ทำอย่างไรดีเมื่อลูกติดอาหารจานด่วน

โทษของอาหารจานด่วน พร้อมวิธีแก้ปัญหาเมื่อลูกติดอาหารจานด่วน
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ทำอย่างไรดีเมื่อลูกติดอาหารจานด่วน

อาหารจานด่วนเช่น เบอร์เกอร์, ไก่ทอด, มันฝรั่งทอด และอีกสารพัดเมนูที่เราคุ้นเคยตากันในห้างสรรพสินค้านั้น เป็นอาหารที่เป็นโทษต่อสุขภาพทั้งเด็กและผู้ใหญ่เอง การปล่อยให้ลูกได้ชิม ได้ลองอาหารเหล่านี้ (โดยเฉพาะลูกยังอยู่ในช่วงปฐมวัย) จะทำให้ลูกติดรสชาดของอาหารจานด่วนเหล่านี้ได้ง่าย เราจะแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรบ้าง

อาหารจานด่วน ไม่ดีกับสุขภาพของลูกอย่างไร

อาหารจานด่วน (เบอร์เกอร์, ไก่ทอด, มันฝรั่งทอด, ไอศกรีมโคน ฯลฯ) นั้นถูกผลิตขึ้นเพื่อให้สะดวกในการบริโภคแต่ร่างกายได้รับสารอาหารน้อย เพราะมีแต่แป้ง ไขมันและผงชูรส หากลูกของเราซึ่งยังอยู่ในช่วงปฐมวัยได้ลองกินเข้าไป มักจะติดใจกับรสชาดของอาหารเหล่านี้ได้ง่าย เนื่องจากอาหารมัน หวาน เค็ม และของทอด ล้วนทำให้เจริญอาหารทั้งสิ้น รวมถึงยิ่งมีการใช้ผงชูรสด้วยก็ยิ่งทำให้เด็กติดในรสอาหารนั้นได้ง่ายขึ้นไปอีก

หากลูกของเรากินอาหารจานด่วนต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ ร่างกายจะสะสมไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วนในเด็กได้ง่าย และยังทำให้ร่างกายขาดสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็น ทำให้พัฒนาการทางร่างกายและสมองไม่เติบโตตามที่ควรจะเป็น

หากปล่อยนานวันเข้า เด็กจะยิ่งสะสมเป็นพฤติกรรมการกิน จนสุดท้ายก็จะแก้ไขได้ยาก ทำให้เด็กเบื่ออาหารแบบปกติและอยากจะกินอาหารจานด่วนมากขึ้นนั้นเอง

วิธีแก้ไขหากลูกของเราติดกินอาหารจานด่วน

  1. อย่าซื้อหรือจัดหาอาหารจานด่วนให้ลูก

    ประเด็นนี้เป็นจุดที่สำคัญ หากพ่อแม่ไม่ซื้อให้ลูกกินจนติดเป็นนิสัย (รวมถึงตัวพ่อแม่เองก็ไม่ควรกินให้ลูกเห็นด้วย) ก็จะลดโอกาสเสี่ยงที่ลูกของเราจะติดพฤติกรรมชอบกินอาหารจานด่วนเหล่านี้ไปได้มาก

  2. พยายามให้ลูกกินอาหารที่หลากหลาย

    พ่อแม่ควรหาอาหารที่มีความหลากหลาย เมนูมีความน่ากินและไม่ควรซ้ำกันบ่อยเกินไป ลูกของเราจะได้กินอาหารที่หลากหลาย เป็นการสร้างความแปลกใหม่และกระตุ้นความอยากอาหารได้ดี หากลูกอยากกินขนมต่างๆ ลองให้ลูกได้กินขนมไทยๆ บ้างก็ดีเหมือนกันค่ะ

  3. ทำเมนูอาหารจานด่วนด้วยตัวเอง

    ถ้าจำเป็นจริงๆ ที่ลูกอยากจะกินเบอร์เกอร์ ไก่ทอด ฯลฯ หากไม่เหนือบ่ากว่าแรง คุณพ่อคุณแม่อาจจะเตรียมทำอาหารเหล่านั้นกันเองที่บ้าน เพราะการทำอาหารเหล่านี้เองที่บ้าน นอกจากจะสามารถกำหนดส่วนผสม (ไม่ใส่ผงชูรส) แล้ว ยังสามารถเติมส่วนผสมอื่นๆ ที่มีประโยชน์ เช่น ผักชนิดต่างๆ หรือผลไม้เข้าไปในเมนูนั้นๆ ได้อีกด้วย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Liji Thomas, ‘How Fast Food Affects Children's Health’ (https://www.news-medical.net/h...)
Jennifer Warner, ‘10 Ways to Get Kids to Eat Healthy Food’ (https://fit.webmd.com/jr/food/...)
Healthy Food for Kids (https://www.helpguide.org/arti...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
Latkes ที่ทุกคนจะรัก
Latkes ที่ทุกคนจะรัก

แพนเค้กมันฝรั่งแบบที่ปราศจากกลูเตนและไข่และยังมีคาร์โบไฮเดรตต่ำ

อ่านเพิ่ม