“สุรา” หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์มายาวนานกว่า 4,000 ปี ซึ่งหมายถึงมนุษย์รู้จักการร่ำสุราตั้งแต่สมัยอดีตนั่นเอง แต่ในปัจจุบันทางการแพทย์ศึกษาแล้วพบว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคตับแข็งได้ แต่เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะเคยสงสัยกันว่า แล้วต้องดื่มเท่าไรถึงจะเป็นโรคตับแข็ง
ปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม
ก่อนอื่นเราควรมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีหลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ละชนิดจะมีปริมาณแอลกอฮอล์ที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%
ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่
- เบียร์ 100 มิลลิลิตร ให้ปริมาณแอลกอฮอล์ 4 กรัม / เบียร์ 1 ขวด มีปริมาณแอลกอฮอล์ 13 กรัม
- ไวน์ 100 มิลลิลิตร ให้ปริมาณแอลกอฮอล์ 12 กรัม / ไวน์ 1 แก้วปกติ มีปริมาณแอลกอฮอล์ 12 กรัม
- วิสกี้ 100 มิลลิลิตร ให้ปริมาณแอลกอฮอล์ 40 กรัม / วิสกี้ 2 ฝา มีปริมาณแอลกอฮอล์ 15 กรัม
ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์มีผลต่อตับอย่างไร
เมื่อเราทราบเกี่ยวกับปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่มแล้ว โดยเฉลี่ยปกติจะถือว่าร่างกายของเราได้รับปริมาณแอลกอฮอล์ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใดๆ ก็ตาม ซึ่งทางการแพทย์จะวัดปริมาณแอลกอฮอล์ 12 – 15 กรัม เท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์ 1 หน่วย
จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำที่มีปริมาณแอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 5 หน่วย เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี จะมีผลเสียต่อตับอย่างชัดเจน และมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคตับแข็งประมาณ 15 – 20%
ผลกระทบของแอลกอฮอล์ที่มีต่อตับ
ระยะที่ 1 ไขมันสะสมในตับ
หรือ Alcoholic fatty liver เป็นการเปลี่ยนแปลงของตับในระยะเริ่มต้นที่ยังไม่มีอาการใดๆ ออกมาอย่างชัดเจน แต่เมื่อตรวจทางพยาธิวิทยาจะพบว่ามีการสะสมไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์เพิ่มขึ้นในเซลล์ตับ ถ้าตรวจเลือดก็อาจจะพบความผิดปกติบ้างเล็กน้อย
ในระยะนี้ถ้าผู้ป่วยหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างถาวร ก็จะมีโอกาสกลับมาเป็นปกติโดยไม่มีรอยโรคของโรคตับแข็งทิ้งไว้แต่อย่างใด แต่หากยังดื่มต่อไปเรื่อยๆ จะมีการลุกลามไปยังระยะที่ 2
ระยะที่ 2 ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์
หรือ Alcoholic Hepatitis ระยะที่ผู้ป่วยจะมีอาการของโรคอย่างชัดเจน ตั้งแต่มีอาการไม่มากอย่างเช่นรู้สึกจุกแน่นที่ชายโครงทางด้านขวา จนกระทั่งมีอาการรุนแรงอย่างเช่นมีไข้สูง ภาวะดีซ่าน มีอาการทางสมองได้แก่ รู้สึกสับสนหรือหมดสติ
ถ้าไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายจะพบว่าตับมีขนาดใหญ่ขึ้น กดแล้วเจ็บ เนื้อตับมีลักษณะแข็งกว่าเดิม เมื่อตรวจเลือดจะพบความผิดปกติอย่างชัดเจน และหากมีอาการของภาวะดีซ่านมาก หรือการทำงานของตับเสื่อมสภาพจนอาจทำให้เกิดภาวะตับวาย และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง
ตรวจตับวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 78 บาท ลดสูงสุด 65%
ตรวจตับ วันนี้ เปรียบเทียบราคา / ประหยัดกว่า / ผ่อน 0% ได้ / แอดมินพร้อมให้บริการ กดที่นี่
ในระยะนี้หากผู้ป่วยหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างถาวร มักจะมีอาการดีขึ้นและมีโอกาสกลับมาหายเป็นปกติได้ แต่หากยังดื่มต่อไปเรื่อยๆ จะมีการลุกลามไปยังระยะที่ 3 ของโรคตับแข็ง
ระยะที่ 3 ตับแข็งจากแอลกอฮอล์
หรือ Alcoholic Cirrhosis เป็นระยะสุดท้ายของโรคตับแข็ง ซึ่งพบว่ามีพังผืดในเนื้อตับ ทำให้ตับมีลักษณะผิวขรุขระ เป็นก้อนแข็ง และมีขนาดเล็กลง ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือดสดๆ อันเนื่องมาจากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารแตกนั่นเอง และยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งตับเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
ถ้าไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายตะพบว่า ผู้ป่วยมักจะมีกล้ามเนื้อลีบ และประสบปัญหาภาวะทุกขโภชนาการ เส้นเลือดบริเวณผิวหนังส่วนอกและหลังมีการขยาย ลูกอัณฑะมีอาการฝ่อ มีริดสีดวงทวาร และสมรรถภาพทางเพศลดลง และถึงแม้ว่าผู้ป่วยในระยะนี้จะหยุดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างถาวร แต่ก็ไม่สามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้อีก เพราะสภาพตับได้รับความเสียหายอย่างหนัก การหยุดดื่มเป็นแค่เพียงช่วยให้ตับไม่ถูกทำลายให้เสียหายมากกว่าเดิมเท่านั้น
แนวทางการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อเข้าสังคมนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ในขณะเดียวกันก็ควรดื่มแค่พอประมาณด้วยเช่นกัน โดยในทางการแพทย์กล่าวไว้ว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ชายวันละไม่เกิน 3 หน่วย และผู้หญิงไม่เกินวันละ 2 หน่วย สำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงดีและมีภาวะตับที่ปกติ น่าจะไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตับ
แต่สำหรับตัวเลขนี้จะใช้กับชาวยุโรปส่วนใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าคนไทย ดังนั้นผู้ชายไทยจึงไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกินกว่าวันละ 2 หน่วย และผู้หญิงเกินกว่าวันละ 1 หน่วย โดยควรดื่มพร้อมกับอาหารจะมีผลเสียน้อยกว่าการดื่มขณะท้องว่าง
นอกจากนี้การดื่มครั้งละน้อยๆ อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดโทษต่อตับได้น้อยกว่าการดื่มครั้งละมากๆ แม้ว่าจะมีปริมาณแอลกอฮอล์เท่ากันก็ตาม
ผู้ป่วยโรคใดไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี ส่วนใหญ่จะมีพยาธิสภาพของตับเป็นปกติ จึงทำให้สามารถดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้บ้างเล็กน้อย แต่ผู้ป่วยโรคตับอักเสบชนิดซีที่เป็นแบบเรื้อรังควรงดดื่มอย่างถาวร เพราะมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีส่วนช่วยทำให้โรคไวรัสตับอักเสบชนิดซีนั้นลุกลามอย่างรวดเร็ว เสี่ยงต่อการเป็นโรคตับแข็งและโรคมะเร็งตับมากขึ้น
เราจึงกล่าวได้ว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคตับแข็ง โรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับตับ และสุขภาพร่างกายอย่างแน่นอน โดยเฉพาะผู้ป่วยบางโรคที่ควรหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างถาวร เพื่อช่วยให้เรามีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืนยาวมากขึ้น
คำนวณปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดของคุณ ด้วยเครื่องอัตโนมัติ ใช้งานง่ายๆ คลิก>>