กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เจาะลึก ดื่มชาเขียวอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ?

เผยแพร่ครั้งแรก 22 ก.พ. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เจาะลึก ดื่มชาเขียวอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด ?

ชาเขียวเป็นเครื่องดื่มที่ทุกคนคุ้นเคยกันดี แต่นอกจากรสชาติและกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถครองใจหลายคนได้แล้ว ชาเขียวยังอุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ สารขับปัสสาวะ และสารที่ช่วยเร่งการเผาผลาญ ยิ่งไปกว่านั้น การดื่มชาเขียวยังช่วยปกป้องคุณจากโรคร้ายมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือโรคยอดฮิตอย่างโรคหัวใจ

อย่างไรก็ตาม สำหรับบทความนี้ เราจะพาคุณไปดูวิธีดื่มชาเขียวที่จะช่วยให้คุณได้รับประโยชน์ด้านสุขภาพสูงสุด จะตรงกับที่คุณคิดมากน้อยแค่ไหน เราลองมาดูพร้อมกันเลยค่ะ

เมื่อคุณเตรียมชาเขียว รสชาติของมันจะขึ้นอยู่กับวิธีที่คุณทำ โดยเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิของน้ำไปจนถึงระยะเวลาที่คุณแช่ใบชา หากน้ำมีอุณหภูมิร้อนเกินไป หรือคุณแช่ใบชานานเกินไป มันก็จะทำให้ชามีรสขมมากขึ้น แต่หากน้ำเย็นเกินไป รสชาติทั้งหมดของชาเขียวก็จะไม่ถูกดึงออกมา

อย่างไรก็ตาม เวลาที่จำเป็นต้องใช้สำหรับแช่ใบชานั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งหมายความรวมถึงขนาดของใบชา ประเภทของชา เวลาที่เก็บเกี่ยว ฯลฯ โดยทั่วไปแล้ว ชาเขียวจะถูกทำให้ร้อนในช่วงอุณหภูมิ 60 - 85 องศาเซลเซียส และควรแช่ใบชาอย่างน้อย 1 - 3 นาที

การเตรียมและประโยชน์ด้านสุขภาพ

มีหลายงานวิจัยพบว่า วิธีการชงชาเขียวสามารถมีผลกระทบต่อการคงไว้ซึ่งประโยชน์ด้านสุขภาพของสารแอนตี้ออกซิเด้นท์ที่คุณจะได้รับ สำหรับปัจจัยหลักที่คุณควรจำไว้มีดังนี้

  • ใบชาที่มีขนาดเล็กจะใช้เวลาแช่น้อยกว่าใบชาที่มีขนาดใหญ่กว่า
  • โดยปกติแล้วชาใบจะดีต่อสุขภาพมากกว่าชาถุง เพราะมันมีใบอ่อนมากกว่าชาถุง ซึ่งมีเพียงแค่ใบชาเล็กๆ
  • เมื่อน้ำเดือด มันจะช่วยกระตุ้นให้สารแคทิชินออกมาอย่างรวดเร็ว แต่น้ำที่มีอุณหภูมิต่ำลงมากลับให้ประโยชน์ด้านสุขภาพสูงสุด เพราะมันช่วยป้องกันไม่ให้สารประกอบที่ดีต่อสุขภาพอย่างกรดกัลลิกสลายไป

เมื่อชงชาเขียว มีความเสี่ยงใดๆ หรือไม่ ?

หากคุณแช่ใบชานานเกินไป มันก็สามารถทำให้ชามีรสชาติขม และสามารถทำให้สารคาเฟอีนเพิ่มปริมาณมากขึ้น นอกเหนือจากนี้ มันมีโอกาสที่สารอื่นๆ จะถูกสกัดออกมา เช่น ยาฆ่าแมลง และโลหะหนัก

มีวิธีอื่นที่ใช้ชงชาเขียวได้หรือไม่ ?

หากคุณต้องการให้สารแอนตี้ออกซิเด้นท์มอบประโยชน์ได้สูงสุด ให้คุณแช่ใบชา 2 ชั่วโมงในน้ำเย็นก่อนชง การทำเช่นนี้จะทำให้คุณได้รับประโยชน์จากสารอาหารในชาเขียวมากขึ้น

3 คุณประโยชน์ของชาเขียวที่บางคนอาจยังไม่รู้


1. ทำให้ฟันและเหงือกแข็งแรง

มีงานวิจัยเมื่อปี ค.ศ. 2009 ได้ทำการตรวจสอบสุขภาพช่องปากของผู้ชาย 940 คน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์พบว่า คนที่ดื่มชาเขียวเป็นประจำ มีเหงือกที่แข็งแรงมากกว่าคนที่แทบไม่ได้ดื่ม หรือไม่ได้ดื่มชาเขียวเลย

2. ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

ในปี ค.ศ. 2009 มีหลายงานวิจัยได้ศึกษาว่า การดื่มชาเขียวสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้หรือไม่ และจากผู้เข้าร่วมทดลอง 195,000 คน ผลปรากฏว่า คนที่ดื่มชาเขียว 3 แก้วต่อวัน มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดสมองลดลงประมาณ 21%

3. ช่วยให้สมองมีพลังมากขึ้น

เมื่อปี ค.ศ. 2006 มีงานวิจัยที่ทำขึ้นเพื่อสำรวจว่า การดื่มชาเขียวมีผลกระทบต่อร่างกายอย่างไร โดยมีผู้เข้าร่วมทดลองเป็นชาวญี่ปุ่นประมาณ 1,000 คน ที่มีอายุ 70 ปี หรือมากกว่า พวกเขาพบว่า คนที่ดื่มชาในตลอดช่วงชีวิตมากกว่า มีแนวโน้มที่จะสูญเสียความจำ หรือมีสมองที่อ่อนแอลดลง ในขณะที่คนที่ดื่มชาเขียว 4 - 6 ครั้งต่อสัปดาห์ มีแนวโน้มที่จะเกิดความบกพร่องทางสติปัญญาน้อยลง 38%

ที่มา : https://steptohealth.com/drink...


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
10 Benefits of Green Tea, According to a Nutritionist. Health.com. (https://www.health.com/food/benefits-green-tea)
Green tea: Health benefits, side effects, and research. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/269538)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป