วิธีการประเมินสุขภาพของพนักงาน ก่อนจะเริ่มรับเข้าทำงาน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที

เราอาจจะเคยสมัครงาน และทางนายจ้างก็จะขอเอกสารการรับรองผลการตรวจสุขภาพของคุณ เพื่อสร้างความมั่นใจกับนายจ้างว่า คนที่จะทำงานด้วยกันต่อไปในอนาคต ไม่ได้เป็นโรคติดต่อร้ายแรง หรือมีโรคประจำตัว อันเป็นอุปสรรคต่อการทำงานด้วยกัน ดังนั้นหากคุณรับหน้าที่เป็นคนรับคนเข้าทำงาน ย่อมจะได้รับโจทย์นี้จากนายจ้างของคุณให้คัดสรรคนเข้าทำงานโดยการประเมินสุขภาพในเบื้องต้น วันนี้เรามีเทคนิควิธีในการทำการประเมินสภาวะสุขภาพเบื้องต้น ของผู้ที่จะเข้าทำงานกับเราดังนี้

การประเมินทางกายภาพ

หากเราได้รับมอบหมายเป็นผู้ประเมินในเบื้องต้น เราอาจจะออกแบบสอบถามมาตรฐาน เพื่อตรวจสอบอาการของผู้ที่สมัครงาน ไม่ว่าจะเป็นอาการปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อ กระดูก หู คอจมูก หน้าอก ปอด หัวใจ ระบบทางเดินอาหาร ผิวหนัง และระบบทางประสาทจิตวิทยา ว่ามีอาการเป็นอย่างไร ตรวจสอบการประเมินทางกายภาพเบื้องต้นง่ายๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การประเมินการใช้ยาในปัจจุบัน

ให้ตอบแบบแสดงรายการยาปัจจุบันของเขา ว่ามียาประเภทใดบ้าง เกี่ยวเนื่องกับโรคอะไร มียาประจำตัวหรือไม่ อย่างไร นอกจากนี้ให้ลองตอบคะแนนความเจ็บปวดทั่วไปของเขาว่า อยู่ในระดับใด เพื่อประเมินอาการประกอบการใช้ยาปัจจุบัน ว่าสามารถควบคุมได้ จนไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานหรือไม่

ทำการตรวจร่างกาย

หากเราไม่ได้นำแพทย์มาตรวจตอนคัดสรร เราอาจจะขอผลการตรวจสุขภาพ ทั้งผลการทดสอบคอเลสเตอรอล ปริมาณน้ำตาลในเลือด ระดับเซลล์เม็ดเลือด ความสูง น้ำหนัก การเต้นของชีพจร และผลการทำทดสอบการได้ยิน ผลเอ๊กซ์เรย์ปอด ว่ามีผลการตรวจที่ละเอียดเป็นอย่างไร ปกติหรือไม่

[caption id="" align="aligncenter" width="940"] ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน[/caption]

ทดสอบการเคลื่อนไหว

ทำการทดสอบความสามารถความเคลื่อนไหว เช่น ทดสอบการเดินขึ้น เดินลง ความสามารถในการเดินบนพื้นดินทั้งที่สม่ำเสมอ และไม่สม่ำเสมอ ว่าเป็นอย่างไร โดยเราอาจจะตั้งเกณฑ์ที่ได้ทำการปรึกษาจากแพทย์แล้ว ว่าอยู่ในระดับของความปกติในการเคลื่อนไหวหรือไม่ นอกจากนี้เรายังสามารถทดสอบการใช้สายตาในการปฏิบัติงาน ใช้เทคโนโลยีต่างๆ  ให้อยู่สภาวะปกติ

ทดสอบความสมดุลของร่างกาย

เราสามารถทำการทดสอบความสมดุลได้หลากหลายวิธี อาจทดสอบโดยการให้ยืนอยู่บนกะลา 2 อัน เป็นเวลา 30 วินาที ใช้เท้า หรือส้นเท้า ทดสอบความสมดุลของร่างกายว่า สามารถยืนอยู่ได้ตามที่เราทดสอบความสมดุล หรือไม่

คุณสามารถเรียนรู้ 5 วิธีการ ในการประเมินสุขภาพทางร่างกายแบบเบื้องต้น เพื่อนำไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นการคัดสรรคนเข้าทำงาน และประเมินภาวะสุขภาพของตัวคุณเอง ทั้งนี้หากเรานำมาตรวจประเมินกับตัวเอง ย่อมเป็นข้อมูลที่ดีในการดูแลรักษาสุขภาพตัวเอง รู้ว่าสถานะปัจจุบันจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร บางคนตรวจไปแล้วพบว่าระดับคอเลสเตอรอลสูงมาก ทั้งที่ดูทั่วไปเป็นคนมีรูปร่างผอม เมื่อตรวจจริง กลับพบผลที่แตกต่างออกไป การประเมินสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ เรียนรู้ไว้ ได้ใช้อย่างแน่นอน

สนับสนุนบทความเกี่ยวกับการประเมินสุขภาพของคนงานก่อนเข้าทำงานโดย ค้นหางานได้ที่ thaijob.com รวมตำแหน่งงานใหม่ ทั่วทั้งประเทศไทย อัพเดททุกวัน


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Assessment | Model | Workplace Health Promotion. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/workplacehealthpromotion/model/assessment/index.html)
How to Measure the Intervention Process? An Assessment of Qualitative and Quantitative Approaches to Data Collection in the Process Evaluation of Organizational Interventions. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5031711/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)