กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

ลดน้ำหนักโดยใช้ยาถ่ายมีอันตรายอย่างไร

พาไปทำความรู้จักกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยาถ่ายลดน้ำหนัก
เผยแพร่ครั้งแรก 14 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 22 ธ.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ลดน้ำหนักโดยใช้ยาถ่ายมีอันตรายอย่างไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ยาถ่าย จัดอยู่ในกลุ่มของตัวยาที่มีผลกับการระบายท้อง ช่วยทำให้การถ่ายอุจจาระเป็นไปอย่างสะดวกสบายง่ายยิ่งขึ้น เป็นยาที่นิยมใช้ในรักษาอาการท้องผูก
  • มีหลายคนที่นำไปใช้เพื่อหวังผลในการลดน้ำหนัก ทำให้ร่างกายเพรียวลง เพราะเชื่อว่า สาเหตุที่ทำให้อ้วนเพราะไม่ได้อุจจาระ จึงใช้ยาถ่ายเพื่อลดหน้าท้อง และน้ำหนักตัว
  • อันตรายจากการใช้ยาถ่ายลดน้ำหนัก มีหลายประการ เช่น เกิดพิษต่อหัวใจ ไต สูญเสียน้ำ ไม่ดูดซึมวิตามิน ปวดท้อง ลำไส้หย่อนยาน ดื้อยา หรือปวดท้อง จึงไม่ควรใช้โดยเด็ดขาด
  • สำหรับใครที่ต้องการใช้ยาถ่ายเพื่อแก้ปัญหาท้องผูก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ยาได้
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับทุกเพศทุกวัย

หลายคนที่กังวลเกี่ยวกับเรื่องน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือความอ้วน แล้วเลือกที่จะกำจัดไขมันส่วนเกิน หรือลดน้ำหนักโดยใช้ยาถ่าย รู้หรือไม่ว่า นอกจากจะไม่ช่วยในการควบคุมน้ำหนักอย่างยั่งยืนแล้ว ยังเป็นอันตรายต่อร่างกายอีกด้วย

ทำความรู้จักกับยาถ่าย เกี่ยวข้องอย่างไรกับการลดน้ำหนัก

ยาถ่าย จัดอยู่ในกลุ่มของตัวยาที่มีผลกับการระบายท้อง ช่วยทำให้การถ่ายอุจจาระเป็นไปอย่างสะดวกสบายง่ายยิ่งขึ้น เป็นยาที่นิยมใช้ในรักษาอาการท้องผูก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม มีหลายคนที่นำไปใช้เพื่อหวังผลในการลดน้ำหนัก ทำให้ร่างกายเพรียวลง เพราะเชื่อว่า สาเหตุที่ทำให้อ้วนเพราะไม่ได้อุจจาระ จึงใช้ยาถ่ายเพื่อลดหน้าท้อง และน้ำหนักตัวนั่นเอง 

ชนิดของยาถ่าย

ชนิดของยาถ่ายแบ่งได้ตามกลุ่มการออกฤทธิ์ของยา ระยะเวลาที่ออกฤทธิ์ และวิธีใช้ เช่น

  • ยากระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ 
  • ยาเพิ่มความเหลวให้อุจจาระ 
  • ยาเพิ่มกากใยของอุจจาระ 
  • ยาสวนทวารหนัก 
  • ยาเหน็บทวารหนัก

ยาถ่ายกลุ่มที่นิยมใช้มากที่สุดคือ กลุ่มที่ออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ซึ่งมีการนำมารักษาอาการท้องผูก และถูกนำมาใช้เพื่อลดความอ้วนด้วยเช่นกัน

อันตรายจากการใช้ยาถ่ายลดน้ำหนัก

การใช้ยาถ่ายลดน้ำหนัก ส่งผลอันตรายต่อร่างกายหลายประการ ดังนี้

1. เกิดพิษต่อหัวใจ หรือไต 

มักเป็นกลุ่มยาถ่ายที่ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในลำไส้ หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้เกิดการถ่ายท้องที่รุนแรงและเป็นอันตราย โดยร่างกายจะดูดซึมแล้วทำให้เกิดพิษต่อหัวใจและไต

ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคไต หรือโรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาถ่ายเป็นอย่างยิ่ง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
คอร์สลดน้ำหนักออกกำลังกาย วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 441 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2. ร่างกายเสียน้ำ 

เมื่อถ่ายท้องบ่อยๆ จะทำให้อยู่ในภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่ที่จำเป็น 

