กับที่และไม่ได้กำลังเคลื่อนที่

อย่าเดินทางในขณะที่ท้องว่าง

อย่าเดินทางไม่ว่าจะทางเรือ เครื่องบิน หรือรถในขณะที่ท้องว่างเพื่อลดอาการคลื่นไส้ที่อาจเกิดขึ้น ควรมีขนมที่ดีต่อสุขภาพติดตัวไว้เสมอ เนื่องจากการที่ท้องว่างนั้นจะกระตุ้นให้เกิดอาการเมายานพาหนะได้ แต่ก็อย่ารับประทานมากเกินไป ให้ดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ แต่ถี่

ลองใช้ aromatherapy

ผู้ป่วยบางคนพบว่าการใช้น้ำมันหอมระเหยนั้นช่วยบรรเทาอาการเมายานพาหนะได้ แม้ว่าจะไม่มีงานวิจัยสนับสนุนที่มากเพียงพอ แต่การกระตุ้นประสาทสัมผัสส่วนอื่นในร่างกายนั้นอาจช่วยหันเหความสนใจของคุณออกไปจากการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นได้ ดังนั้นการทำ aromatherapy ด้วยน้ำมันหอมระเหยเช่นขิง มิ้นท์ หรือลาเวนเดอร์นั้นอาจจะช่วยลดอาการคลื่นไส้จากอาการเมายานพาหนะได้


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How to sober up fast: 11 ways that work. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/321103)
What Works: Strategies to Reduce or Prevent Drunk Driving | Motor Vehicle Safety. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/motorvehiclesafety/impaired_driving/strategies.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป