เด็กทารกต้องนอนเท่าไรถึงจะพอ?

รู้พฤติกรรมการนอนของทารกในแต่ละช่วงวัย
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เด็กทารกต้องนอนเท่าไรถึงจะพอ?

ช่วงแรกๆ หลักแรกเกิด เด็กทารกดูเหมือนว่าจะเอาแต่กินแล้วก็นอนเท่านั้น พอนอนไปสักพักก็ตื่นมาแล้วก็เอาแต่กินนม พออิ่มก็จะหลับต่ออีก แต่พอเวลาผ่านไปเรื่อยๆ ระยะเวลาการนอนของลูกจะลดลงเรื่อยๆ เองตามการเติบโตของเด็ก วันนี้เราจะมาแนะนำจำนวนชั่วโมงเฉลี่ยการนอนของเด็กทารกให้ทราบค่ะ เพื่อที่คุณพ่อคุณแม่จะได้เข้าใจและทราบว่า ลูกน้อยของคุณต้องนอนประมาณเท่าไร แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าจำนวนชั่วโมงที่ระบุนี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยนะค่ะ ลูกของคุณอาจจะนอนมากกว่า หรือน้อยกว่านี้ก็ได้ค่ะ

เมื่อลูกอายุครบ 7 วัน

ลูกของคุณจะนอนเฉลี่ยรวมแล้วประมาณ 16 ชั่วโมง โดยจะแบ่งเป็นนอนกลางวันประมาณ 8 ชั่วโมงและนอนกลางคืน 8 ชั่วโมง ช่วงนี้ลูกอาจจะนอนและตื่นทุกๆ 4 ชั่วโมง เพราะหิวนมค่ะ พ่อแม่อาจจะต้องตื่นบ่อยหน่อยนะค่ะ คงต้องวางแผนให้ดีในการสลับกันพักผ่อนค่ะ จะช่วยให้ดูแลลูกได้ดีขึ้นค่ะ

เมื่อลูกอายุครบ 1 เดือน

ลูกจะนอนน้อยลงอาจจะเหลือ 15 ชั่วโมง โดยจะลดการนอนในช่วงกลางวันเหลือเพียง 6-7 ชั่วโมงและเพิ่มการนอนในช่วงกลางคืนแทนค่ะ

เมื่อลูกครบ 3 เดือน

จำนวนชั่วโมงรวมจะประมาณ 15 ชั่วโมง แต่จะนอนกลางคืนนานขึ้น โดยอาจจะนอนนานถึง 9-10 ชั่วโมง และจะนอนกลางวันน้อยลงเหลือเพียง 5-6 ชั่วโมงค่ะ ช่วงกลางวันจะเป็นช่วงที่เด็กวัยนี้เริ่มสนใจโลกรอบตัวของเขามากขึ้นค่ะ คุณจะเห็นแกยิ้ม หัวเราะและเริ่มพูดอ้อแอ้

เมื่อลูกอายุประมาณ 6-9 เดือน

ลูกจะนอนทั้งวันเหลือเพียง 14 ชั่วโมง จะนอนกลางคืนนานขึ้นคือเฉลี่ยนประมาณ 11 ชั่วโมง แต่จะนอนกลางวันน้อยลงเหลือเพียง 2-4 ชั่วโมง ในตอนกลางวันเด็กจะมีการพัฒนาการมาก พ่อแม่จึงต้องดูแลเอาใจใส่ให้มากค่ะ

เมื่อลูกอายุประมาณ 1 ปีถึง 1 ขวบครึ่ง

ลูกจะนอนทั้งวันประมาณ 13 ชั่วโมง โดยจะนอนกลางวันน้อยลงเหลือเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น กลางวันของเด็กวัยนี้จึงเป็นช่วงที่เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย พ่อแม่จึงต้องบริหารจัดการเวลาให้ดีในช่วงนี้ค่ะ เพราะลูกจะนอนกลางวันน้อยลง คุณจึงต้องอยู่ดูแลเขามากขึ้นในตอนกลางวันค่ะ


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
อ.ดร.ปุณฑริกา สุวรรณประเทศ, การนอนในวัยต่างๆ (ตอนที่ 1) (http://www.si.mahidol.ac.th/si...)
M Suzanne Stevens, Normal Sleep, Sleep Physiology, and Sleep Deprivation (https://emedicine.medscape.com...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำไมเด็กทารกถึงดูดนิ้วตัวเอง
ทำไมเด็กทารกถึงดูดนิ้วตัวเอง

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับการดูดนิ้วของทารก รู้และเข้าใจทารกแรกคลอด

อ่านเพิ่ม