กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

คุณจะสามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากคลอดไปแล้วนานเท่าไหร่?

ไม่ว่าคุณจะคลอดเองหรือผ่าคลอด ร่างกายของคุณก็สามารถกลับมาพร้อมต่อการตั้งครรภ์อีกครั้งได้ในเวลาไม่นานหลังคลอด
เผยแพร่ครั้งแรก 9 ก.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
คุณจะสามารถตั้งครรภ์ได้หลังจากคลอดไปแล้วนานเท่าไหร่?

คุณกำลังสงสัยหรือไม่ว่าคุณจะสามารถตั้งครรภ์ต่อไปหลังจากคลอดไปแล้วนานเท่าไร คำตอบนั้นอาจจะเร็วกว่าที่คุณคิด มีแม่หลายคนที่เชื่อว่าพวกเขายังไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ทันทีหลังจากคลอด ไม่ว่าคุณจะคลอดเองหรือผ่าคลอด ร่างกายของคุณก็สามารถกลับมาพร้อมต่อการตั้งครรภ์อีกครั้งได้ในเวลาไม่นานหลังคลอด

ตั้งครรภ์หลังคลอดได้นานเท่าไร?

คุณอาจจะไม่ได้สังเกตว่าคุณมีประจำเดือนหรือไม่เนื่องจากคุณอาจมีการตกไข่ก่อนที่จะเริ่มมีประจำเดือนหลังคลอดครั้งแรก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

และถึงแม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์ก่อน 6 สัปดาห์หลังคลอดนั้นจะไม่แนะนำก็ตาม แต่ก็มีคนทำ หากคุณไม่ได้คุมกำเนิด คุณก็อาจจะตั้งครรภ์ได้ ควรพิจารณาการมีเพศสัมพันธ์วิธีอื่นทั้งในเหตุผลเรื่องของการฟื้นตัวของร่างกายหลังคลอดและเรื่องของการคุมกำเนิดด้วย ขณะที่คุณอยู่ในโรงพยาบาล คุณจะต้องถูกสอบถามว่าวิธีการคุมกำเนิดที่คุณจะใช้คืออะไร ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ได้เริ่มใช้วิธีการคุมกำเนิดเหล่านั้นโดยเฉพาะหากพวกเขาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นอาจจะทำให้การตกไข่เกิดขึ้นช้าลงในผู้หญิงบางคน แต่วิธีนี้ก็ไม่ใช่วิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพยกเว้นว่าคุณจะใช้วิธี Lactational Amenorrhea Method (LAM) ซึ่งเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ต้องใช้เวลาและความเครียดค่อนข้างสูง เพราะนั่นหมายความว่าคุณจะไม่สามารถใช้เครื่องปั๊มนมได้และลูกของคุณจะต้องมีการตื่นนอนระหว่างคืน

วิธีนี้เป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จได้ยากในผู้หญิงทั่วไป

ทำไมการตั้งครรภ์เร็วเกินไปจึงเป็นเรื่องเสี่ยง

หากคุณคิดว่าบทสนทนานี้เกี่ยวกับการที่คนอื่นพยายามจะควบคุมร่างกายของคุณแล้วละก็ มันเป็นความคิดที่ผิด มีหลักฐานที่พบว่าผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ใกล้กันเกินไปนั้นอาจจะมีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 เพิ่มขึ้น

เนื่องจากร่างกายยังไม่ฟื้นตัวจากการคลอดอย่างเต็มที่ และแม้ว่าคุณจะรู้สึกว่าร่างกายของคุณฟื้นตัวแล้วอย่างเต็มที่แต่ก็ยังมีฮอร์โมนและสารอาหารบางส่วนที่ยังต้องการการปรับตัว

หากคุณเกิดตั้งครรภ์ภายใน 6 เดือนหลังจากคลอดลูก คุณจะมีความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ครั้งนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งประกอบด้วย

  • การคลอดก่อนกำหนด
  • น้ำเดินก่อนกำหนด
  • ทารกตัวเล็กกว่าอายุครรภ์
  • เพิ่มโอกาสในการเกิดความผิดปกติแต่กำเนิด

ถึงแม้ว่าผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 นี้จะดีขึ้นหากคุณรอระหว่าง 6-18 เดือนหลังจากการคลอดลูก แต่การตั้งครรภ์ที่ดีที่สุดนั้นจะเกิดเมื่อแม่เว้นระยะอย่างน้อย 18 เดือนหลังจากคลอดลูกครั้งสุดท้าย ร่างกายของคุณแม่จะมีเวลาเต็มที่ในการฟื้นตัวเองและลดความเสี่ยงจากการตั้งครรภ์เร็วเกินไป นอกจากนั้นยังให้เวลาคุณแม่ได้วางแผนสำหรับการตั้งครรภ์ครั้งถัดไป ซึ่งจะสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนลงไปได้อีก ที่น่าสนใจก็คือหากเว้นระยะห่างนานเกิน 5 ปีก็อาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเช่นกัน

หากคุณคิดว่าคุณกำลังตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ แม้ว่าคุณอาจจะไม่อยากยอมรับว่ากำลังกังวลที่ตัวเองตั้งครรภ์ก็ตามแต่การตั้งครรภ์ครั้งนี้และทารกก็ต้องการการฝากครรภ์ที่เหมาะสมเพื่อติดตามการตั้งครรภ์และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นให้ได้มากที่สุด


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
How Soon Can You Get Pregnant After Giving Birth?. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/can-i-get-pregnant-shortly-after-giving-birth-2758458)
How soon can you get pregnant after having a baby?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/323286)
How Soon Can You Get Pregnant: After Having a Baby. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/how-soon-can-you-get-pregnant-after-baby)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
ทำไมคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด
ทำไมคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด

อ่านปัจจัยที่ส่งผลให้สตรีมีครรภ์คลอดก่อนกำหนด และสัญญาณเตือนใกล้คลอดที่สังเกตได้ด้วยตัวเอง เพื่อระวังตัวและดูแลสุขภาพให้ดียิ่งขึ้น

อ่านเพิ่ม