ถึงแม้ว่า เราจะรู้สึกโล่งท้อง หรือตัวเบาโปร่งเหมือนน้ำหนักตัวลด แต่แท้จริงแล้วไม่ได้ทำให้สัดส่วนของร่างกายเล็กลง หรือน้ำหนักร่างกายลดลงเลย

3. ปวดท้อง เพราะกระตุ้นลำไส้ใหญ่มากเกินไป 

การรับประทานยาถ่าย ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม 

ในกรณีที่บางคนถ่ายยาก หรือที่เรียกว่า “ธาตุหนัก” อาจต้องใช้ปริมาณยามากเกินกว่า 1 เม็ด แต่มีหลายคนที่ไม่ได้ถ่ายยาก และใช้ปริมาณมากจนเกินขนาด ก็จะทำให้ก่อนถ่ายมีอาการปวดมวนท้อง หรือปวดบิด

นอกจากนี้การเสียน้ำ และเกลือแร่ต่างๆ ออกมากับอุจจาระมากเกินไปยังส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศีรษะ และปากแห้งได้

4. ร่างกายไม่ดูดซึมวิตามิน

มักจะเป็นในผู้ที่ใช้ยาถ่ายประเภทยาช่วยหล่อลื่นลำไส้ เพื่อทำให้อุจจาระนุ่ม และถ่ายสะดวก 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาถ่ายอาจส่งผลให้ร่างกายไม่ดูดซึมวิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค อีกทั้งต้องระวังไม่ให้สำลักระหว่างรับประทาน เนื่องจากอาจทำให้เกิดโรคปอดอักเสบได้

5. ลำไส้ใหญ่หย่อนยาน

เกิดจากการใช้ยาถ่ายเป็นเวลานานจนลำไส้ไม่สามารถบีบตัวทำงานด้วยตัวเองได้ จึงต้องใช้ยาถ่ายเพื่อเร่งลำไส้ ส่งผลให้ลำไส้มีลักษณะหย่อนยาน หากหยุดรับประทานก็จะถ่ายไม่ได้นั่นเอง

6. หงุดหงิด ตัวบวม มีกลิ่นตัว ปากเหม็น ผิวพรรณไม่ผ่องใส 

เมื่อไม่สามารถถ่ายได้ด้วยตนเอง ก็จำเป็นต้องใช้ยาถ่ายช่วยกระตุ้น และถ้าไม่มีการถ่ายอุจจาระนานวันเข้าก็จะเกิดการสะสมพิษอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทำให้เกิดปัญหาดังกล่าว

7. ต้องใช้ในปริมาณที่มากขึ้น 

เมื่อใช้ยาถ่ายติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ ร่างกายจะปรับตัวให้สามารถทนกับความถี่ และปริมาณการใช้ยาได้ เรียกอาการนี้ว่า “ดื้อยา” ซึ่งหมายถึง ถ้าใช้ยาในปริมาณเท่าเดิมจะทำให้มีผลในการระบายท้องน้อยลง และหากต้องการให้ส่งผลเท่าเดิมจะต้องเพิ่มปริมาณยามากขึ้นนั่นเอง

จะเห็นได้ว่า การใช้ยาถ่ายไม่ได้ช่วยลดน้ำหนัก และส่งผลเสียต่อร่างกายหลากหลายด้าน หากต้องการลดน้ำหนัก ควรเริ่มจากการควบคุมอาหาร เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะดีกว่า

ถ้าหากต้องการตัวช่วยเสริมในการลดน้ำหนักจริงๆ ก็มีเทคโนโลยีทางการแพทย์หลายอย่างที่ช่วยในการกระชับสัดส่วนอย่างปลอดภัย เช่น สลายไขมันด้วยความเย็น การดูดไขมัน หรือตรวจ DNA เพื่อหาวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตนเอง เป็นต้น

และสำหรับใครที่ต้องการใช้ยาถ่ายเพื่อแก้ปัญหาท้องผูกนั้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายจากการใช้ยาได้

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจโปรแกรมตรวจสุขภาพสำหรับทุกเพศทุกวัย จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
When Diarrhea Is More Serious Than You Think. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/digestive-health/signs-diarrhea-is-more-serious-than-you-think.aspx)
Unintentional weight loss. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/unintentional-weight-loss/)
Why You Might Lose Weight When You're Sick. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/weight-loss-when-sick-4105781)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป